วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของใบชา

           ชา มีกำเนิดมาจากแผ่นดินจีน นานกว่า 4,000 ปีแล้ว คนจีนนิยมดื่มชาเพื่อบำรุงกำลัง โดยระยะแรกใช้การเก็บชามาจากในป่า เมื่อชาได้รับความนิยมมากขึ้น ชาวบ้านจึงหันมาปลูกชา เพื่อให้เพียงพอกับ อัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้น  
           วิวัฒนาการของชา มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จากเริ่มต้นที่ใช้ใบสดต้มกับน้ำ ก็เริ่มมีการนำชามาอบแห้ง เติมกลิ่น ผสมเครื่องเทศ ให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น จนระยะหลัง มีการค้นพบการหมักชา ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการทางเคมีธรรมชาติ ที่จะทำให้ได้กลิ่นพิเศษของชาออกมา ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ

          ในใบ ชามีสารที่สำคัญ คือ Eplgallocatechin gallate ( EGCG ) ทำหน้าที่เป็นสารแอนตี้ออกซิเดนท์ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการก่อมะเร็งได้สูงกว่าวิตามินซีถึง 2 เท่า และสามารถยับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งรุนแรง รวมทั้งสามารถยับยั้งสาร MNNG ที่ทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร และลำไส้
           นอกจากนี้สาร EGCG ในใบชา สามารถลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ลดโคเลสเตอรอล ช่วยทำให้ไขมันแตกตัวและละลาย ยิ่งไปกว่านั้น สาร Theobromin ในใบชา จะช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ สามารถลดปริมาณไขมันที่ไปเกาะตามผนังของหลอดโลหิต ทำให้เส้นโลหิตฝอยมีความยืดหยุ่น ลดความเหนียว และชะลอการจับตัวของโลหิต ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น

            ถึงแม้ว่าใบชาจะมีคาเฟอีน แต่ก็มีในปริมาณที่เล็กน้อย ซึ่งพอเหมาะกับการช่วยกระตุ้นร่างกายให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ป้องกันโรคหอบหืด ดับกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ และช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นดีขึ้น ช่วยชะลอความชรา

 
 

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความต้องการธาตุเหล็กในสตรีที่มีประจำเดือน

            ท่านสุภาพสตรีหลายๆท่าน อาจเกิดความสงสัยถึงผลของการออกกำลังกายในขณะที่มีประจำเดือน หรือผลจากการสูญเสียเลือดในขณะมีประจำเดือน ก่อให้เกิดผลในทางลบต่อการออกกำลังกายหรือไม่ รวมไปถึงสตรีหลายๆคน ที่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในขณะที่มีประจำเดือน โดยเข้าใจว่า การออกกำลังกายอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีในขณะที่ร่างกายมีประจำเดือน

             สิ่งหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของเลือดก็คือ ธาตุเหล็ก โดยที่ธาตุเหล็กนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮีโมโกลบิ้นในเลือด การสูญเสียเลือดจึงเท่ากับเป็นการเสียฮีโมโกลบิ้น ออกจากร่างกาย ทุกๆเดือนหลังจากสตรีเริ่มมีประจำเดือน สตรีต้องเสียเลือด ทำให้เกิดความกังวล ว่าสตรีควรต้องมีการทดแทนธาตุเหล็กหรือไม่ ซึ่งจากการวิจัย ของ Briggs และ Collaway พบว่า ในเดือนหนึ่งๆ สตรีจะเสียธาตุเหล็ก เพราะการมีประจำเดือนระหว่าง 15-30 มิลลิกรัม หรือ 0.5-1.0 มิลลิกรัม ต่อวัน ดังนั้นเมื่อเทียบกับผู้ชายแล้ว สตรีจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับธาตุเหล็กทดแทน เนื่องจากการสูญเสียธาตุเหล็กจากประจำเดือนดังกล่าว ซึ่งสตรีมีความจำเป็นในการเสริมธาตุเหล็กมากกว่าเพศชาย แต่หากพิจารณาปริมาณของการฝึกออกกำลังกายร่วมด้วย นักกีฬาทั้งหญิง และชายอาจมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับธาตุเหล็กมากกว่า คนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา เนื่องจากการออกกำลังกาย จะทำให้ม้ามทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ อันอาจก่อให้เกิดภาวะการมีเม็ดโลหิตแดงน้อยเกินไป จากการฝึกหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก

              โดยเฉพาะในระยะแรกของการออกกำลังกายนอกจากจะเป็นการเสียธาตุเหล็กแล้ว ยังทำให้ร่างกายเสียโปรตีนด้วย ด้วยเหตุนี้ นักกีฬาทั้งหญิง และชาย ที่ต้องฝึกหนักควรแน่ใจว่าร่างกายได้รับธาตุเหล็กหรือโปรตีนอย่างเพียงพอ ซึ่งจากการวิจัยพบว่า นักกีฬาควรได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ประมาณ 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ใน 1 วัน และควรได้รับธาตุเหล็ก ประมาณวันละ 28 มิลลิกรัม( ประทุม ม่วงมี , 2527 )


วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เครื่องดื่มบำรุงกำลัง

          เครื่องดื่มบำรุงกำลังในบ้านเรามีด้วยกันหลายชนิด เครื่องดื่มดังกล่าว ส่วนใหญ่บรรจุใส่ขวดขนาด 100 ม.ล. ประกอบไปด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น ไวตามินบีรวม ( Pentothenic acid , Inositol , Niacin , Pyridoxin , Cyanocobalamin ) คาเฟอีน ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในชา กาแฟ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใน ชา หรือกาแฟ 1 ถ้วย จะมีคาเฟอีน ประมาณ 100 มิลลิกรัม แต่ในเครื่องดื่มบำรุงกำลังจะมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 50 มิลลิกรัม ฤทธิ์ของคาเฟอีน เป็นสารที่กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจ ระบบการหายใจ ตลอดจนการทำงานของไต
           กรดซิตริก ก็เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่สูงในเครื่องดื่มดังกล่าว ( กรดชนิดนี้จะมีอยู่ในน้ำผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะมะนาว และส้มโอ ) ทำให้รสดีขึ้น นอกจากนี้ยังมี Bile acid ( Tourine และ glucuronolactone ) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการย่อยและดูดซึมอาหารประเภทไขมันในลำไส้ และสารที่มีมากที่สุดคือ น้ำผึ้ง เป็นที่น่าสังเกตว่าเครื่องดื่มเหล่านี้ มีส่วนประกอบของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง แต่อาจไม่จำเป็นนัก ในกรณีที่ออกกำลังกายไม่ต่อเนื่องยาวนานมากนัก ( ไม่เกิน 2 – 3 ชั่วโมง ) เนื่องจากอาหารและน้ำที่เรารับประทานเข้าไปสามารถชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่อาจมีความจำเป็น ในกรณีที่ออกกำลังกายเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 3 ชั่วโมง เนื่องจากร่างกายจะสูญเสียพลังงานค่อนข้างมาก ประกอบกับสูญเสียแร่ธาตุที่จำเป็นต่อปฏิกริยาทางเคมีในร่างกาย ( metabolism ) ซึ่งอาจทำให้อัตราการฟื้นตัว ( recovery ) ของร่างกายช้าลงได้ การรับประทานเครื่องดื่มดังกล่าว จึงอาจเพิ่มอัตราการฟื้นตัวของร่างกายให้เร็วขึ้น แต่ยังไม่มีนักวิจัยรายใดที่จะสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว

 
 

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การทรงตัว

              การทรงตัวนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบไปด้วยการรักษาสมดุล (Balance) และการควบคุมท่าทาง (Postural control) การฝึกการทรงตัวทำได้โดยการฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพยุงตัวให้มีความแข็งแรง ทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

              การฝึกยืนทรงตัวบนไม้กระดานที่พลิกไปมาได้จะช่วยให้ร่างกายมีการปรับตัวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ป้องกันและตอบสนองได้ดีเมื่อเกิดการสูญเสียการทรงตัว ซึ่งการฝึกดังกล่าวทำให้ร่างกายเกิดกลไกของการ Feedback และ Feed forward ตอบสนองต่อการล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า การฝึกบนกระดานฝึกการทรงตัวจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของระบบประสาทภายในข้อต่อ อันเป็นผลให้การทรงตัวของร่างกายดีขึ้น ทำให้เกิดการพลิกของข้อเท้าซ้ำลดลง และทำให้ความแข็งแรงและความมั่นคงของข้อเท้าเพิ่มมากขึ้นในการประเมินระดับความสามารถของการทรงตัวนั้น สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือช่วยในการวัด หรือใช้แบบสอบถามในการวัดการทรงตัว ซึ่งตัวแปรที่ใช้วัดระดับ การทรงตัวมีหลากหลายตัวแปร ทั้งเวลาที่สามารถทรงตัวได้ ความเร็วในการแกว่งตัวขณะวัด ฯลฯ

            สำหรับวิธีฝึกทรงตัวบนกระดานฝึกการทรงตัวนั้นสามารถทำได้โดยการฝึกทรงตัว 30 วินาทีต่อเนื่องกัน ใช้เวลารวมในการฝึกประมาณ 15 นาที ฝึก 30 วินาที พัก 1 นาทีโดยไม่ใช้แขนหรือลำตัวส่วนบนช่วยในการทรงตัว ค่อยๆเพิ่มระดับความยาก โดยการใช้ขาข้างเดียว และหลับตาในขณะฝึก (งานกายภาพบำบัดฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย , 2543) การฝึกการทรงตัว มิได้เหมาะสำหรับในผู้ที่เกิดการบาดเจ็บเท่านั้น แต่ในบุคคลทั่วไปการฝึกการทรงตัวจะช่วยให้โอกาสเกิดการบาดเจ็บลดน้อยลง ทั้งในขณะที่ดำรงชีวิตประจำวัน และในขณะออกกำลังกายได้อย่างดี


วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อันตรายจากการสูบบุหรี่

           บุหรี่หลายๆ ท่านทราบดีว่าเกิดโทษต่อร่างกายปัญหาที่ว่าทำไมคนเราจึงเริ่มสูบ และติดบุหรี่ หรือติดแล้วทำไมจึงเลิกไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาทางจิตวิทยา และสังคมวิทยา ที่ส่งผลต่อสรีรวิทยาของมนุษย์ นักกีฬา และคนทั่วไปเป็นจำนวนมากที่นิยมสูบบุหรี่ เพื่อระงับความตื่นเต้น และสนองความอยากของจิตใจ โดยคิดไปว่าบุหรี่ช่วยทำให้จิตใจสบายขึ้น


           บุหรี่มีนิโคติน ( nicotin ) ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้หลอดโลหิตบีบตัว เป็นผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำมันดิน ( tar ) ที่จะเคลือบผนังเล็กๆของถุงลมปอด ( alveoli ) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ผนังถุงลมปอด และประการสุดท้ายยังมีคาร์บอนโมน๊อกไซด์เป็นส่วนผสม ซึ่งแก๊สนี้สามารถจับกับฮีโมลโกบิ้นได้ดีกว่าออกซิเจนถึงประมาณ 200 เท่า จึงเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งออกซิเจนโดยเลือด ทำให้การเคลื่อนไหวขาดความราบรื่น
            Rode และ Shephard พบว่า ในการออกกำลังกายที่รุนแรง ปริมาณออกซิเจนที่ใช้สำหรับงานในการหายใจในผู้สูบบุหรี่จะมากกว่าในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า ด้วยเหตุนี้ทำให้เหลือออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อที่ต้องใช้ออกกำลังกายลดลง ซึ่งเท่ากับลดประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเมื่อยล้าเร็วขึ้น ซึ่งจากการวิจัยของ Krumholz พบว่า หากผู้ที่สูบบุหรี่งดสูบเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และการเป็นหนี้ออกซิเจนลดลงกว่าการทดสอบครั้งก่อน

             ประโยชน์ของการสูบบุหรี่นั้นหามีไม่ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ใช้ความอดทนสูงด้วยแล้ว บุหรี่จะขัดขวางการสร้างพลังงาน และที่สำคัญวงการแพทย์ยังระบุชัดว่าการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ในทางตรงกับการเกิดโรคหลายชนิด เช่น มะเร็งของหลอดลม และปอด ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ฯลฯ ดังนั้นในวงการกีฬา และการออกกำลังกาย จึงไม่ควรมีที่ว่างสำหรับ บุหรี่ ( ประทุม ม่วงมี,2527 )

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีการหาซื้อลู่วิ่งมาใช้ที่บ้าน

มาแนะนำวิธีการหาซื้อลู่วิ่งมาใช้ที่บ้านกันครับ ทราบกันดีว่าเวลาเราไปเดินตามห้างใหญ่ๆเพื่อเลือกซื้อลู่วิ่ง หรืออุปกรณ์กีฬาอื่นๆนั้น มันมีให้เลือกหลายราคาซะเหลือเกิน แถมคนขายก็เยอะ คอยเชียร์เครื่องนั้นเครื่องนี้จนปวดหัวไปหมด บางทีก็เผลือซื้อมาเพราะหลวมตัวซื้อก็เคยเป็นสำหรับผู้อ่านบางท่าน เรามาเข้าเรื่องวิธีการเลือกซื้อกันเลยดีกว่าครับ เดี๋ยวมันจะไปกันใหญ่ ตามหัวข้อด้านล่างนี้เลยครับ !! มีอะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้อลู่วิ่งสักเครื่องบ้างครับ ลองมาฟังทางนี้กันครับ ในมุมมองของช่างอย่างผม fitnessservice โครงสร้างขนาดและน้ำหนัก – ควรเลือกดูลู่วิ่งที่มีโครงสร้างแข็งแรง เหมาะกับคนที่จะใช้งานครับ เช่นถ้าท่านตัวใหญ่ ก็ควรจะใช้ลู่วิ่งมีขนาดใหญ่ ถ้าท่านตัวเล็กก็เลือกลู่วิ่งที่เล็กลงมาหน่อย (ความกว้างของสายพานนะครับ) เพราะว่าราคามันต่างกัน




กำลังของเครื่องมอเตอร์ - ให้เลือกซื้อลู่วิ่งที่มีกำลังแรงม้าเหมาะสมกับขนาดร่างกายของท่านเช่นเดียวกัน ตามแรงม้าของมอเตอร์ครับ มอเตอร์จะมี 2 แบบคือ AC กับ DC ถ้าท่านใช้งานหนักให้เลือกมอเตอร์แบบ AC เท่านั้น ถ้าใช้ตามบ้านก็ DC ครับ เพราะมีราคาถูกกว่า และปลอดภัยกว่า ส่วนแรงม้าที่แนะนำกลางๆก็ระหว่าง 1.5 - 2.0 แรงม้าครับ พวกที่ใช้มอเตอร์ที่เบากว่านี้ ต้องอาศัยแรงขาช่วยลู่วิ่งครับกำลังขับเคลื่อนอาจจะไม่พอ



โปรแกรมในลู่วิ่ง - อันนี้ถ้าตามบ้านก็อาจจะใช้แบบที่ไม่ต้องมีโปรแกรมอะไรครับ แต่ถ้าเป็นในฟิตเนสก็อาจจะต้องมีโปรแกรมหลากหลายหน่อย มีทั้งแบบวิ่งที่ราบ ขึ้นเขา วิ่งแบบ interval วิ่งแบบเพื่อลดน้ำหนักและอีกสาระพัดรูปแบบ บางทีก็สามารถโปรแกรมได้ทั้งความชัน เวลา รวมทั้งบันทึกประวัติการออกกำลังกายของคุณได้ด้วย แต่อย่าลิมว่ายิ่งมี option มากเท่าไรก็แพงมากขึ้นเท่านั้นแล้วแต่ความชอบ และเงินในกระเป๋าครับ

ความราบรื่นไม่สะดุด - เมื่อเราปรับความเร็วของลู่วิ่ง ก็ควรจะทำได้ราบรื่นขณะวิ่ง ไม่สะดุดหรือลื่นไหล อันนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งสายพานด้วยครับ ความสามารถของช่างในการประกอบด้วย

บริการหลังการขาย – อันนี้สำคัญครับ เช่นหากเกิดปัญหาบริการดีแค่ไหน มาดูเครื่องให้ทันใจมั้ย การประกอบของช่าง การลงน้ำมัน (สำคัญมาก) หรือการดูแลเครื่องอื่นๆ ต้องหาบริษัทที่ไว้ใจได้ และมีชื่อเสียงด้านนี้ครับ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่บริษัทเท่าที่ผมซ่อมเครื่องมา ต้องโทรมาคุยครับ หรือส่งเมมาได้ จะแนะนำบริษัทดีๆให้ครับ ส่วนเครื่องมือสอง ถ้ามีคนขายผมจะเอามาลงให้ครับ


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความเร็วในการฝึกเวท

              ความเร็วในการฝึกนับเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถภาพแบบแอนแอ โรบิค เบลล์ (Bell, Peterson, Arthur – Quinsney, & Wenger, 1989) ได้ทำการศึกษาถึงผลของความเร็วในการฝึกความแข็งแรง ที่มีต่อค่า พลังแบบแอนแอโรบิค โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย จำนวนทั้งสิ้น 18 คน ฝึกความเร็วต่ำ กับความเร็วสูง ทำการฝึก 4 วัน / สัปดาห์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า การฝึกทั้งแบบความเร็วต่ำ และความเร็วสูง ไม่มีอิทธิพลต่อการเพิ่ม พลังแบบแอนแอโรบิค และพบว่าความแข็งแรงแบบไอโซไคเนติค (Isokinetic) มีความสัมพันธ์กันอย่างสูงกับค่าพลังแบบแอนแอโรบิค

             นอกจากนี้จากการศึกษาของ ปิยพงษ์ รองหานาม (2531) ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของการฝึกกล้ามเนื้อแบบ ไอโซโทนิค ด้วยความเร็วต่างอัตรา ที่มีต่อความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย จากวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่งก่อนการฝึกใกล้เคียงกัน กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกยกน้ำหนักที่ 70 % 1 RM ด้วยความเร็ว 8 ครั้งใน 10 วินาที กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกยกน้ำหนักที่ 70 % 1 RM ด้วยความเร็ว 8 ครั้งใน 15 วินาที ฝึก 3 วัน/สัปดาห์ ใช้เวลาในการฝึกทั้งสิ้น 10 สัปดาห์

            ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่งของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า ความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่งของกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             จะเห็นได้ว่าผลของการวิจัยยังค่อนข้างจะขัดแย้งกันอยู่ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่า การฝึกกล้ามเนื้อที่ความเร็วสูง หรือความเร็วต่ำ อย่างใดที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานแบบแอนแอโรบิคได้ดีกว่ากัน

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สารต่างๆที่มีผลต่อการฝึกเวท

สารต่างๆ  ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไป บางชนิดมีผลต่อ  พลัง  และสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  ดังเช่นงานวิจัยของ  ฮอฟแมนส์ (Hoffman, Stavsky  &  Falk, 1995)  ได้ทำการศึกษาถึงผลของการจำกัดน้ำ  ที่มีต่อค่า พลังแบบแอนแอโรบิค   และความสูงของการกระโดดในแนวดิ่งในนักกีฬาบาสเกตบอล  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบาสเกตบอลเพศชาย  จำนวน   10  คน  เล่น  2  ต่อ  2  แบบเต็มสนาม  แบ่งเป็นกลุ่มที่ให้ทานน้ำตลอดเกม  กับกลุ่มที่ไม่ให้ทานน้ำ  พบว่า  ค่า  พลังแบบแอนแอโรบิค   จะแตกต่างกันประมาณ  19  %  นั่นแสดงให้เห็นว่า หากร่างกายขาดน้ำประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานแบบ แอนแอโรบิค อาจลดลง           
             นอกจากนี้    บอลล์ (Ball, 1995)  ได้ทำการศึกษาถึงผลของเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรต  และอิเล็คโตรไลต์  ในขณะฝึกโดยความหนักสูง  ต่อความสามารถในการเพิ่มความเร็วก่อนเข้าเส้นชัย   โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักจักรยานเพศชาย  จำนวน  8  คน  ใช้การทดสอบของวินเกต  พบว่า เครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรต  และอิเล็คโตรไลต์  ทำให้  พลังสูงสุด  และ พลังเฉลี่ย (mean  power)  เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 แสดงให้เห็นว่า  ปริมาณการสูญเสียน้ำ  และการเพิ่มคาร์โบไฮเดรต  และอิเล็คโตรไลต์  ในเครื่องดื่ม มีผลกับการเปลี่ยนแปลงค่าของ พลัง  และสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  
            ยิ่งไปกว่านั้นจากการศึกษาของ สวีเนอร์ (Sweenor , 1998) ได้ทำการศึกษาถึงผลของคาเฟอีน  ต่อความสามารถในการวิ่งระยะสั้น โดยใช้การทดสอบของ    วินเกต ในการเก็บข้อมูล   พบว่า   ปริมาณคาเฟอีน  7   มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว   1  กิโลกรัม (เป็นแคปซูล)  มีผลทำให้พลังแบบแอนแอโรบิค  เพิ่มขึ้น   เล็กน้อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง  โดยที่มีผลทำให้พลังแบบแอนแอโรบิค ในเพศชายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเพศหญิง  และจากการศึกษาของ อินบาร์ (Inbar, Rostein, Jacobs, Kasier, Plin, &  Dotan, 1983) ได้ทำการศึกษาถึงผลของการใช้สารด่างต่อการออกกำลังกายในระยะสั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพลศึกษาจำนวน  13  คน เพศชาย สารด่างที่ให้คือโซเดียมไบคาร์บอเนต  ใช้การทดสอบตามวิธีของวินเกต พบว่า   โซเดียมไบคาร์บอเนต  มีผลทำให้พลังเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  รวมไปถึงอาจมีผลกับการเพิ่ม  สมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค 
            นั่นแสดงให้เห็นว่า  การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรต และอิเล็คโตรไลท์   สารที่มีคาเฟอีน  และโซเดียมไบคาร์บอเนตผสมอยู่ มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานแบบแอนแอโรบิค            
            นอกจากนี้    สเตร์ตั้น (Strayton, 1997)ได้ทำการวิจัยถึงผลของครีเอทีน ที่มีต่อค่าสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  และองค์ประกอบของร่างกาย  โดยกลุ่มทดลองเพศชาย จำนวน   18  คน  ให้ครีเอตาโบลีน (creatabolin)   7.5  กรัม/วัน  พบว่า  ครีเอทีน    มีผลในการเพิ่มน้ำหนักตัว  แต่ไม่มีผลในเรื่องของความแข็งแรง   และสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานคนที่เป็นเบาหวานสามารถเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าคนทั่วไปที่ไม่เป็นเบาหาน  และผู้ป่วยเบาหวานส่วนมากมักไม่รู้ตัวว่าตนมีโรคหัวใจแฝงอยู่ สถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทย  ส่วนใหญ่มีสาเหตุมากโรคเบาหวาน  ซึ่ง 50 % ของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  มีอาการป่วยเป็นเบาหวานร่วมด้วย  และมีแนวโน้มพบสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในอดีตพบเพียงหลอดเลือดผิดกติเท่านั้นศ.นพ. เกียรติชัย  ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลเวชธานี  ได้อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจกับโรคหัวใจให้เข้ากันมากขึ้นมา  สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดมีผลต่อประชาชนชาวไทยในช่วงครึ่งหลังของชีวิต  เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่กำลังสร้างสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ  ไม่เพียงแต่มีผลในระดับบุคคล  แต่ยังส่งผลกระทบต่อระดับครอบครัว  แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวไปจนถึงระดับชาติ  ในประเทศที่พัฒนาแล้ว  กลุ่มที่มีเศรษฐกิจและสังคมต่ำจะมีความชุกของปัจจัยเสี่ยงสูง  เป็นโรคหัวใจและเสียชีวิตด้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง  ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา
             โรคหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากอะไรก่อนอื่นต้องแบ่งว่าเป็นโรคหัวใจชนิดไหน  ส่วนใหญ่ที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ  คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง  พบว่ากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากเพศชายอายุ  40  ปีขึ้นไป  และในเพศหญิงคือ หลังหมดประจำเดือนไปแล้ว  คนที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคอ้วนลงพุง  คือมีรอบเอวใหญ่กว่ารอบสะโพก  ตลอดจนการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย  แต่สำหรับในโรคเบาหวานถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญในประเทศไทย  ส่วนวิธีป้องกันนั้นต้องแยกสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง  เพราะบางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  และสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ส่วนใหญ่  คือการปรับพฤติกรรมตัวเองโดยเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่เด็ก คือไม่ให้อ้วนมาก  รับประทานขนมหวานให้น้อยลง  เปลี่ยนมารับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือการได้รับการตรวจเลือดและร่างกายตามระยะเวลาที่กำหนด
               ความสัมพันธ์ของโรคหัวใจกับเบาหวานสำหรับคนที่เป็นเบาหวานนั้น  มักจะเป็นโรคหัวใจในภายหลัง  และสามารถเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน  เนื่องจากโรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมลง  แต่ต้องดูว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ  เช่น  ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง  ( คนที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับ  LDL Cholesterol สูงกว่าคนปกติ ) ความดันโลหิตสูง  การสูบบุหรี่  ความเครียด  อ้วน  คนที่มีบุคลิกย้ำคิดย้ำทำ  เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ยังพบสาเหตุใหม่ๆ  เพิ่มขึ้นอีก  เช่น  การติดเชื้อบางชนิดจากการที่มีฟันผุ  เหงือกอักเสบ  และพบว่าสาเหตุนี้นำไปสู่หลอดเลือดหัวใจเสื่อมมากขึ้น
               คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหนเพียงแค่ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติทั่วไปก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้  ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานยิ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงมาก  ในกรณีของคนที่เป็นเบาหวานเป็นที่ทราบกันดีว่าจะมีอาการทางด้านปลายประสาทอักเสบ  ทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลงเมื่อโรคหัวใจกำเริบ  คืออาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก  สาเหตุนี้ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีโรคแทรกซ้อนอยู่
               ผู้ป่วยเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจมากน้อยแค่ไหนสำหรับคนที่ป่วยเป็นเบาหวานแล้วเกิดโรคแทรกซ้อน  คือ  หัวใจนั้นอยู่ที่  50 % โดยเฉพาะคนป่วยเป็นเบาหวานมาระยะเวลานาน  ยิ่งต้องระวังเพราะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมาก  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมปัจจัยหลายๆอย่างด้วย  ผู้ที่เป็นเบาหวานหากสงสัยว่าตนเป็นโรคหัวใจแฝงอยู่ควรทำอย่างไร สิ่งแรกควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างกายในขั้นต้นแล้วจึงทำการตรวจกราฟหัวใจ  จากนั้นจะทำการประเมินว่ามีอาการอย่างไรบ้าง  เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยเบาหวานมักจะไม่แสดงอาการของโรคหัวใจ  ดังนั้นจึงแนะนำว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยง  คือทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน  หรือคนที่มีช่วงอายุเกิน 40 ปีในผู้ชาย และหลังหมดประเดือนในผู้หญิงก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน โดยตรวจด้วยวิธีเดินสายพานเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุของโรคหัวใจอย่างชัดเจน และขั้นตอนต่อไปคือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่  แต่หากผลการตรวจเดินสายพานบ่งบอกชัดเจนว่ามีเส้นเลือกหัวใจตีบ ก็สามารถข้ามขั้นตอนการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไปสู่การฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจโดยตรง  โดยการเจาะเข้าเส้นเลือดแดงที่ข้อมือหรือขา  เพื่อสอดสายสวนขึ้นไปสู่เส้นเลือดหัวใจแล้วจึงฉีดสี  วิธีนี้จะทำให้ทราบผลอย่างแน่นอน
                การรักษาโรคผู้ป่วยโรคหัวใจที่เป็นเบาหวานกับไม่เป็นแตกต่างกันอย่างไรการรักษาแตกต่างกันอย่างแน่นอน  โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานเพียงแค่มีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยง่าย  ให้วิเคราะห์ได้เลยว่ามีโอกาสเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบสูง  ต่างจากคนทั่วไปในวัย  40  ปี ขึ้นไปสำหรับผู้ชาย  หรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง  ซึ่งบางที่อาจจะไม่มีอาการของเบาหวานเพียงเข้ารับการตรวจเล็กน้อย            สำหรับการรักษานั้น  ผู้ป่วยเบาหวานจะรักษายากกว่า  เนื่องจากการรักษาโรคหัวใจต้องควบคุมเบาหวาน  ควบคุมไขมันและควบคมความดัน  โดยในการควบคุมไขมันและความดันนั้นทำได้ไม่ยาก  เพราะตัวยาที่ใช้ให้การผลดีกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งสองอย่าง  ตรงกันข้ามกับเบาหวานที่ควบคุมยาก  เพราะนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้ว  ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานด้วยจึงจะได้ผล  และกรณีที่คนป่วยเป็นเบาหวานเกิดหลอดเลือดตีบรักษาด้วยการทำบอลลูน  โดยการใส่ขดลวดเขาไปแล้ว  พบว่าการที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบซ้ำ  มีความเป็นไปได้สูงกว่าคนปกติทั่วไปถึง  10%  ถ้าผู้ป่วยเป็นเบาหวานควบคุมเบาหวานไม่ดีเห็นชัดเจนเลยว่าการรักษาค่อนข้างจะยากกว่า  และอีกหนึ่งกรณีคือลักษณะเส้นเลือดของคนที่เป็นโรคหัวใจที่ป่วยเป็นเบาหวาน  จะมีลักษณะขรุขระมากกว่าคนปกติทั่วไป  ทำให้การรักษาด้วยการทำบอลลูนต้องในขดลวดหลายอันและในบางจุดก็ไม่สามารถใส่ได้  จึงถือเป็นการยากมากสำหรับการรักษาโรคัวใจในผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถป้องกันตนเองจากโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้หรือไม่            ป้องกันได้โดยควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด  ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  และต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  เช่น  ควรวางแผนเรื่องอาหาร  การออกกำลังกาย  การรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตลอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันรวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ           
                   โอกาสของผู้ป่วยเบาหวานที่จะเป็นโรคหัวใจถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก  ดังนั้นควรควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด  รวมถึงต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยง  ปรับปรุงพฤติกรรมเรื่องอาหารการกิน  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนมีการพักผ่อนที่เพียงพอ  ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไปและที่สำคัญต้องเชื่อฟังคำแนะนำ  รวมถึงการปฏิบัติตามแพทย์สั่ง  การรักษาจึงจะได้ผลดี ข้อมูลบทสัมภาษณ์ ศ.นพ.เกียรติชัย  ภูริปัญโญ
จากนิตยาสารเบาหวาน  ฉบับ พ.ย. ธ.ค. 51
 

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

นมแม่แสนวิเศษ

             อาหารชั้นเลิศสำหรับลูกน้อย  สำหรับเด็กทารกแล้ว  อาหารชั้นเลิศใดๆในโลกคงทียมไม่ได้กับน้ำนมของแม่  ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดน้ำนมแม่ล้วนจัดถูกให้เป็นสุดยอดเมนูคู่ลูกน้อยทุกคน  ในปัจจุบันการตื่นตัวการกินนมให้ลูกนมแม่มากขึ้น  ยิ่งในช่วงที่ผ่านมามีปัญหานมผสมการปนเปื้อนของสารเบลานีน  นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการทางด้านต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญา  และความสามารถในการปรับตัว  การเรียนรู้สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จึงน่าจะถือว่าการมให้ลูกกินนมแม่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของพ่อแม่  ( Parental  investment ) ดีกว่าการฝากธนาคาร  หรือการซื้อหุ้น  เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับมีแต่เพิ่มขึ้นๆตามอายุของลูก      
             การให้ลูกกินนมแม่มีประโยชน์ต่อคน  3  กลุ่ม  กล่าวคือ  ประโยชน์ต่อตัวคุณแม่จะทำให้น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากมายในระหว่างการตั้งครรภ์ลดลงอย่างรวดเร็ว  โดยไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งสถานเสริมความงามต่างๆ  นอกจากนี้โอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมของแม่ก็ลดลงด้วย  ประโยชน์ต่อลูกคือ  เด็กที่กินนมแม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้  หอบหืด  ผื่นแพ้  และโรคติดเชื้อในระบบต่างๆ  เช่น  ระบบทางเดินหายใจ  ระบบทางเดินอาหาร  ฯลฯ  ลดลงและยังเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย  มีพัฒนาการทั้งด้าน IQ,EQ และ Q ต่างๆเพิ่มขึ้น  ประโยชน์ต่อตัวคุณพ่อ  แน่นอนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อนมผสมต่างๆ  แถมยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่นเข้มแข็งอีก 
            ประโยชน์ของนมแม่      นมแม่เป็นอาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงทารก  เพราะมีสารอาหารต่างๆครบถ้วน  ปริมาณเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของทารก  ย่อยและดูดซึมง่าย  ต่างจากนมผสมต่างๆที่พยายามจะเพิ่มโปรตีนหรือสารอาหารต่างๆลงไปจนสูงเกินความต้องการของทารก  ซึ่งอาจส่งผลเสียในอนาคตมากกว่าผลดี  นมแม่มีทอรีน  ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกสูงกว่านมวัวถึง  55 เท่า  ซึ่งทอรีนนี้เป็นส่วนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ  สมองและเซลล์รับภาพของตา  นมแม่ยังมีนิวคลีโอไทด์  ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆของเซลล์ที่จำเป็นต่อโครงสร้างการเจริญเติบโต  พลังงานและเมตาบอลิซึมต่างๆมนร่างกาย 
            นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการย่อย  และการเจริญของเยื่อบุลำไส้เล็ก  ทำให้ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย  มีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น   ช่วยนากรดูดซึมธาตุเหล็ก  และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค  สำหรับนมผสมนั้นมีปริมาณนิวคลีโอไทด์น้อย  และชนิดทีมียังแตกต่างจากนมแม่มาก  ไขมันในนมแม่ที่เรารู้จักมีหลายชนิด  แต่ชนิดที่สำคัญและมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายก็คือ  DHA  นั่นเอง  ไขมันเหล่านี้มาจากไขมันในอาหารของแม่  ไขมันที่เต้านมสังเคราะห์ขึ้นและไขมันที่สะสมไว้ในเนื้อเยื่อของแม่  เพราะฉะนั้นอาหารทีแม่กินจึงมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับชนิดและคุณภาพของไขมันในน้ำนมด้วย  นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีประโยชน์ด้านการส่งเสริมด้านการสร้างภูมิคุ้มกันในเชื้อโรคต่างๆได้อีกด้วยมารู้จักนมแม่ให้มากขึ้น     
           โดยปกติแล้วนมแม่แต่ละช่วงจะแตกต่างกัน  แบ่งคร่าวๆก็คือ ในช่วง 2 3 วันแรกหลังคลอดเรียกว่า  Colostrum (น้ำนมเหลือง)  ระยะต่อมาถึง 2 สัปดาห์หลังคลอดเรียกว่า Transitional milk หลังจากนั้นเรียกว่า Mature milk  เห็นมั้ยคะ  ธรรมชาติแสนวิเศษ  นมแม่แต่ละช่วงมีความเหมาะสมกับลูกในแต่ละวัย  เพราะฉะนั้นคงไม่เกินเลยไปนักหากจะกล่าวว่า  นมแม่สิแน่จริง  น่าจะเป็นสิ่วที่ถูกต้อง     

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ไขมันเกาะตับอันตราย เสี่ยงมะเร็งตับ ตับแข็ง

ไขมันเกาะตับอันตราย  เสี่ยงมะเร็งตับ  ตับแข็ง     
            หากพูดถึงโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ  เรามักจะนึกถึงสาเหตุการเกิดโรคว่ามาจากการดื่มสุรา  ไวรัสตับอักเสบ  หรือมาจากยาบางชนิด  แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงตัวการสำคัญอีกประเภทที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับไตได้เช่นกันคือ  ภาวะไขมันสะสมในตับ  ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา  ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่พบบ่อยและพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ในปัจจุบันทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า  Non Alcoholic  Fatty  Liver  Disease  (NAFLD) หรือถ้ามีการอักเสบหรือบวมของเซลล์ตับร่วมด้วย  ก็จะเรียกว่า  Non Alcoholic  Steatohepatitis  (NASH)
ภาวะสะสมไขมันในตับ(หรือโรคไขมันเกาะตับ)     
            คือ  ภาวะที่มีการสะสมไขมันภายในเซลล์ตับ  ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์  โดยอาจมีเพียงการสะสมของไขมันอย่างเดียว  หรืออาจมากรอักเสบของตับร่วมด้วย  ซึ่งในผู้ป่วยบางราย  การเรื้อรังนี้อาจนำไปสู่การเกิดพังผืดในตับ  หรือที่เราเรียกว่าภาวะตับแข็งได้ภาวะไขมันสะสมได้บ่อยขนาดไหน?      การศึกษาในประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นพบว่าประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ  10 20  มีภาวะไขมันสะสมในตับโดยการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์  และประมาณร้อยละ 1 3 จะพบการอักเสบเรื้อรังของตับร่วมด้วย  โดยจะพบเพิ่มขึ้นในประชากรที่มีอายุมากกว่า  40  ปีขึ้นไป  สำหรับประเทศไทยยังไม่มีความชุกของโรคนี้ชัดเจน  แต่เชื่อว่าคงใกล้เคียงกับข้อมูลของต่างประเทศ      กรณีที่ผู้ป่วยมีค่าการทำงานของตับผิดปกตินานกว่า  3  เดือน  ซึ่งบอกถึงภาวะตับอักเสบเรื้อรังโดยที่ไม่ได้เกิดจากไวรัสตับอักเสบ  บี,  ซี,  การดื่มสุรา  หรือรับประทานยา  พบว่ามากว่าร้อยละ  60  ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะไขมันสะสมในตับที่อาจเป็นสาเหตุได้
สาเหตุและความเสี่ยงของภาวะไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา     
           สาเหตุของโรคนี้  ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด  อาจมีหลายปัจจัยร่วมด้วยกัน  โดยข้อมูลในปัจจุบันเชื่อว่าปัจจัยสำคัญของการเกิดภาวะไขมันสะสมในตับคือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ( insulin resistance  )และจากนั้นอาจมีกลไกอื่นที่มากระตุ้นให้เซลล์ตับที่มีไขมันเกาะอยู่นั้นเกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับลักษณะผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์กับการดื้อต่ออินซูลิน  หรือที่ทางการแพทย์เรียกอาการกลุ่มนี้ว่า  Metabolic syndrome   ได้แก่ผู้ป่วยที่มีลักษณะต่อไปนี้1.  อ้วน  โดยเฉพาะอ้วนที่ลำตัว  หรือลงพุง (รอบเอวมากกว่า  36  นิ้วในผู้ชาย  หรือมากกว่า  32  นิ้วในผู้หญิง )2.  เป็นเบาหวาน3.  ไขมันในเลือดสูง  โดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์4.  ความดันโลหิตสูง   พบว่าผู้ป่วยที่มีอย่างน้อย  1  ข้อ  ดังกล่าว  จะมีโอกาสเกอดภาวะไขมันในตับสูง  กล่าวคือประมาณร้อยละ  80  ของคนอ้วน  และร้อยละ 20 40 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภาวะสะสมไขมันในตับ
อาการของภาวะสะสมในตับ           
           ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการ  มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็คสุขภาพ  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการจุกแน่นชายโครงด้านขวา  หรือในรายที่เป็นมานานอาจมีอาการเริ่มต้นของภาวะตับแข็ง  เช่น  อ่อนเพลีย,ท้องโต  เป็นต้น  การตรวจร่างกายโดยแพทย์  ในระยะแรกมักจะปกติหรือพบแค่การตรวจเลือด  การดูการทำงานของตับ  จะพบค่า  ALT และ AST  มีค่าสูงกว่าปกติประมาณ 1.5 4 เท่า  ซึ่งบ่งถึงการอักเสบของเซลล์ตับ  และอาจมีค่า ALP สูงขึ้นเล็กน้อย 
การวินิจฉัยภาวะสะสมไขมันในตับ        
1.  ตรวจเลือดดูการทำงานของตับ  จะพบว่ามีการอักเสบ (ค่า ALT และ AST  สูงขึ้นกว่าปกติ        
2.  ตรวจเลือดดูระดับน้ำตาลและไขมัน  อาจมีค่าสูงกว่าปกติ        
3.  ตัดโรคอื่นที่เป็นสาเหตุของภาวะตับอักเสบเรื้อรังออกไป  โดยประวัติและการตรวจเลือด (เช่น  การดื่มสุรา, ทานยา ,ไวรัสตับอักเสบ  บี  หรือซี  เป็นต้น)  หรือบางรายอาจจำเป็นต้องเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ       
4.  ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์  จะพบว่าตับมีสีขาวขึ้นกว่าปกติ  และอาจมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย  ซึ่งเกิดจากการที่มีไขมันแทรกอยู่ในเซลล์ตับทั่วๆไป        
 5.  ตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT scan ) และเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI         
 6.  เจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจทางพยาธิวิทยา  ซึ่งมีประโยชน์ช่วยบอกสาเหตุ  และประเมินความรุนแรงของภาวะตับอักเสบอาจจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยบางราย
อันตรายของภาวะไขมันสะสมในตับ           
            โดยรวมแล้วไขมันสะสมในตับมักมีพยากรณ์โรคที่ดี  เราสามารถแบ่งภาวะความรุนแรงของภาวะไขมันสะสมในตับได้เป็น  4  ระดับตามลักษณะทางพยาธิวิทยา  โดยผู้ป่วยส่วนมาก  จะอยู่ในระดับที่ 1 และ 2 ซึ่งไม่รุนแรง  คือมีเพียงไขมันสะสมในเซลล์ตับอย่างเดียวหรืออาจมีการอักเสบที่ไม่รุนแรงร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสบายดีแม้ว่าจะติดตามไปนาน 10 20 ปีสำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะไขมันสะสมในตับในความรุนแรงระดับ 3 และ 4 กล่าวคือมีการอักเสบรุนแรงทำให้เซลล์ตับบวม  และอาจมีพังผืดในตับเกิดขึ้นร่วมด้วย  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องระวังเนื่องจากสามารถเกิดตับแข็งได้ได้ร้อยละ 20 30 ในเวลา 10 ปี และทำให้เสียชีวิตจากโรคตับ  หรือมะเร็งตับได้ประมาณร้อยละ 9  ในเวลา  10  ปี  โดยปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่จะมีการดำเนินโรคที่รุนแรงนี้  ได้แก่  อายุมาก  อ้วนมาก  หรือเป็นเบาหวานร่วมด้วย
การปฏิบัติตัวเมื่อทราบว่าตนเองมีภาวะไขมันสะสมในตับ           
            เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่ได้ผลการรักษาดีมาก  หรืหายขาดจากโรคนี้  ดังนั้นการรักษาที่สำคัญ  และได้ประโยชน์มากที่สุดคือการลดน้ำหนัก  ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าลดไขมัน  และการอักเสบในตับได้จริงโดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยอ้วน  อีกทั้งยังมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวมด้วย  แนะนำให้ค่อยๆลดน้ำหนักลงประมาณ 1 2 กิโลกรัมต่อเดือน  โดยตั้งเป้าให้ลดลงอย่างน้อยร้อยละ  15  ของน้ำหนักเริ่มต้น  หรือจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ  วิธีลดน้ำหนักที่ถูกสุขภาพ  คือควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง  ได้แก่  นม  เนย  ชีส  กะทิ  ปลาหมึก  กุ้ง  ไขมันสัตว์  และไข่แดง  การทานอาหารจำพวกแป้ง  หรือน้ำตางมากเกินไป  ก็สามารถเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้เช่นกัน  ควรลดขนาดอาหารของมื้อแต่ละมื้อ  โดยเฉพาะมื้อเย็น  แต่ต้องพึงระวังไว้ว่าการลดน้ำหนักที่เร็วเกินไปหรือลดอย่างผิดวิธี  เช่นการอดอาหาร  หรือการใช้ยาลดความอ้วนโดยไม่มีข้อบ่งชี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ  และทำให้ตับอักเสบแย่ลงได้            การควบคุมระดับน้ำตาล  และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้  การใช้ยาลดไขมันจะสามารถลดระดับไขมันในเลือด  รวมถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้  อีกทั้งยาลดไขมันเองยังก่อให้เกิดตับอักเสบได้ในผู้ป่วยบางราย  ดังนั้น จึงเริ่มต้นแนะนำให้ควบคุมอาหารร่วมกับออกกำลังกายก่อนเสมอ  และในรายที่ต้องใช้ยาลดไขมัน  ก็ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์  ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า  และการใช้ยาที่ไม่จำเป็น  โดยเฉพาะยาสมุนไพรที่เราไม่ทราบส่วนผสม  เนื่องจากยาเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อตับโดยตรง  และจะทำให้แพทย์มีความสับสนในการติดตามภาวการณ์อักเสบของตับโดยการตรวจเลือดได้การรักษาภาวะไขมันสะสมในตับด้วยยา            เป้าหมายของการรักษาภาวะไขมันสะสมในตับ  คือ  ลดปริมาณไขมันและการอักเสบภายในตับ  เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดหรือตับแข็งในอนาคต  ซึ่งยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงการศึกษาวิจัย  อย่างไรก็ตาม  มียาหลายตัวที่มีหลักฐานจากการศึกษามากพอสมควร  และมีข้อมูลบ่งว่าน่าจะมีประโยชน์  สามารถลดความผิดปกติของค่า ALT และ AST  ในเลือด  รวมถึงการลดปริมาณไขมันและการอักเสบภายในตับลงได้  ได้แก่  1.  ยากลุ่มกระตุ้นความไวต่ออินซูลิน  ได้แก่ยา  Metformin  และ  Thiazolidinediones 2.  วิตามินอี  ขนาด 800 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน  ซึ่งมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ( Anti oxidant ) 3.  ยา Pentoxifylline  มีฤทธิ์ต้านสาร  TNF  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบของตับ4.  Ursodeoxycholic  Acid  ( UCDA ) เป็นกรดน้ำดีที่มีประโยชน์กับตับ5.  Silymarin เป็นสารสกัดจากดอก Milk  Thrisle  มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ      เนื่องจากยาแต่ละตัวอาจมีผลข้างเคียงได้และเหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆกัน  ดังนั้นการใช้ยาควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์  เพื่อการติดตามที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เกิดตับแข็งแล้ว  ก็ยังมีการรักษาอีกหลายอย่างที่จะช่วยให้อาการดีขึ้น  และภาวการณ์ป้องกันแทรกซ้อนได้  ตลอดจนปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนตับในกรณีที่เป็นตับแข็งในระยะสุดท้าย  สามารถทำได้แล้วในประเทศไทย



วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย

              ขณะออกกำลังกายหนักร่างกายสามารถผลิตความร้อนมากกว่าขณะพักผ่อนถึงประมาณ  20 – 30  เท่า  ร่างกายจะเกิดการหลั่งเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกนอกร่างกาย โดยที่จะเกิดความสมดุลเมื่อผลิตความร้อน เท่ากับความร้อนที่ระบายออก ดังนั้นความร้อน  และความเย็นของอากาศบริเวณที่ฝึก จึงมีความสำคัญต่อการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย  และประสิทธิภาพในการทำงาน
   
              จากงานวิจัยของ            เพ็ญจันทร์  ศรีสุขสวัสดิ์ (2518)  ได้ศึกษาถึงอิทธิพลของความร้อนและความเย็นที่มีต่อการฝึกกล้ามเนื้อ โดยฝึกงอข้อมือ และเหยียดข้อมือ 120 ครั้ง/นาที ในตู้ปรับอากาศร้อน  ตู้ปรับอากาศเย็น และตู้ปรับอากาศธรรมดา ฝึก 4 สัปดาห์ ๆ ละ  4  วันๆ ละ 1 นาที นำผลการทดสอบไปหาค่าทางสถิติโดยการทดสอบค่า “ ที ” (t – test) พบว่า อากาศแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการฝึกกล้ามเนื้อ โดยที่สภาพอากาศแวดล้อมที่ร้อนกว่าปกติให้ผลในเชิงส่งเสริมการฝึก เห็นได้จากความสามารถในการทำงานมีมากกว่าการฝึกในอากาศปกติ



 
 
 

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ความสำคัญของเอทีพี พีซีกับการสร้างพลังงานในเชิงแอนแอโรบิค

              เอทีพี    ซีพี   และกรดแลคติค ในกล้ามเนื้อมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  กับการสร้างพลังงานในเชิงแอนแอโรบิค  จอร์เฟล์ดท  (Jorefeldt, 1970)    ได้ทการศึกษาเกี่ยวกับการสลายตัวของฟอสฟาเจน (ATP + CP)  และการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อในการออกกำลังกายสูงสุด  และเกือบจะสูงสุด   โดยให้ผู้รับการทดลองที่ได้รับการฝึกออกกำลังกาย   13  คน  และผู้ที่ไม่ได้รับการฝึก   15  คน  พบว่า  มีการสลายตัวของครีเอทีนฟอสเฟตในการออกกำลังกายเกือบจะสูงสุดทั้งสองกลุ่ม   การสะสมของกรดแลคติคจะเริ่มขึ้นเมื่อการออกกำลังกายมีระดับ  50 65 % ของสมรรถภาพในการรับออกซิเจนสูงสุดของแต่ละคน  และพบว่า  ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกจะมีการสะสมของกรดแลคติคสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึก  และในกลุ่มที่ได้รับการฝึก  จะมีการสร้าง  เอทีพี และซีพี   ขึ้นทดแทนได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก  
              ซึ่งสอดคล้องกับ   (เทเวศร์    พิริยะพฤนท์, 2523  อ้างอิงจาก Thomas, 1974)  ที่ทำการศึกษาเรื่อง  การทำงานแบบ แอนแอโรบิค ที่ระดับงานสูงสุดในผู้เข้ารับการทดลองที่มีสมรรถภาพสูง  8  คน  และ สมรรถภาพปานกลาง  8  คน  ให้ออกกำลังกายโดยการถีบจักรยานเป็นเวลา   6   นาที ที่ความหนักของงาน   70 %   ,  80 %   และ   90%ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของแต่ละคน  หลังจากงานสิ้นสุดลง  ทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ   และเจาะตัวอย่างเลือดหลังจากการออกกำลังกายแล้ว   3 ½  นาที  เพื่อวิเคราะห์หากรดแลคติค  พบว่า กลุ่มที่มีสมรรถภาพสูงจะมีกรดแลคติค  หลังการออกกำลังกายต่ำกว่ากลุ่มที่มีสมรรถภาพปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และพบว่า  กลุ่มที่มีสมรรถภาพทางกายสูง จะมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่ากลุ่มที่มีสมรรถภาพทางกายปานกลาง   นอกจากนี้ความหนักของงาน ที่เพิ่มขึ้น  จะมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของกรดแลคติคในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ





วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการฝึกกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค


เชาว์   เหลืองอร่าม  (2527)   ได้ศึกษาถึงผลของการฝึกแบบไอโซโทนิค   ไอโซเมตริค    และการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อระยะทางการทุ่มน้ำหนัก  พบว่าการฝึกกำลังกล้ามเนื้อแบบไอโซโทนิค    ไอโซเมตริค   และการฝึกแบบผสมผสาน  ทำให้ค่าเฉลี่ยของระยะทางการทุ่มน้ำหนักไม่แตกต่างกัน ซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกับงานวิจัยของ  บาร์  (Barr, 1993)  ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการตอบสนองของประสาท และกล้ามเนื้อต่อการฝึกแบบไอโซเมตริค  ที่กล้ามเนื้อ  ไตรเซ็บ   กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงจำนวนทั้งสิ้น    18  คน  ถนัดขวา  ทำการฝึกแบบไอโซเมตริค  ที่กล้ามเนื้อไตรเซ็บ  ข้างขวา  เป็นเวลา   6   สัปดาห์  ภายหลังการฝึก  พบว่า  การฝึกแบบไอโซเมตริค  ทำให้กล้ามเนื้อไตรเซ็บ  มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
            ในการฝึกกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค  มีวิธีการฝึกด้วยกัน สองแบบ  คือการฝึกแบบเกร็งกล้ามเนื้อซ้ำๆกัน    กับเกร็งกล้ามเนื้อครั้งเดียว    เพื่อนใจ  บุญจันทร์ (2533)  ได้ศึกษาถึงผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบ ไอโซเมตริคสูงสุด ต่อความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อควอไดรเซฟส์ฟีมอริส  และเปรียบเทียบความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อจากกลุ่มที่ได้รับการฝึกแบบเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ครั้งเดียวกับกลุ่มที่ได้รับการฝึกชนิดเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ซ้ำๆกัน  10  ครั้ง  โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเพศหญิง  อายุระหว่าง  20 23 ปี ใช้ไดนาโมมิเตอร์วัดการหดตัวสูงสุดแบบ ไอโซเมตริค ในท่านั่ง สะโพกและเข่า อยู่ในท่างอทำมุม  120  และ  60 องศา ตามลำดับ ทดสอบความทนทานโดยวัดเวลานานที่สุดที่สามารถออกแรงดึงได้เต็มที่ กลุ่มทดลองทำการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่นาน  6 วินาที 1 ครั้ง/วัน  5  วัน/สัปดาห์  เป็นเวลา   4  สัปดาห์  วัดความแข็งแรง  ความอดทน และพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขา  แล้วแบ่งกลุ่มทดลองเป็น  2  กลุ่มย่อยกลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกเหมือนเดิม คือ  1  ครั้ง/วัน ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 ฝึก  10  ครั้ง/วัน (พักระหว่างครั้งนาน  20  วินาที) ทดสอบความแข็งแรง  ความอดทน และพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขา  ภายหลังการฝึก  4  สัปดาห์และ  8  สัปดาห์  ผลการทดลองพบว่า  การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริคสูงสุดสามารถเพิ่มความแข็งแรง  และความอดทนของกล้ามเนื้อได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกแบบเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ครั้งเดียวกับกลุ่มที่ได้รับการฝึกชนิดเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ซ้ำๆกัน    10  ครั้ง (ที่ระดับ  .01) 
            นอกจากนี้ยังพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายหลังสิ้นสุดการฝึกสัปดาห์ที่  4  ในกลุ่มทดลองที่ 1  และกลุ่มทดลองที่ 2   (เพิ่มขึ้น  58.32  และ  57.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) และไม่พบการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขา (ที่ระดับ  .05)  ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการเพิ่มความแข็งแรง  และความอดทนของกล้ามเนื้อในการศึกษาครั้งนี้     ไม่น่าจะเกิดจากการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ    ซึ่งจากการวิจัยของออลเวย์ส (Always, Dale, & Macdougall, 1990)  ได้รายงานผลการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงการหดตัวของกล้ามเนื้อ  triceps  จากความหนักที่แตกต่างกัน  ในการฝึกกล้ามเนื้อแบบ ไอโซเมตริค พบว่า  การฝึกกล้ามเนื้อแบบ ไอโซเมตริค ที่มีความหนัก ค่อนข้างน้อย  มีผลต่อการพัฒนาขนาดของกล้ามเนื้อได้ดี   จากงานวิจัยดังกล่าว  แสดงให้เห็นว่า  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค อาจไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดของกล้ามเนื้อ      
           นอกจากนี้  วิชัย   อึงพินิจพงศ์  (2533  อ้างอิงจาก  Loberson  , 1979)  ได้รายงานว่าการเกร็งกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค 5 10  ครั้ง/วัน  5  วัน/สัปดาห์  ดีกว่าการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียวในเรื่องของทำให้เกิดแรงจูงใจในการฝึก   พบว่าการฝึกแบบนี้สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เฉพาะมุมที่ได้รับการฝึก  หรือช่วงมุมการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงกับมุมที่ได้รับการฝึก  โดยเฉลี่ยประมาณบวกลบ  10  องศา  ดังนั้นถ้าต้องการให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตลอดช่วงการเคลื่อนไหวข้อทั้งหมดจำเป็นต้องฝึกหลายๆช่วงของมุมการเคลื่อนไหว  และควรฝึกในมุมที่ห่างกันไม่เกิน  20  องศา



   
 
 

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ

ช่วยแพทย์พบจุดตีบตัน  รักษาได้ทันก่อนถึงแก่ชีวิตหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ  ซึ่งทำหน้าที่ไปเลี้ยงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย  โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน  ( coronary  artery  disease, CAD ) เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดทำไมต้องตรวจหลอดเลือดหัวใจ           
         หลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่ไขมันมาเกาะบนเยื่อบุผิวภายในผนังหลอดเลือด  ทำให้รูหลอดเลือดค่อยๆตีบแคบลง  ในระยะแรกอาจไม่มีอาการ  จนกระทั่งตีบแคบลงเกินร้อยละ  50  ของเส้นผ่าศูนย์กลาง  หลอดเลือดจึงจะแสดงอาการ  ถ้าบริเวณที่ตีบแคบนี้ถูกลิ่มเลือดไปอุดตันอย่างทันทีทันใด  กล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดภาวะขาดเลือดทันที  ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจวาย  และผู้ป่วยจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิต  ดังนั้นการตรวจหลอดเลือดหัวใจ  นับเป็นการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้สัญญาณเตือนภัย           
         สัญญาณที่บ่งบอกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ได้แก่  อาการเจ็บแน่นหน้าอก  จุกเสียด  แน่นตรงกลางหน้าอก  อึดอัด  หายใจไม่สะดวก  เหมือนมีอะไรมากดทับหรือบีบรัดหน้าอก  อาจมีอาการปวดร้าวไปที่ต้นคอ  แขนซ้ายหรือกราม  ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้  เหงื่อออก  อาการเหล่านี้มักเกิดขณะออกกำลังกาย  และดีขึ้นเมื่อหยุดพักหรืออมยาใต้ลิ้น  หากหลอดเลือดหัวใจตีบมาก  อาการเหล่านี้จะรุนแรง  เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน  ทำให้หัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้การวินิจฉันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ           
         เมื่อแพทย์สงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย  เอกซเรย์ปอด  เจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง  ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน  โดยผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจเพียงบางอย่าง  หรือทุกอย่างซึ่งแพทย์จะเป็นพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ  คืออะไร           
         เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ  โดยการสอดสายสวนขนาดเล็กประมาณ  2  มิลลิลิตร  ผ่านผิวหนังบริเวณขาหนีบหรือข้อมือ  เข้าไปในหลอดเลือดแดงถึงหลอดเลือดหัวใจ  ฉีดสารที่เป็นของเหลวทึบรังสีเข้าไป  เพื่อดูการไหลเวียนของเลือดและตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ( สารทึบรังสีนี้เป็นสารไอโอดีน  ซึ่งมีมากในอาหารทะเล  ปริมาณที่ใช้ฉีดจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย  ยกเว้นผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้อาหารทะเล  และผู้ที่มีความผิดปกติของการทำงานของไต  ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาลดปริมาณสารทับรังสี  หรือพิจารณาการตรวจพิเศษอื่นๆแทน )            การตรวจโดยวิธีสวนหลอดเลือดหัวใจ  เป็นการตรวจที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด  แพทย์สามารถมองเห็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้โดยตรงว่ามีการอุดตันมากน้อยเพียงใด  อุดตันกี่แห่ง  สภาพหลอดเลือดที่อุดตันสามารถทำการรักษาด้วยวิธีถ่างขยายหลอดเลือดที่อุดตันด้วยบอลลูนหรือไม่       ระยะเวลาในการตรวจสวนเลือดหัวใจเฉลี่ยประมาณ  ½ - 1  ชั่วโมง  กรตรวจสวนหัวใจมีความเสี่ยงเพียง 0.01 % หรือ 1 คนต่อ 1,000  ซึ่งถือว่าน้อยมาก  จึงนับว่าเป็นมาตรฐานที่แม่นยำ  และเป็นข้อสรุปของการตรวจหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจสวนหัวใจ  ต้องเตรียมตัวอย่างไร           
         แพทย์จะเจาะเส้นเลือดแดงที่ขาหนีบด้านขวาเพื่อสอดสายสวน  ดังนั้นผู้ป่วยควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย  โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบและต้นขาทั้งสองข้าง  ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย  4 6 ชั่วโมงก่อนการสวนหัวใจ  อาจดื่มน้ำได้บ้างเมื่อต้องรบประทานยา  หากกระหายน้ำมากอาจใช้วิธีอมกลั้วคอแล้วบ้วนออกได้  ควรหยุดยาการต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด (Warfarin) อย่างน้อย 3 วันก่อนสวนหัวใจ            เจ้าหน้าที่จะโกนขนบริเวณขาหนีบเพื่อทำความสะอาดและเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค  พยาบาลจะเปิดเส้นเพื่อให้น้ำเกลือที่ข้อมือหรือหลังมือของผู้ป่วย  ผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนรับการตรวจ            หลังการสวนหัวใจผู้ป่วยสามารถสามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้  ควรดื่มน้ำมากๆเพื่อไล่สารทึบรังสีให้ออกจากร่างกาย  ผู้ป่วยต้องนอนราบบนเตียงประมาณ 4 6 ชั่วโมง  สามารถพลิกตัวได้โดยไม่ต้องงอขาหนีบ  หรืองอได้เกิน  30  องศา (โดยการปรับเตียง) แต่ยังไม่ควรยืน  นั่ง  หรือเดินเข้าห้องน้ำเอง            ในวันรุ่งขึ้นหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน  แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้  ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติงานตามปกติในวันรุ่งขึ้นแต่ในระยะ 1 2 วันแรก ไ ม่ควรเดินบ่อย  และไม่ควรเปิดแผลหรือให้แผลภูน้ำประมาณ 3 5 วัน  และควรมาตรวจตามที่แพทย์นัด  หากมีอาการเจ็บแน่นห้าอกหรืออาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์     



วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ออกกำลังกายยาขนานเอก...สุขภาพ

             คุณเคยได้ยินคำกล่าวเหล่านี้มาบ้างไหม  เช่น วิ่งแล้วรู้สึกสบายตัว  อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  เวลาไม่สบายใจให้ไปออกกำลังกาย  สมองจะได้ปลอดโปร่งหรือออกกำลังกายเป็นประจำจิตใจดีขึ้น  อารมณ์สดชื่นแจ่มใสคำกล่าวข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นผลการออกกำลังกายต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง  และเมื่ออ้างอิงถึงข้อมูลทางวิชาการแพทย์  การค้นพบว่าการออกกำลังกายให้ผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน  ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมและถูกต้อง  ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอควร  ข้อมูลที่สนับสนุนได้แก่ 
              -           อิทธิพลของฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน ( Endorphine ) ที่หลั่งออกมาในขณะที่ออกกำลังกาย  ฮอร์โมนตัวนี้จะออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ( Morphine) ทำให้จิตใจสบาย คลายความเจ็บปวด  และทำให้ยึดติดในการออกกำลังกายได้
              -           อิทธิพลของสารสื่อประสาทนอร์ปิเนฟฟริน (Norepinephine)  ทำให้มีความสุขลดความวิตกกังวล  และความเครียด  ตลอดจนทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย  และนอนหลับได้สนิท 
              -           ผลจากการที่หลอดเลือดหัวใจมีการแตกแขนงย่อยมากขึ้น  (Collateral circulation) ซึ่งระบบแขนงย่อยเหล่านี้มีประโยชน์มาก  เพราะจะช่วยเหลือกัน  ถ้าจุดใดการหล่อเลี้ยงบกพร่อง  ก็จะมีแขนงอื่นๆมาช่วยได้
              -           ทำให้การใช้ออกซิเจนดีขึ้น  กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อลายใช้ออกซิเจนดีขึ้น
              -           ทำให้ความดันโลหิตลดลง  ควบคุมน้ำหนักตัวได้ดีขึ้น   จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นผลดีของการออกกำลังกายชัดเจน  แต่อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายจะให้ประโยชน์สูงสุด  และไม่ต้องเสี่ยงกับผลเสียที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บต่อร่างกาย  ควรจะเป็นการออกกำลังกายที่มีการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกายเป็นอย่างดี  มีเสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม  มีระยะเวลาที่พอเหมาะและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 
              ตลอดจนควรได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายให้แน่ชัดก่อนออกกำลังกายถ้าเป็นไปได้วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับสุขภาพหัวใจควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ( Aerobic -Exercise ) มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ต่อเนื่องอย่างเหมาะสม  มีการกระตุ้นระบบการเคลื่อนไหว  ระบบการหายใจ  รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิตต่อเนื่อง  โดยใช้เวลาของการออกกำลังกายประมาณ  30 45 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์  เช่น  วิ่งช้าๆปั่นจักรยาน  เดินบนสายพาน  ว่ายน้ำ  เหล่านี้เป็นต้น   
 
 
 

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis)

    
                 คนเมืองร้อนอย่างบ้านเรา  เมื่อลมหนาวมาเยือนทีไร  พากันดีอกดีใจกันยกใหญ่  (ที่ชอบอากาศเย็นสบายพากันจัดเวลาท่องเมืองเหนือหรือไปทัวร์ต่างประเทศสัมผัสความหนาวกันให้ถึงใจ แต่ก็มักมีปัญหากวนใจที่มาพร้อมกับอากาศแห้งที่มาพร้อมกับฤดูหนาวเช่นนี้  นั่นก็คือโรคผิวหนัง  และที่พบบ่อยคือโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน หรือ Seborrheic  dermatitisโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมันมีอาการอย่างไร ?      
                 โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนอดนี้  จะมีลักษณะเป็นผื่นแดง  มีสะเก็ดเล็กๆเป็นขุยลอกเป็นมันมีขอบเขตชัดเจน  มักพบในบริเวณที่ต่อมไขมันมีขอบเขตชัดเจน  มักพบในบริเวณที่ต่อมไขมัน เช่น ตามบริเวณระหว่างคิ้ว,ซอกจมูก,รูหู,หลังใบหู,ศีรษะ,ไรผม,คอ,หน้าอกช่วงบน,หลังช่วงบน,รักแร้  บริเวณขาหนีบก็พบได้ โดยผื่นเหล่านี้มักจะเป็นๆหายๆ  และมักพบว่าเป็นมากในบางช่วง  เช่น  ในช่วงที่อากาศหนาว  หรือช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ เช่น เครียด วิตกกังวล  นอนไม่หลับ หรือช่วงที่เจ็บป่วย     
                  โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน ( Seborrheic  dermatitis ) หากเกิดที่ผิวหนังจะต่างจากรังแค (Dandruff)  ตรงที่รังแคเป็นสะเก็ด  เป็นขุยสีขาวหรือเทา  และมีอากรคันหนังศีรษะ  หากว่าเป็นรังแคจะไม่มีอาการอักเสบบวมแดงที่หนังศีรษะเลย  ส่วนโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณต่อมไขมัน  จะมีอาการอักเสบของหนังศีรษะร่วมด้วย  ถ้าเผลอไปแกะหรือเกาอาจมีน้ำเหลืองเยิ้ม  หรือถ้าทิ้งไว้นานๆไม่รักษา  สะเก็ดจะหนามากขึ้นเรื่อยๆ  อาจเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้      โรคนี้มักพบในช่วงหนุ่ม สาว ผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่  18 20 ปี ในทารกระยะ 6 เดือนแรก  หรือในผู้สูงอายุก็พบได้เช่นกัน โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับเชื้อ Pityrosporum ovale  หรือ  Pityrosporum  orbiculare  เป็นเชื้อยีสต์ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขน  กินไขมันและโปรตีนของผิวหนังเป็นอาหาร  ซึ่งในคนที่เป็นโรคนี้จะพบเชื้อ  Pityrosporum ovale  มากขึ้นผิดปกติ  ก่อให้เกิดการกระตุ้นการลอกตัวของผิวหนัง  ปรากฏว่าเป็นขุยเล็กๆเนื่องจากเชื้อยีสต์นี้  เป็นเชื้อที่มีอยู่ปกติ (Normal Flora) จึงมีโอกาสเป็นใหม่ได้อีกเสมอ     
                 นอกจากนี้เชื้อ  Pityrosporum ovale  สามารถเปลี่ยนไขมันธรรมดาให้เป็นกรดไขมันได้  และพบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีผนังรูขุมขนไม่แข็งแรง  เซลล์หนังกำพร้าบริเวณนั้นๆ จะหลุดลอกง่ายเนื่องจากขาดไขมันชนิด  Linoleic acid  ทำให้เซลล์เหล่านี้หลุดลอกง่ายขึ้น  เมื่อมีกรดไขมันมารบกวนทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังเป็นๆหายๆ  แสงแดด  ความร้อน  ความหนาวเย็น  อากาศแห้ง ความเป็นด่างของสบู่  และเครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์  สามารถกระตุ้นให้เกิดผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้      การดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน
                 1.  การดูแลรักษา      โรคนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันและลดข้อแทรกซ้อนจากยาที่ใช้ในการรักษา  เช่น  ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์  และยาทาลดเชื้อยีสต์สำหรับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์  ถ้าใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ  จะทำให้เป็นสิว  ผิวบางเส้น  เลือดขยาย  และติดสเตียรอยด์ได้
                 2.  กรดูแลผิว     
                      -  การล้างหน้า  ควรใช้สบู่ที่ไม่ระคายเคืองต่อผิว  หรืออาจใช้น้ำเปล่าล้างหน้า  ล้างหน้าด้วยความนุ่มนวล   ไม่ควรล้างหน้าบ่อยจนเกินไป     
                      -  เลือกใช้ครีมชุ่มชื้นที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองได้ง่าย  และเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพผิว     
                      -  ควรเลือกใช้เครื่องสำอางชนิดที่เหมาะกับผิวแพ้ง่าย  และไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมแอลกอฮลล์  ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้     
                      -  ควรทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันผิวหน้าจากการรบกวนในรังสีในแสงแดด
โรคนี้มักจะเป็นๆ หายๆ และไม่หายขาด  แต่การดูแลสุขภาพร่างกายและดูแลผิวอย่างถูกต้อง  ก็ช่วยทำให้อาหารต่างๆของโรคเป็นน้อยลง  และหายเร็วขึ้น