วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ความสำคัญของเอทีพี พีซีกับการสร้างพลังงานในเชิงแอนแอโรบิค

              เอทีพี    ซีพี   และกรดแลคติค ในกล้ามเนื้อมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  กับการสร้างพลังงานในเชิงแอนแอโรบิค  จอร์เฟล์ดท  (Jorefeldt, 1970)    ได้ทการศึกษาเกี่ยวกับการสลายตัวของฟอสฟาเจน (ATP + CP)  และการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อในการออกกำลังกายสูงสุด  และเกือบจะสูงสุด   โดยให้ผู้รับการทดลองที่ได้รับการฝึกออกกำลังกาย   13  คน  และผู้ที่ไม่ได้รับการฝึก   15  คน  พบว่า  มีการสลายตัวของครีเอทีนฟอสเฟตในการออกกำลังกายเกือบจะสูงสุดทั้งสองกลุ่ม   การสะสมของกรดแลคติคจะเริ่มขึ้นเมื่อการออกกำลังกายมีระดับ  50 65 % ของสมรรถภาพในการรับออกซิเจนสูงสุดของแต่ละคน  และพบว่า  ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกจะมีการสะสมของกรดแลคติคสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึก  และในกลุ่มที่ได้รับการฝึก  จะมีการสร้าง  เอทีพี และซีพี   ขึ้นทดแทนได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก  
              ซึ่งสอดคล้องกับ   (เทเวศร์    พิริยะพฤนท์, 2523  อ้างอิงจาก Thomas, 1974)  ที่ทำการศึกษาเรื่อง  การทำงานแบบ แอนแอโรบิค ที่ระดับงานสูงสุดในผู้เข้ารับการทดลองที่มีสมรรถภาพสูง  8  คน  และ สมรรถภาพปานกลาง  8  คน  ให้ออกกำลังกายโดยการถีบจักรยานเป็นเวลา   6   นาที ที่ความหนักของงาน   70 %   ,  80 %   และ   90%ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของแต่ละคน  หลังจากงานสิ้นสุดลง  ทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ   และเจาะตัวอย่างเลือดหลังจากการออกกำลังกายแล้ว   3 ½  นาที  เพื่อวิเคราะห์หากรดแลคติค  พบว่า กลุ่มที่มีสมรรถภาพสูงจะมีกรดแลคติค  หลังการออกกำลังกายต่ำกว่ากลุ่มที่มีสมรรถภาพปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และพบว่า  กลุ่มที่มีสมรรถภาพทางกายสูง จะมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่ากลุ่มที่มีสมรรถภาพทางกายปานกลาง   นอกจากนี้ความหนักของงาน ที่เพิ่มขึ้น  จะมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของกรดแลคติคในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น