วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย

              ขณะออกกำลังกายหนักร่างกายสามารถผลิตความร้อนมากกว่าขณะพักผ่อนถึงประมาณ  20 – 30  เท่า  ร่างกายจะเกิดการหลั่งเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกนอกร่างกาย โดยที่จะเกิดความสมดุลเมื่อผลิตความร้อน เท่ากับความร้อนที่ระบายออก ดังนั้นความร้อน  และความเย็นของอากาศบริเวณที่ฝึก จึงมีความสำคัญต่อการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย  และประสิทธิภาพในการทำงาน
   
              จากงานวิจัยของ            เพ็ญจันทร์  ศรีสุขสวัสดิ์ (2518)  ได้ศึกษาถึงอิทธิพลของความร้อนและความเย็นที่มีต่อการฝึกกล้ามเนื้อ โดยฝึกงอข้อมือ และเหยียดข้อมือ 120 ครั้ง/นาที ในตู้ปรับอากาศร้อน  ตู้ปรับอากาศเย็น และตู้ปรับอากาศธรรมดา ฝึก 4 สัปดาห์ ๆ ละ  4  วันๆ ละ 1 นาที นำผลการทดสอบไปหาค่าทางสถิติโดยการทดสอบค่า “ ที ” (t – test) พบว่า อากาศแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการฝึกกล้ามเนื้อ โดยที่สภาพอากาศแวดล้อมที่ร้อนกว่าปกติให้ผลในเชิงส่งเสริมการฝึก เห็นได้จากความสามารถในการทำงานมีมากกว่าการฝึกในอากาศปกติ



 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น