วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การฝึกเกิน หรือ Over-training

OverTrain

ฝึกเกิน หรือ Over-train การฝึกเกินทำให้ร่างกายฟื้นตัวจากการซ้อม
ไม่ทันทำให้เกิดผลย้อนกลับทางร่างกายที่เรียกว่า negative feedback เพื่อยับยั้ง
การออกแรงของร่างกายด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
- การตัดระบบพลังงานร่างกาย ซึ่งไม่ว่าโปรแกรมอาหารจะดีเพียงไร เราด้ยังมีอาการเบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย อย่างไร้สาเหตุ เนื่องจากร่างกายสั่งตัดระบบพลังงานลงนั่นเอง
- ด้านจิตใจ ทำให้ร่างกายเกิดอาการ เหนื่อย เบื่อ ท้อ เพื่อยับยั้งไม่ให้ร่างกายกลับไปฝืนยก
เหล็กอีกนั่นเอง

- อาการบาดเจ็บต่างๆที่เกิดจากการซ้อมซ้ำๆทั้งที่ร่างกายยังไม่หายดีนั่นเอง

การฝึกเกินอาจเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่างรวมกันได้แก่


1.การฝึกที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นจำนวนวันฝึกที่ถี่ไป ท่าฝึกที่มากไป จำนวนเซต
ปริมาณน้ำหนัก หรือ จำนวนครั้งที่มากเกินไป รวมทั้งการใช้เทคนิคการซ้อมที่เข้มข้นสูงเกินไปด้วย
แม้การฝึกตามตารางปกติเป็นเวลานานๆก็อาจนำไปสู่การฝึกเกินแบบสะสมได้ FREX
และโค้ชเพาะกายส่วนใหญ่แนะนำให้มี week off ซึ่งอาจจะเป็นสัปดาห์ที่หยุดฝึกไปเลย
หรือ ฝึกเบาๆในระดับวอร์มอัพ 1 ในทุกๆ 8-12 สัปดาห์ หรือเมื่อรู้สึกต้องการครับ

การคาร์ดิโอที่มากและบ่อยเกินไปทำให้เกิดการฝึกเกินได้ง่ายไม่แพ้การเวทเทรนนิ่ง
แม้การฝึกคาร์ดิโอจะไม่ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยจะเป็นจะตายเหมือนเวท แต่ก็ส่งผลต่อร่างกายเช่นกัน

2.ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี หมายรวมถึงทุกๆด้าน เช่น พลังงาน
น้อยหรือมากเกินไป สัดส่วนสารอาหารทึ่ไม่เหมาะสม การแพ้อาหารบางชนิด การดื่มแอลกอฮอล์ การอดอาหารเป็นเวลานานๆเป็นต้น อีกทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อปัจจัยอื่นๆเช่น ทำให้พักผ่อน
ไม่เพียงพอด้วย

3.ภาวะร่างกายเจ็บป่วย ร่างกายที่กำลังป่วยมีระดับพลังงานและระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำ
และเสี่ยงต่อการovertrainได้ง่ายมาก ดังนั้นผู่ที่ป่วยไม่ควรฝืนฝึกเวทด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้

4.ภาวะความเครียด ภาวะเครียด หรือ คิดมากอาจไม่แสดงอาการและผู้เป็นอาจไม่รู้สึก
และภาวะเครียดนี้ชักนำร่างกายสู่โหมดสูญสลาย catabolic ดังนั้งการต้องเผชิญความเครียด
และการฝึกหนักพร้อมกันทำให้เสี่ยงต่อการฝึกเกินได้ในระดับสูง

5.การพักผ่อน กสรพักผ่อนที่ไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และซ่อมแซมตัวเอง
ไม่ทัน ทำให้ไม่พร้อมต่อการฝึกหนักๆ ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งสามารถนำไปสู่การฝึกเกินได้


ทำอย่างไรเมื่อฝึกเกินแล้ว Overtrain?
1.หยุดพักไปเลย 1สัปดาห์หรือจนกว่าจะดีขึ้น อย่ากลัวที่จะหยุดบ้าง ให้มองในมุมว่าในเมื่อ
ซ้อมๆๆแล้วไม่ดีขึ้นแล้วจะซ้อมไปทำไม สู้หยุดแล้วเริ่มใหม่ให้ดีกว่าเดิมดีกว่า
2.ดูแลสภาวะโภชนาการให้ดีขึ้นเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ฟื้นตัว
3.พักผ่อนให้เพียงพอ และ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ฝึกเกิน
4.พยายามลดระดับความเครียด(ถ้าจำเป็น) ทำใจให้สบายมองโลกในแง่ดีและสร้าง
แรงจูงใจที่จะกลับไปซ้อมใหม่

เมื่อทราบปัจจัยและอาการต่างๆเหล่านี้ เราก็พอที่จะยับยั้งอาการฝึกเกิน Overtrain
นี้ได้ในระดับหนึ่งครับ




ข้อมูลจาก freakwhey.com

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กินอย่างไรเมื่อไขมันในเลือดสูง

กินอย่างไร เมื่อโคเลสเตอรอลในเลือดสูง

โค เลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นโรคที่มีคนไทยเป็นกันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตนเองกำลังเป็นโรคนี้ เพราะไม่มีอาการแสดงของโรคให้เห็นคนทั่วไปจึงไม่รู้เนื้อรู้ตัวกว่าจะพบก็ ต่อเมื่อไปตรวจร่างกายและมีการเจาะเลือดตรวจเท่านั้น โดยทั่วไปมักเรียกภาวะที่ร่างกายมีโคเลสเตอรอล ในเลือดสูงนี้ว่า "ไขมันในเลือดสูง" ซึ่งเป็นการเรียกให้เข้าใจง่าย แต่ไม่ถูกต้องนักและก็ไม่ผิดเช่นกัน เพราะโคเลสเตอรอลก็คือไขมันชนิดหนึ่ง ความจริงแล้วไขมันในเลือดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ไขมันที่สำคัญและกล่าวถึงบ่อยคือ โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ คนที่มีไขมันในเลือดสูงจึงอาจหมายถึงโคเลสเตอรอลสูงหรือไตรกลีเซอไรด์สูงก็ ได้ หรือทั้งโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง

โคเลสเตอรอลคืออะไร
โค เลสเตอรอลคือไขมันชนิดหนึ่ง มีความสำคัญต่อร่างกายมาก คือ เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำดี ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และยังเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์และปลอกประสาท แต่ถ้ามีมากเกินไปจะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดง และพอกพูนหนาขึ้นจนโพรงหลอดเลือดแดงแคบลง เกิดการตีบตันจนเลือดเดินทางไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญๆไม่พอเพียง จึงเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ อัมพาตจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ

โคเลสเตอรอลเป็นไขมัน โดยปกติไขมันจะไม่จับตัวกับน้ำ ดังนั้นในกระแสเลือดของคนเราจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบด้วย แต่เมื่อโคเลสเตอรอลไม่จับตัวกับน้ำโคเลสเตอรอลก็ไปจับกับโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ไลโพโปรตีน  โปรตีนชนิดนี้มีระดับความหนาแน่นแตกต่างกันคือ ต่ำมาก ต่ำและสูง ถ้าโคเลสเตอรอลที่จับกับไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่น ต่ำ ซึ่งเรียกว่า แอล-ดี-แอล (LDL) ก็จะนำโคเลสเตอรอลที่ออกมาจากตับเคลื่อนที่ไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีนัก เราจึงเรียกแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลชนิดนี้ว่าไขมันตัวไม่ดี ส่วนไลโพโปรตีน ชนิดที่มีความหนาแน่นสูง เรียกว่า เอช-ดี-แอล (HDL) กลับทำหน้าที่ดีกว่า คือเก็บเอาโคเลสเตอรอล จากเซลล์กลับไปทำลายที่ตับ จึงเรียกกันว่าเป็นโคเลสเตอรอลที่ดี ดังนั้นการตรวจเลือดหาระดับโคเลสเตอรอลที่ถูกต้อง จึงควรตรวจดูทั้งโคเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) และโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol)

โดย ปกติระดับโคเลสเตอรอลที่เหมาะสมคือ น้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของน้ำดีและการย่อยไขมันทำหน้าที่ได้ดี  รวมทั้งยัง สามารถช่วยปกป้องระบบประสาท และช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นตามที่ต้องการได้ แต่ถ้าระดับโคเลสเตอรอลรวมในเลือดสูงกว่า ๒๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยเฉพาะถ้า แอล-ดี-แอล  โคเลสเตอรอลมากกว่า ๑๓๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคหัวใจแล้ว ควรให้ค่า แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลน้อยกว่า ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับเอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดดีควรให้มีค่ามากกว่า ๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ควบคุมโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ให้สูงได้อย่างไร
การ ควบคุมอาหารที่เราบริโภคและการออกกำลังกาย เป็นกุญแจสำคัญที่สุดในการควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี การใช้ยารักษาอาจมีความจำเป็นในบางกรณีที่มีระดับไขมันในเลือดสูงมาก แต่การใช้ยาเพียงอย่างเดียวโดยไม่ควบคุมอาหารเลยจะยากต่อการทำให้ระดับไขมัน ในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ การกินอาหารเพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลไม่ให้สูงทำได้โดยการหลีกเลี่ยง อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง และลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างโคเลสเตอร อลในร่างกาย

ใน ๑ วัน เราควรกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชไม่มีโคเลสเตอรอล ขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์มีโคเลสเตอรอลในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรระวังในการกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีโค เลสเตอรอลสูงจำพวก ไข่แดง ไข่นกกระทา เครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลาหมึก เป็นต้น แต่การควบคุมอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเพียง อย่างเดียวยังไม่เพียงพอต่อการทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดลดลง  เพราะโคเลสเตอรอลที่อยู่ในเลือดส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๘๕ เป็นโคเลสเตอรอลที่สร้างขึ้นได้เองจากตับและเซลล์ในลำไส้เล็กของร่างกายคน เรา โดยโคเลสเตอรอลจะสร้างมาจากกรดไขมันอิ่มตัว ดังนั้น จึงต้องเข้าใจให้ดีว่า ควบคุมอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงแต่ไม่ควบคุมอาหารที่มีไขมันสูงก็จะประสบ ความสำเร็จได้ยากจึงควรลดการกินไขมันลง โดยเฉพาะกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในไขมันจากสัตว์ ไขมันในนม กะทิ น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ปริมาณ ไขมันที่กินใน ๑ วัน ไม่ควรเกินร้อยละ ๓๐ ของพลังงานที่ได้จากอาหาร เช่น ถ้าใน ๑ วัน ได้พลังงานจากอาหาร ๒,๐๐๐ กิโลแคลอรี ควรเป็นพลังงานจากไขมันไม่เกิน ๖๐๐ กิโลแคลอรี หรือ คิดเป็นไขมันประมาณ ๖๗ กรัม (ไขมัน ๑ กรัมให้พลังงาน ๙ กิโลแคลอรี) ไขมันจำนวนนี้ไม่ใช่ปริมาณ น้ำมันที่สามารถใช้ได้ในการประกอบอาหารทั้งหมด เพราะอย่าลืมว่าเรายังได้ไขมันจากอาหารเนื้อสัตว์ต่างๆ ด้วย เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันโดยเฉลี่ย ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๕ กรัม) มีไขมัน ๒-๓ กรัม ดังนั้น ถ้าเรากินเนื้อสัตว์วันละ ๑๐ ช้อนโต๊ะหรือ ๑๕๐ กรัม จะได้รับไขมัน ๒๐-๓๐ กรัมแล้ว จึงเหลือเป็นไขมันที่ใช้ในการประกอบอาหารได้ประมาณ ๔๐ กรัม หรือ ๘ ช้อนชา ปริมาณนี้ใกล้เคียงกับน้ำมันที่ใช้ในการผัดซีอิ๊วหรือข้าวผัด ๑ จาน ดังนั้นคนที่มีโคเลสเตอรอลสูงควรเลือกกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ มากกว่า อาหารทอดหรือผัด นอกจากนี้ น้ำมันที่ใช้ควรเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เพราะไม่ทำให้โคเลสเตอรอลสูงขึ้น เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะกอก เป็นต้น

คน มีโคเลสเตอรอลสูงควรหลีกเลี่ยงอาหาร เบเกอรีที่ใช้เนยขาวหรือเนยเทียมเป็น ส่วนประกอบจำนวนมาก ทั้งนี้ เพราะไขมันที่อยู่ในเนยเหล่านี้เป็นไขมันที่เราเรียกว่า กรดไขมันชนิดทรานส์ (trans fatty acid) ที่ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น และพบว่ามีผลเสียต่อสุขภาพมากยิ่งกว่ากรดไขมันชนิดอิ่มตัวเสียอีก โครงสร้างของไขมันชนิดทรานส์พบในอาหารที่ผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนชัน ซึ่งทำให้น้ำมันพืชที่มีลักษณะเป็นของเหลวเปลี่ยนเป็นเนยที่มีลักษณะแข็ง ดังนั้นการโฆษณาว่าเป็นเนยที่ทำจากน้ำมันพืช คุณภาพดี ไม่มีโคเลสเตอรอลก็ตาม แต่ถ้าผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนชันก็จะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่นกัน นอกจากเรื่องไขมันที่คนมีโคเลสเตอรอลสูงควรระวังแล้ว อาหารอื่นๆ สามารถกินได้ตามปกติ โดยเฉพาะควรหันมากินข้าวกล้องและเพิ่มอาหารพวกผักใบต่างๆ และผลไม้ที่ให้ใยและกาก เช่น   คะน้า ผักกาด ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก เป็นต้น เพื่อให้ร่างกาย ได้รับกากใยอาหารมากขึ้น กากใยเหล่านี้ช่วยให้การดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง และช่วยลดโคเลสเตอรอลได้ สำหรับเนื้อสัตว์ควรกินเนื้อปลามากกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เพราะไขมันในปลามีคุณภาพดีกว่า ถ้าเป็นไปได้ควรกินโปรตีนจากพืชสลับด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง คนที่ดื่มนมควรดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด





นอก จากเรื่องอาหารแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำครั้งละ ๒๐-๓๐ นาที สัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะนอกจากช่วยเผาผลาญไขมันแล้ว ยังช่วยทำให้โคเลสเตอรอลชนิดดีหรือ เอช-ดี-แอล เพิ่มขึ้นได้ การงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีส่วนทำให้โคเลสเตอรอลชนิดดีเพิ่ม ขึ้นด้วย สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือภาวะอ้วน การลดน้ำหนักลงบ้างจะทำให้การควบคุมโคเลสเตอรอลดีขึ้น

ท้ายนี้การควบ คุมระดับโคเลสเตอรอลไม่ให้สูง เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองมีระดับไขมันในเลือดเท่าไร ลองหาโอกาสตรวจเลือดวัดระดับไขมันสักครั้ง เพื่อรู้ทันไขมันของตนเอง และจะได้บริโภคอาหารได้เอร็ดอร่อยโดยไม่ส่งผลต่อสุขภาพ

ที่มา : อาหารกับการบำบัดภาวะไขมันสูงในเลือด โดย วิชัย ตันไพจิตร และคณะ

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย เพื่อผิวหน้าสวย

9 สูตรสมุนไพร เพื่อผิวหน้าสวย (Mother & Care)




อย่าปล่อยให้ผิวหม่นหมอง ไม่ผ่องใส เพราะขาดการใส่ใจดูแล แม้จะมีลูกด้วย ก็หาเวลาดูแลผิวหน้าให้สวยใสได้ ด้วยสูตรสมุนไพรธรรมชาติเหล่านี้ ขอกระซิบว่าปลอดภัยแท้ ๆ แม้เครื่องสำอางราคาแพงก็ยังสู้ไม่ได้ค่ะ อย่าปล่อยให้ผิวหม่นหมอง ไม่ผ่องใส เพราะขาดการใส่ใจดูแล แม้จะมีลูกด้วย ก็หาเวลาดูแลผิวหน้าให้สวยใสได้ ด้วยสูตรสมุนไพรธรรมชาติเหล่านี้ ขอกระซิบว่าปลอดภัยแท้ ๆ แม้เครื่องสำอางราคาแพงก็ยังสู้ไม่ได้ค่ะ



1. สูตรกระชับรูขุมขน ส่วนผสม น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ ผสมไข่ขาว 1 ฟอง คนให้เข้ากัน ทาทั่วหน้า เว้นรอบดวงตา นวดเบา ๆ 5 นาที แล้วทิ้งไว้ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็นจัด ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์



2. สูตร ผิวเนียนนุ่ม ส่วนผสม ฝักทอง ½ ถ้วย มะละกอ ½ ก้วย ไข่ไก่ 1 ฟอง ผสมเข้ากัน ล้างหน้าให้สะอาด ชับพอหมาด นำส่วนผสมพอกให้ทั่วหน้า เว้นรอบดวงตา พอกทิ้งไว้ 20-30 นาที แล้วใช้สำลี ชุบน้ำอุ่นเช็ดออก ทำอาทิตย์ละครั้ง



3. สูตรขจัดสิวเสี้ยน ส่วนผสม มะเขือเทศ 1 ลูก สเตอเบอรี่ 5 ลูก น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้ากันทาหน้า เว้นรอบดวงตา นวดเบา ๆ บริเวณที่มีสิวเสี้ยน 10 – 15 นาที เช็ดออก ล้างหน้าด้วยน้ำเย็น ทำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์



4. สูตรลดความหมองคล้ำ ส่วนผสม มะเขือเทศ 1 ลูก น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ นมสด 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้ากันทาทั่วหน้า ขัดเบา ๆ 10-15 นาที เช็ดออก ล้างด้วยน้ำเย็น ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์



5. สูตรขจัดเชลล์ผิวเก่า ส่วนผสม บร็อกโคลีหั่นละเอียด ½ ถ้วย นมสด ½ ถ้วย ผสมเข้ากันทาทั่วหน้า เว้นรอบดวงตา ขัดเบา ๆ พอกทิ้งไว้ 20-30 นาที เช็ดออก ล้างด้วยน้ำเย็น ซับหน้าให้แห้ง ทาครีมบำรุงทับอีกครั้ง ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์



6. สูตรผิวขาว เรียบเนียน ส่วนผสม มะละกอสุกงอม 1 ถ้วย นมสด ½ ถ้วย น้ำส้มคั้น 2 ช้อนโต๊ะ ปั่นเข้ากันทาทั่วหน้า เว้นรอบตา พอกทิ้งไว้ 40-50 นาที ล้างออก ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์



7. สูตรผิวชุ่มชื้น ใสปิ๊ง ส่วนผสม วุ้นว่านหางจระเข้ 1 ถ้วย มะม่วงสุก ½ ถ้วย น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้ากันพอกหน้าบาง ๆ ก่อนเข้านอน ทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นตอนเช้า ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์



8. สูตรลดผิวแสบร้อน ส่วนผสม คั้นน้ำแตงโม ½ ถ้วย ผสมนมสด ½ ถ้วย คนเข้ากันทาทั่วผิวที่โดนแดดทิ้งไว้ 30 นาที ใช้สำลีชุบน้ำเย็นจัด เช็ดออก หรือใช้เนื้อแตงโมสดถูผิวที่โดนแดด ทิ้งไว้จนแห้งแล้วใช้น้ำเย็นล้างออกก็ได้เช่นกันค่ะ



9. สูตรผิวกระจ่างใส ส่วนผสม แอปเปิลหั่นชิ้น 1 ลูก น้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ ปั่นเข้ากัน ทาทั่วหน้า เว้นรอบดวงตา พอกทิ้งไว้ 20-30 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็น ทำสัปดาห์ละครั้ง



วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภัยแฝงจากการกินโปรตีนมากเกินไป

เนื้อสัตว์และนมเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ในอาหารพวกนี้นอกจากโปรตีนแล้วยังประกอบด้วยไขมันปริมาณมาก ซึ่งไขมันนั้นเป็นแหล่งสะสมของสารพิษ ดังนั้นจึงหมายถึงร่างกายเราจะมีสารพิษในปริมาณมากขึ้นด้วย

การบริโภคอาหารประเภทโปรตีนปริมาณมากจะทำให้ร่างกายมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น (สภาพที่แท้จริง ร่างกายควรมีสภาพเป็นด่างเล็กน้อย) ซึ่งจะกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เนื่องจากร่างกายจะทำงานได้ต้องอาศัยสภาพความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสม ร่างกายจึงต้องมีกลไกการควบคุมความเป็นกรด-ด่าง หรือที่เรียกว่า pH-balance ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ควบคุมกลไกดังกล่าวคืออาหารที่เราบริโภค

เมื่อเรากินอาหาร ร่างกายจะทำการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นขบวนการย่อยแล้ว อาหารจะถูกเปลี่ยนสภาพให้มีลักษณะคล้ายขี้เถ้าซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่างต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่เรารับประทาน

อาหารที่มีซัลเฟอร์ คลอไรด์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส จะถูกเปลี่ยนเป็นขี้เถ้าที่มีสภาพเป็นกรด เนื่องจากซัลเฟอร์จะถูกเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริก ฟอสฟอรัสจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดฟอสฟอริก ซึ่งกรดทั้งสองชนิดนี้จะต้องผ่านขบวนการทำให้เป็นกลางก่อนที่ร่างกายจะขับออกจากไตผ่านทางปัสสาวะ ส่วนไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดยูริกและถูกขับออกจากไตผ่านทางปัสสาวะและจากผิวหนังผ่านทางเหงื่อ ซึ่งอาหารประเภทโปรตีนโดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีสารพวกนี้สูง

ธาตุโซเดียม แคลเซียม โพทัสเซียม แมกนีเซียม จะมีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งจะช่วยลดความเป็นกรด ธาตุเหล่านี้พบจำนวนมากในพืชชนิดต่างๆ เมื่อเรากินพืช ร่างกายจะพยายามเก็บแร่ธาตุเหล่านี้ไว้เพื่อคงสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย

ร่างกายของเราสามารถจัดการปรับสมดุลกรด-ด่างในภาวะที่ร่างกายเป็นกรดไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามการที่เราบริโภคอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นกรดอยู่เป็นประจำเรื่อยๆ ร่างกายก็จะสูญเสียแร่ธาตุที่มีฤทธิ์เป็นด่างไปในขบวนการลดความเป็นกรด ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนัก และถ้าเป็นต่อเนื่องกันในระยะยาว จะก่อให้เกิดความเสื่อมแก่เซลล์ในส่วนต่างๆ

หลายคนไม่ทราบว่าขณะนี้ตนกำลังมีภาวะเป็นกรดในร่างกายมากเกินไป เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นไม่ถึงกับเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต แต่ในระยะยาวแล้วภาวะกรดเกินในร่างกายจะทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่มีค่าเป็นด่าง เช่น แคลเซียม โพทัสเซียม แมกนีเซียม (แร่ธาตุเหล่านี้มีมากในกระดูก) ดังจะเห็นได้จากมีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ข้อเสื่อม ตลอดจนมีการตกตะกอนของแคลเซียมเนื้อเยื่อต่างๆเช่น เกิดนิ่วที่ไต หรือเป็นเก๊าท์ ความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ เซลล์ทำงานได้ลดลง

อาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาพเป็นกรดคือ พวกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว หมู ไก่ ปลา นม ไข่ หรือแม้แต่พวกถั่วซึ่งเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดี ส่วนพวกผัก-ผลไม้ส่วนใหญ่จะทำให้ร่างกายมีสภาพเป็นด่าง



แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง และเนื่องจากนมเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียม หลายคนจึงนิยมดื่มนม แต่ที่จริงแล้วนมนอกจากจะมีแคลเซียมในปริมาณสูงแล้วยังมีโปรตีนสูงอีกด้วย ในนม 1 แก้วประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 20 กรัม หากคุณดื่มนมวันละ 3 แก้ว คุณจะได้รับโปรตีนมากถึง 60 กรัม(ซึ่งมากกว่าความต้องการโปรตีนของร่างกายภาย) ทำให้เกิดกลไกการดึงแคลเซียมออกจากร่างกายในปริมาณมากเช่นเดียวกัน และนี่คือเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมคนที่ดื่มนมปริมาณถึงยังมีภาวะกระดูกพรุน



การบริโภคโปรตีนมากเกินไป จะทำให้ไตต้องทำงานหนักเพราะต้องกำจัดไนโตรเจนออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมมากขึ้นทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน และในความเป็นจริงแล้วการบริโภคโปรตีนในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกายมิได้ก่อให้เกิดการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ (การออกกำลังที่ต้องจึงจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง)