วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

การวิ่ง:เคมีที่มีผลต่อชีวิตเพศ


ปราชญ์นิรนามกล่าวไว้ว่า “ความรักทำให้โลก (เบี้ยว ๆ บูด ๆ ลูกนี้) หมุนไปได้ ความใคร่ทำให้การหมุนนี้มีพลัง”
ในตอนที่แล้ว เราได้พูดกันถึงเรื่องการวิ่งว่าเกี่ยวข้องกับชีวิตเพศอย่างไร หลักฐานที่มีอยู่แสดงว่าการวิ่งในขนาดที่พอเหมาะทำให้ชีวิตเพศดีขึ้นหรือใครที่ยังข้องใจอยู่ลองฟังเรื่องจริงที่ไม่อิงนิยายนี้ดู
เรื่องนี้เล่าโดย นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม คุณหมอไปวิ่งที่ราชกรีฑาสโมสรพบผู้อาวุโสคนหนึ่งเล่นกอล์ฟเป็นประจำ
วันหนึ่งท่านลงมาวิ่ง คุณหมอจึงถามว่า “คุณลุงวันนี้ไม่เล่นกอล์ฟ หรือครับ?”
คุณลุงเหลียวซ้ายแลขวาแล้วเรียกคุณหมอเข้าไปกระซิบบอกว่า “นกเขามันไม่ค่อยขันลุงจึงลงมาวิ่งสักหน่อย”
คุณลุงวิ่งอยู่ได้ราวเดือนหนึ่งก็กลับไปเล่นกอล์ฟอย่างเดิม คุณหมออดแปลกใจไม่ได้ ถามอีกที “คุณลุงวันนี้ไม่วิ่งหรือครับ” นักกอล์ฟอาวุโสกระซิบตอบ
“ไม่หรอกหมอ นกเขามันขันแล้ว”
คุณหมออุดมศิลป์สรุปว่า “การวิ่งทำให้ชีวิตเพศดีขึ้นทั้งคุณภาพ และปริมาณ”
วันนี้เราลองมาดูกันว่าทำไมการวิ่งจึงทำให้เกิดผลเช่นนั้นได้ พยายามจะไม่ใช้ศัพท์แสงทางแพทย์ที่ยาก ๆ นอกจากจำเป็นจริง ๆ เพราะต้องเจาะลึกลงไปสักหน่อย สำหรับผู้อ่านที่ไม่ต้องการรายละเอียดให้รกสมองอาจเปิดผ่านไปได้เลย สำหรับผู้อ่านที่สนใจในข้อพิสูจน์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ นี่คือบทความสำหรับท่าน
เทสโตสทเตอโรน ฮอร์โมนเพศชาย
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “อะไรคือตัวกระตุ้น สมรรถนะทางเพศ”
เมื่อเข้าวัยรุ่นหนุ่มสาว ร่างกายจะเริ่มสร้างฮอร์โมนเพศออกมา ในผู้ชายจะมีฮอร์โมนที่เรียก เทสโตสเตอโรน (testosterone เป็นฮอร์โมนประจำเพศชาย
ในผู้หญิงก็จะมีเอสโตรเจน (estrogen) เป็นฮอร์โมนประจำเพศหญิง แต่ก็มีการสร้างเทสโตสเตอโรนออกมาด้วยแม้จะเป็นจำนวนน้อยกว่าผู้ชายก็ตาม
หน้าที่ของเทสโตสเตอโรน นอกจากจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้ชายแล้วยังมีผลกระตุ้นความรู้สึกทางเพศด้วย ความแปลกของธรรมชาติคือ เทสโตลเตอโรนจะทำหน้าที่นี้ทั้งในชายและหญิง (แทนที่จะเป็นว่าผู้หญิงถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนเพศหญิง ก็กลับเป็นฮอร์โมนเพศชาย)
พบปริมาณเทสโตสเตอโรนสูงกว่าในนักวิ่ง
มีผู้ทำการศึกษาในสัตว์ทดลอง คีธ เฮย์ นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์การแพทย์ไวท์ เมมอเรี่ยล นครลอสแองเจลีสแยกหนูตัวผู้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้วิ่งบนลูกล้อเฉลี่ยวันละกว่า 5,000 รอบ อีกกลุ่มขังกรงไว้ เฉย ๆ เพื่อการเปรียบเทียบ
เขาพบว่าในกลุ่มที่ให้วิ่งมีขนาดของลูกอัณฑะใหญ่กว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลัง 30 เปอร์เซ็นต์ เขาอธิบายว่า “การที่หนูได้วิ่งมีผลทำให้มีการหลั่งของฮอร์โมนเพศออกมามากขึ้น”
การทดลองในสัตว์ไม่จำเป็นว่าจะนำมาอธิบายหรือใช้กับคนได้
เสมอไป
อย่างไรก็ดี มีหลักฐานที่ส่อแสดงว่า การวิ่ง (และการออกกำลังกายแบบแอโรบิคอื่น ๆ เช่นว่ายนํ้า ถีบจักรยาน) ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น เช่น การทดลองของนายแพทย์ เอิร์ล ดับบลิว. เฟอร์กูชั่น แห่งโรงเรียนแพทย์ทหารในรัฐแมรี่แลนด์ เขาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนักวิ่งกับกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลัง โดยการวัดดูปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด VO2max (ซึ่งช่วยบอกความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายในการออกกำลังติดต่อกันนาน ๆ) ปริมาณเทสโตสเตอโรน และจำนวนเชื้อในนํ้าอสุจิ (sperm) เขาพบว่านักวิ่งมีปริมาณเทสโตสเตอโรนสูงกว่าพวกที่ไม่ได้ออกกำลัง (ดูตาราง) นอกจากนี้นักวิ่งยังมีจำนวนเชื้ออสุจิสูงกว่าด้วย แต่อย่างหลังนี้ไม่มีความสำคัญทางสถิติ
ตารางแสดงเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายและกลุ่มนักวิ่ง
การใช้ ออกซิเจนสูงสุด (มล./กก./นาที)เทสโตสเตอโรน(นก./ดล.)เชื้ออสุจิ (ล้าน/มล.)
ในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง39.3496177.8
กลุ่มนักวิ่ง60.9684220.7

ความสำคัญของเทสโตสเตอโรน
แม้ผลการศึกษาจะออกมาแน่ชัดว่า ในกลุ่มนักวิ่งมีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง การแปลผลการทดสอบนี้ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเหตุว่าการมีเทสโตสเตอโรนในระดับสูงมีผลอย่างไรต่อคนเรา เป็นเรื่องที่ยังไม่กระจ่างชัด
มีการศึกษาบางอันรายงานว่าผู้ชายที่มีฮอร์โมนเพศชายสูงมีบุคลิกภาพเป็นผู้นำ และค่อนข้างก้าวร้าว (คำว่าก้าวร้าวในที่นี้ไม่ได้หมายถึง เกกมะเหรกเกเร แต่เป็นแบบว่าไม่ยอมใครง่าย ๆ) สำหรับทางด้านเพศนั้นผู้มีฮอร์โมนเพศชายสูงไม่จำเป็นว่าจะมีความแข็งชันมากตามไปด้วย
เรื่องที่การแพทย์รู้แน่ชัดกลับเป็นในภาวะที่มีฮอร์โมนเพศชายตํ่ากว่าปกติจะทำให้คน ๆ นั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ และในภาวะเช่นนี้ การให้ฮอร์โมนเสริมจะช่วยให้สมรรถภาพกลับคืนมาได้

บทบาทของเทสโตสเตอโรนในผู้หญิง
ดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วว่า ในเพศหญิงฮอร์โมนที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศโดยตรงกลับเป็นฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศหญิงไม่ได้มีบทบาท ในทางนี้สักเท่าไหร่
ในปี พ.ศ. 2503 นายแพทย์เอส.อี.แวกเซนเบอร์ก และผู้ร่วมงานรายงานการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเพศของผู้หญิงภายหลังการตัดต่อมหมวกไต (ซึ่งเป็นที่สร้างฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิง) ออกเพื่อรักษาโรคบางชนิด เขาพบว่าในหญิงพวกนี้หลังการผ่าตัดจะมีความต้องการทางเพศลดลง ในขณะที่หญิงที่ถูกตัดเอารังไข่ (ซึ่งเป็นที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิง) ออกกลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกทางเพศ
นอกจากนี้หมอที่ใช้ยาเทสโตสเตอโรนเพื่อรักษาโรคบาง อย่างเช่น โรคเกี่ยวกับเต้านม พบว่าคนไข้มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น การทดลองที่ทำโดยนายแพทย์คาร์นี่ย์และคณะพบว่า ในหญิงที่แต่งงานแล้ว และมีความเย็นชาทางเพศ การให้เทสโตสเตอโรนทำให้ความต้องการและกิจกรรมทางเพศเพิ่มขึ้นกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้ให้
อย่างไรก็ดีเทสโตสเตอโรนไม่ได้ถูกใช้ในการรักษาโรคกามตายด้านในผู้หญิง เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไม่ใช่อยู่ที่ร่างกาย หรือการขาดฮอร์โมน แต่เป็นที่จิตใจ ดังนั้นการรักษาโดยการบำบัดทางจิตใจจึงได้ผลดีกว่า เพราะถึงแม้เทสโตสเตอโรนจะไปกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แต่ไม่อาจทำให้โรคกามตายด้านดีขึ้นเสมอไป ในทางตรงกันข้ามมันอาจทำให้เกิดปัญหาซับซ้อนตามมา

ดีไม่ดี อยู่ที่การใช้
ถึงตอนนี้ผู้อ่านอาจมีความรู้สึกชักงง ๆ แล้ว ไม่รู้ว่าเทสโตสเตอโรนนี่มันดีหรือไม่ดีอย่างไร
ถ้าจะสรุปกันง่าย ๆ การที่ออกไปวิ่งแล้วมีฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น อาจให้ผลทั้งบวกและลบ
เทสโตสเตอโรนมีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศทั้งในชายและหญิง นอกจากนี้มันยังเพิ่มความก้าวร้าวเอาเรื่องเอาราว อันเป็นนิสัยประจำเพศชายอีกด้วย
เมื่อพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว เทสโตสเตอโรนก็เหมือนไฟ ถ้าเอาไปใช้ให้ถูกวิธีก็ให้คุณมากหลาย แต่ถ้าเอาไปใช้ในทางที่ผิดก็ย่อมทำให้เกิดโทษมหันต์ได้ ฉันใดฉันนั้นอันความรู้สึกทางเพศก็ดี ความแข็งขันความดุดันก็ดี ไม่มีคุณหรือโทษอยู่ในตัวเอง หากขึ้นอยู่กับการนำมันไปใช้มากกว่า ว่าจะใช้ไปในทางใด

สารอื่น ๆ ที่มีผลทางเพศ
นอกจากสารเทสโตสเตอโรนแล้ว ยังมีสารอื่น ๆ ที่มีผลต่อเรื่องเพศ เช่น สารที่เรียกว่าเอ็นดอร์ฟิน เอ็นดอร์ฟินมีฤทธิ์คล้ายสารจำพวก “ฝิ่นหรือมอร์ฟิน (ชื่อเอ็นดอร์ฟินมาจากคำว่าเอ็นโด + มอร์ฟิน) เอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมามากในภาวะที่มีความกดดันต่อร่างกาย การศึกษาในนักวิ่งหลังการแข่งมาราธอนพบว่า มีสารตัวนี้ในกระแสเลือดสูงกว่าปกติมาก
เอ็นดอร์ฟิน ทำให้นักวิ่งไม่รู้สึกเจ็บปวด จิตใจสบาย บางครั้งถึงขั้นเคลิบเคลิ้ม และมีผลต่อความรู้สึกทางเพศด้วย
โดยสรุปการวิ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและสารเคมีหลายตัวในร่างกาย ในจำนวนนี้บางอย่างก็เกี่ยวกับเรื่องเพศ แม้เราจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลอย่างไรต่อชีวิตเพศ นักวิจัยหลายกลุ่มกำลังศึกษาหาความจริงให้ถ่องแท้ แต่สำหรับนักวิ่งทั้งหลายแล้ว ผลการศึกษาจะออกมาอย่างไรก็คงไม่สนใจนัก การวิ่งยังคงเป็นการออกกำลังที่เป็นความสนุก และมีผลดีต่อสุขภาพกายและใจอยู่เช่นเดิม

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคกระตุ้นการผลิตฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะกาย

ฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญมากในเพศชาย เพราะว่าฮอร์โมน  เทสโทสเตอโรน (Testosterone) จะไปกระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นเพศชายออกมา ซึ่งรวมไปถึงการสร้างเชื้ออสุจิ และ  ความต้องการทางเพศ เป็นต้นความสำคัญของ ฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ต่อการสร้างกล้ามเนื้อเพาะกาย : 
  • ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายส่งผลถึงประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมเพื่อสร้างกล้ามเนื่อเพาะกายที่เพิ่มขึ้น
  • ลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรดกระดูนพรุน
เทคนิคกระตุ้นการผลิตฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน (Testosterone) 
  • บริหารร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะการบริหารร่างกายด้วยลูกน้ำหนัก เช่น ยกเวท และ ยกน้ำหนัก เป็นต้น ท่าบริหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มระดับ ฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ได้เป็นอย่างดี
  • นอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันจำเป็นให้เพียงพอ – อาหารที่มีกรดไขมันจำเป็นประกอบไปด้วย ถั่วต่างๆ อโวคาโด น้ำมันปลา น้ำมันมะกอก เนื้อสัตว์ เป็นต้น
  • ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะ เบียร์
  • รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อเช้า ควรเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง
  • รับประทานผัก และ ผลไม้เป็นประจำทุกวัน
  • ออกกำลังกายประมาณ 45 นาที ต่อครั้ง 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์
  • เพิ่มความเข้มข้นในการออกกำลังกาย
  • และข้อสุดท้าย หมั่นมีกิจกรรมทางเพศเสมอ
ข้อมูลจาก 
http://th-bodybuilding.com/

วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

8 Ideas รักษาสมดุลระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชาย

8 Ideas รักษาสมดุลระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชาย

       อย่างที่ทราบกันว่า "ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน" เป็นฮอร์โมนเพศที่สำคัญชนิดหนึ่งของผู้ชาย ซึ่งมีผลทำให้ระบบต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในของผู้ชายแตกต่างจากผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของร่างกาย ความคิด หรือเรื่องอื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้น คุณควรรักษาระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนให้อยู่ในระดับที่พอดีด้วยเช่นกัน ส่วนจะมีวิธีการใดบ้างนั้นก็ตามไปดูกันเลย  

 1. ลดน้ำหนัก

          หากผู้ชายคนไหนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ควรรีบลดน้ำหนักด่วนเลย เพราะหากร่างกายของคุณมีระดับไขมันมากเกินไป ไขมันส่วนเกินเหล่านั้นก็จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยลง ฉะนั้นคุควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไว้จะดีกว่า ซึ่งนอกจากจะทำให้ระบบการผลิตฮอร์โมนดีขึ้นแล้ว ยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอันตรายอย่างเช่น โรคหัวใจ ด้วย 

 2. รับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์

          โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุสังกะสีและธาตุแมกนีเซียมสูง เพราะทั้งสองธาตุนี้มีผลโดยตรงต่อการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน อย่างไรก็ดี หากรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้มากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ออกมามากเกินความจำเป็นเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณมากกว่าผลดี ดังนั้น ให้เลือกรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมนะครับ

3. ความเครียด 

          เมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะที่มีความเครียดสูงร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลขึ้นมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้นี่เองที่จะเข้าไปขัดขวางการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและส่งผลให้ระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ฉะนั้นเมื่อคุณเกิดความเครียดก็ควรหาทางขจัดความเครียดออกไปเสีย ไม่ว่าจะด้วยการออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณชื่นชอบก็ได้  

 4. ควบคุมน้ำตาล 

          การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไปนั้น จะส่งผลให้ระดับอินซูลินในร่างกายของคุณเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายลดลงทันทีโดยอัตโนมัติ หากเป็นไปได้ก็ควรพยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติจะดีกว่า 

 5. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ 

          การรับประทานอาหารที่มีความสดใหม่และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ แล้วยังช่วยรักษาระดับและกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอีกด้วย ได้แก่ อาหารพืชผักใบเขียว ผลไม้สด ฯลฯ เห็นไหมล่ะว่าการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเหล่านี้มีประโยชน์กว่าการรับประทานอาหารตามใจปากเป็นไหน ๆ 

 6. พักผ่อนให้เพียงพอ
          การพักผ่อนและการนอนหลับที่เพียงพอมีความสำคัญต่อการผลิตฮอร์โมนชนิดนี้อย่างมาก เพราะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน 70 เปอร์เซ็นต์จะถูกผลิตในช่วงที่ร่างกายของคุณนอนหลับ ดังนั้นคุณจึงควรนอนหลับอย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายของคุณมีเวลาในการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนออกมาให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 

7. ออกกำลังกาย 

          ก่อนออกกำลังกายคุณก็ควรดูสภาพร่างกายของตัวคุณเองด้วย เพราะสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นกีฬาบางชนิดจึงเหมาะกับบางคนเท่านั้น หากเป็นไปได้คุณควรมีเทรนเนอร์ส่วนตัวเพื่อคอยให้คำปรึกษาแนะนำการออกกำลังกายที่ถูกต้องให้กับตัวคุณเองดีกว่า 

 8. ควบคุมระดับแอลกอฮอลล์ 

          การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายลดลง ซึ่งคนที่ดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำจะมีผลทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ คราวนี้หายสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าทำไมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง ดังนั้นลด ๆ การดื่มแอลกอฮอลล์ลงหน่อยก็ดีนะครับ 

          หลังจากที่ได้อ่านเรื่องราวของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่กระปุกดอทคอมนำมาฝากกันไป นอกจากในเรื่องของประโยชน์ของการรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายแล้ว ยังนับเป็นวิธีที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายของคุณอีกทางหนึ่งด้วย หากอยากจะมีสุขภาพที่ดีก็เริ่มปฏิบัติตามเสียตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่า

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความสำคัญของฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน

เทสโทสเตอร์โรนคือฮอร์โมนเพศที่สำคัญที่สุดของผู้ชาย มีหน้าที่สำคัญคือกระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชาย และรักษาให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องความต้องการทางเพศ, การสร้างเชื้ออสุจิ, ปริมาณของขนตามร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก โดยสมองจะควบคุมการสร้างเทสโทสเตอร์โรนซึ่งผลิตจากลูกอัณฑะ
 
เทสโทสเตอรโรนมีผลต่อตัวคุณอย่างไร

1.สร้างความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ
  เมื่ออายุเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น พัฒนาทางร่างกายภายนอกของผู้ชายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เริ่มทุ้มใหญ่ ขนตามร่างกายก็เริ่มขึ้น รวมทั้งเริ่มสนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น

2.เทสโทสเตอโรนมีผลต่อความต้องการในตัวคู่ครอง
  เทสโทสเตอโรนส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิด และความคาดหวังในตัวที่มีต่อคนรัก เช่น ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ (แต่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน) มักมีความสุขกับการลงหลักปักฐานใช้ชีวิตครอบครัวอย่างเรียบง่ายกับภรรยา แต่กลับกันสำหรับคนที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูง (มาก) พบว่ามีปัญหาการหย่าร้างมากกว่า รวมทั้งแอบนอกใจไปมีบ้านเล็กบ้านน้อยอีกด้วย นอกจากนี้ยังคิดว่าการแต่งงานเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสมอ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าชายทั้งสองกลุ่มมีความต้องการในปริมาณที่ต่างการ

3.เทสโทสเตอโรนเกิดจากการสังเคราะห์ของคอเลสเตอรอล
  โดยคอเลสเตอรอลจะเริ่มมีการเปลี่ยนสภาพเป็นโปรเจสเตอโรนก่อน จากนั้นเอนไซม์จะสังเคราะห์ออกมาเป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในท้ายที่สุด

การกระตุ้นการสร้างเทสโทสเตอร์โรนเพื่อให้ร่างกายของเราได้ปลดปล่อยความเป็นชาย

1. สร้างกล้ามหน้าท้องให้มองเห็นได้ชัด
เมื่อหน้าท้องขยายขึ้น เทสโทสเตอโรน หรือ ฮอร์โมนเพศชาย ของเราก็ย่อมลดลง ซึ่งเป็นรื่องปกติที่มนุษย์เรามีกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องทุกคนอยู่แล้ว แต่เพียงแค่มีชั้นไขมันมาบัง ทำให้เรามองห็นกล้ามเนื้อในส่วนหน้าท้องไม่ชัดเท่านั้นเอง เพียงแค่เราต้องจัดการสลายชั้นไขมันออกไป เพื่อที่จะทำให้ร่างกายของเราสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ดีขึ้นนั่นเอง

2. หยุดเรื่องเครียด
ความเครียดทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ จะยิ่งทำให้การสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเป็นไปได้อย่างลำบาก และอาจจะเกิดปัญหาได้ ซึ่งวิธีการที่จะบริหารความเครียดได้ดีที่สุดคือการออกกำลังกายแบบ Cardio ในแบบที่ไม่หักโหมเกินไป เพราะการออกกำลังกายจำพวกนี้จะช่วยให้ร่างกายของเราเพิ่มการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้มาขึ้นนั่นเอง

3. สร้างไบเซป
จากผลวิจัยพบว่าผู้ชายที่ออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักนั้นมีเกณฑ์ที่จะสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ได้มากกว่าคนปกติถึง 49% เลยทีเดียว หรือเรียกได้ว่า ยิ่งมีกล้ามเนื้อมากร่างกายก็สามารถสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้มากเหมือนกัน แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือการอย่าหักโหมการออกกำลังกาย แค่ใช้เวลา 2 วันต่อหนึ่งสัปดาห์ก็เพียงพอแล้ว

4. กำจัดไขมัน
พยายามกำจัดไขมันที่ไม่จำเป็นออกจากอาหารที่เรากินจะช่วยให้หุ่นของเราอยู่คงที่ แต่ถ้าไม่ได้รับไขมันเลยก็จะส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเหมือนกัน ซึ่งผลวิจัยได้พบว่าผู้ชายที่บริโภคไขมันเป็นส่วนใหญ่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับที่สูง แต่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการบริโภคไขมันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและหัวใจของเรานั่นคือการรับไขมันจากการกินปลาและถั่วหลากหลายชนิดนั่นเอง

5. พยายามอยู่ให้ห่างจากแอลกอฮอล์
การปล่อยตัวดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกายได้ ซึ่งผลการวิจัยได้สรุปออกมาว่าผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดๆกัน 3 อาทิตย์จะมีโอกาสที่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลงถึง 7%
เลยทีเดียว โดยวิธีที่สุดคือไม่ปล่อยตัวมากเกินไปรู้จักคำว่าพอดีๆ ประมาณ 1-2 แก้ว ต่อคืนเพื่อที่จะลดโอกาสการสูญสียการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของร่างกาย