วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความดันโลหิตต่ำ


ความดันโลหิตต่ำ ( Hypotension )
โรคความดันโลหิตต่ำพบน้อยกว่าโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำมีอันตรายน้อยกว่าผู้ที่ความดันโลหิตสูง และมีการดำเนินชีวิตที่สบายกว่า
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำจะวัดได้ดังนี้ สำหรับชายและผู้หญิง Systolic Pressure 80-100 มม.
ปรอท Diastolic Pressure 50-60 มม. ปรอท สาเหตุของความดันโลหิตต่ำ ยังไม่มีคำอธิบายที่
แน่นอน แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุกรรมหรือเป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ทราบสาเหตุแน่นอนเรียก ว่า
Idiopathic Hypotension

อาการ

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีความดัน โลหิตต่ำ มักไม่มีอาการอะไรมากนัก อาการสำคัญคือ
จะมีอาการเวียนหัวง่าย เวลาลุกขึ้นยืนเร็วๆ เช่นเวลานั่งยองๆ แล้วลุกขึ้นยืน หรือกำลังนอนอยู่
แล้วลุกขึ้นเร็วๆ จะเกิดอาการเวียนหัวเป็นครั้งคราวชั่วระยะหนึ่ง แล้วบางครั้งก็ดูปกติดีแต่ถ้า
อดนอนหรือนอนไม่พอก็จะมีอาการเวียนหัวและอ่อนเพลียด้วย

เมื่อเปลี่ยนจากท่านอนเป็นลุกขึ้นนั่งหรือยืน จะมีอาการหน้ามืดวิงเวียนจะเป็นลมเนื่องจากเลือดไปเลี้ยง
สมองไม่พอ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลายร่วมด้วย แต่สักครู่หนึ่งก็หายเป็นปกติ

การวัดความดันโลหิต มักพบว่าความดันซิสโตลิก (ช่วงบน) ที่วัดในท่ายืนต่ำกว่าท่านอนมากกว่า 30
มิลลิเมตรปรอท เช่น ในท่านอนวัดได้ 130/80 แต่ในท่ายืนจะวัดได้ 90/60


การรักษา

รักษาตามสาเหตุ
- ถ้าไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจต้องตรวจเลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ ที่จำเป็น
- ควรแนะนำให้ลุกขึ้นนั่งหรือยืนช้า ๆ อย่าลุกพรวดพราด เพื่อให้ร่างกายปรับตัว
- ออกกำลังกายบ้าง เพื่อช่วยให้หัวใจแข็งแรง
- ถ้ามีปัญหาเรื่องขาดอาหาร ก็ควรให้สารอาหารชดเชย
- กรดโฟลิคจากน้ำผึ้งช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
- กรดอะมิโนในสาหร่ายเกลียวทองเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผนังเส้นเลือดและระบบ ประสาทอัตโนมัติ
- วิตามิน เกลือแร่ ในว่านหางจระเข้ช่วยให้เกิดสมดุลของความดันโลหิต
- วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม ธาตุเหล็กและกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย
- วิตามินอีในเมล็ดทานตะวันช่วยลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง 



วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับ


ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ตั้งอยู่บริเวณใต้ชายโครงขวาของช่องท้อง และเลยมาถึงยอดอก ตับแบ่งออกเป็น 2 พู พูข้างขวาจะเล็กกว่าพูข้างซ้าย ใต้พูใหญ่ด้านขวาจะมีถุงน้ำดีติดอยู่ ตับมีหน้าที่มากมายพอสรุปได้ดังนี้
    1. สร้างน้ำดี ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารและเป็นตัวขับของเสียจำพวกโคเลสเตอรอล
    2. สะสมคาร์โบไฮเดรตไว้ในรูปของไกลโคเจนเมื่อร่างกายต้องการใช้จะปล่อยเข้ากระแสเลือดในรูปของกลูโคส
    3. สร้างกรดอะมิโนและโปรตีนในพลาสม่า และช่วยกำจัดโปรตีนที่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ โดยขับออกทางไต
    4. สังเคราะห์โปรทรอมบิน
    5. เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดงในทารกขณะอยู่ในครรภ์
    6. เป็นที่เก็บสะสมวิตามินเอ และวิตามินดี ธาตุเหล็กและทองแดง
    7. ทำลายสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกาย
โรคของตับที่พบบ่อย คือ โรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส และ โรคตับแข็ง
    1. โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส สาเหตุที่พบบ่อย คือ
      1. เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ การติดต่อที่สำคัญ คือ จากอุจจาระสู่ปาก โดยเชื้อที่ออกมากับอุจจาระปนเปื้อนกับอาหารที่กินเข้าไป อาจโดยการใช้มือไม่สะอาดที่มีเชื้อไวรัสดังกล่าวติดอยู่ ปรุงอาหารหรือหยิบจับอาหาร
1.2 เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เป็นเชื้อที่มีอันตรายมากที่สุด เนื่องจากอาจทำให้เป็นโรคเรื้อรัง จนทำให้เป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ ติดต่อโดยทางเลือดหรือน้ำต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด เหงื่อ น้ำตา น้ำนม เป็นต้น
1.3 เชื้ออไวรัสตับอักเสบไม่ใช่ เอ และ บี การติดต่อที่สำคัญ คือ การถ่ายเลือดแต่อาจติดต่อได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ บี
อาการ ไม่ว่าจะเกิดเชื้อไวรัสชนิดใดจะคล้ายคลึง โดยแบ่งออกเป็นระยะๆ ได้ดังนี้
    ระยะฟักตัว เป็นระยะที่ได้รับเชื้อแต่ยังไม่มีอาการ
    • ระยะก่อนดีซ่าน จะเริ่มมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และอาการปวดตื้อๆ ที่ชายโครงขวา แต่ยังไม่มีอาการดีซ่าน
    • ระยะดีซ่าน จะเริ่มมีตัวเหลือง ตาเหลือง
    • ระยะพักฟื้น อาการดีซ่านจะหายไป แต่อาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเจ็บใต้ชายโครงขวา
    1. โรคตับแข็ง คือ โรคที่มีการทำลายโครงสร้างของตับและเนื้อตับ แล้วมีเนื้อเยื่อเกี่ยวกับพังผืดเกิดขั้นมาแทนที่ สาเหตุที่สำคัญคือ
    1. เมื่อตับถูกทำลายจากโรคตับอักเสบโดยไวรัส
    2. พิษสุราหรือแอลกอฮอล์
    3. การคั่งของน้ำดีและโรคของท่อน้ำดี
    4. สาเหตุอื่น เช่น ทุพโภชนาการ โรคเกี่ยวกับหัวใจ พยาธิ สารเคมี ฯลฯ
อาการ เริ่มด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืด น้ำหนักลด ปวดท้องบริเวณใต้สิ้นปี่ และชายโครงด้านขวาบวม ต่อมาจะมีอาการท้องมานน้ำ เท้าบวมขาบวม อาเจียนเป็นเลือด ดีซ่าน ฝ่ามือแดง ผิวหนังอาจมีหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังพอง มีลักษณะเป็นจุดแดงสดตรงกลางและมีหลอดเลือดฝอยเล็กๆ แผ่ออกไปรอบด้านเป็นวงกลมเรียกว่าไฝแมงมุม
อาหาร เป็นสิ่งสำคัญในการรักษา เนื่องจากระยะแรกของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทำให้กินอาหารได้น้อยลง การจัดอาหารควรยึดหลักดังนี้
    1. จัดอาหารให้ดูน่ารับประทาน
    2. ควรจัดอาหารเป็นมื้อย่อยๆ วันละ 5-6 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยรับประทานได้ดีกว่าจัดเป็นมื้อใหญ่ 3 มื้อ
    3. ในระยะแรกควรให้อาหารเหลวชนิดดื่มได้ก่อน จะช่วยได้มาก เช่น สูตรอาหารสำเร็จรูปต่างๆ เช่น pregestimil, ensure เป็นต้น หรืออาจเพิ่มแคลอรีในรูปของน้ำหวานก็ได้
    4. ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากๆ ต้องพิจารณาให้อาหารทางหลอดเลือดดำแล้วแต่จะเห็นสมควร การให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ก็ต้องให้ fat emulsion และสารละลาย amino acid ควบคู่กับสารละลาย glucose เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
การให้อาหารที่มีคุณค่าโภชนาการ จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น
ปริมาณสารอาหารสำหรับบำบัดผู้ป่วยโรคตับ
    1. พลังงาน ควรได้รับปริมาณวันละ 2,500 – 3,500 แคลอรี
    2. โปรตีน ควรได้รับ 1.5 - 2.0 กรัม/น้ำหนักตัว เป็น กิโลกรัม/วัน หรือปริมาณวันละ 75 - 100 กรัม หรืออาจถึง 150 กรัม โดยใช้แหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เพราะโปรตีนจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของตับให้กลับเข้าสู่สภาพปกติ
    3. ไขมัน ให้พอประมาณ คือ 25 - 35 % ของแคลอรีทั้งหมดที่ได้ใน 1 วัน นอกจากจะมีความผิดปกติของการย่อยไขมันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลเสียเนื่องจากตับสร้างน้ำดีได้น้อยลง หรืออาหารไขมัน ทำให้เกิดอาการแน่น อึดอัด และคลื่นไส้ ก็อาจลดปริมาณไขมันลงได้
    4. คาร์โบไฮเดรต ควรได้รับประมาณวันละ 300 - 500 กรัม ทั้งนี้เพื่อให้มีแคลอรีเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเพื่อเปิดโอกาสให้โปรตีนที่กินเข้าไปสามารถนำไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สูญเสียไปขณะเจ็บป่วยและเพื่อให้มีไกลโคเจนสะสมในเนื้อเยื่อของตับมากขึ้น อันเป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อของตับถูกทำลาย
ตาราง การแบ่งพลังงานที่ควรได้รับ
พลังงาน
คาร์โบไฮเดรต
โปรตีน
ไขมัน
(กิโลแคลอรี)
%
กรัม
%
กรัม
%
กรัม
2,500
60
375
15
94
25
69
3,000
60
450
15
113
25
83
3,500
60
525
15
131
25
97

ตาราง การกำหนดส่วนอาหารต่างๆ ที่ควรบริโภคใน 1 วัน
พลังงาน
นมขาดมันเนย
เนื้อสัตว์
ผัก
ผลไม้
ข้าว/ธัญพืช
ไขมัน
น้ำตาล
(กิโลแคลอรี)
(ส่วน)
(ส่วน)
(ส่วน)
(ส่วน)
(ส่วน)
(ส่วน)
(ส่วน)
2,500
1
6.5
6
8
10
7
13
3,000
1
8
6
10.5
12
8
15
3,500
1
10
10
12
12
9
21


ตาราง อาหารที่รับประทานได้กับอาหารที่ควรควบคุม / ลด / งด
อาหาร
อาหารที่รับประทานได้
อาหารที่ควรควบคุม/ลด/งด
ขนมปัง, ธัญญพืช
ขนมปังปอนด์ธรรมดา โรลธรรมดา ข้าวชนิดต่างๆ ขนมจีน สปาเกตตี ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ข้าวโพด มันชนิดต่างๆ ขนมปังทอด ขนมปังอบเนย มันทอด เผือกทอด โดนัท
เนื้อสัตว์ต่างๆ
เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ไม่มีมันและหนัง เนื้อปลา กุ้ง ปู หอย เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีมันและหนัง เนื้อกระป๋องมีน้ำมันหรือไขมัน ไส้กรอกชนิดต่างๆ กุนเชียง แฮม เบคอน แหนม หมูยอ
ไขมัน
น้ำมันพืช ปริมาณตามที่กำหนดไว้ น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันปาล์ม เนย ครีม
ผัก
ผักสด ผักต้ม-นึ่ง ผักกระป๋อง (ผักที่ผัดต้องใช้น้ำมันเท่าที่กำหนดไว้) ผักที่ใช้น้ำมันทุกชนิดที่ไม่ได้คำนวณปริมาณน้ำมันตามที่กำหนด
ผลไม้
ผลไม้สด ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้ อะโวคาโด(Avacado)
อาหารหวาน
ขนมไข่ ขนมปุยฝ้าย พุดดิ้งธรรมดาทำด้วย น้ำนมไม่มีไขมัน วุ้นธรรมดา หวานเย็นทำจากน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ อาหารหวานใส่น้ำเชื่อมและน้ำตาล น้ำแข็งกดใส่น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ ขนมหวานที่เชื่อม เช่น มันเชื่อม เผือกเชื่อม ฟักทองเชื่อม ลอยแก้วหรือรวมมิตร เช่น ลูกตาลลอยแก้ว ลูกบัวลอยแก้ว ลูกเดือยลอยแก้ว หรือผลไม้ลอยแก้ว อาหารหวานที่ใส่มะพร้าวขูด กะทิ มะพร้าวอ่อน ขนมเค้กชนิดต่างๆ คุกกี้ ไอศกรีม ขนมทอด
เครื่องดื่ม
ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำข้าว น้ำนมไม่มีไขมัน นมผงไม่มีไขมัน นมเปรี้ยวที่ทำจากน้ำนมไม่มี ไขมัน น้ำหวาน น้ำ ผลไม้สด น้ำผลไม้ปั่น ครีม น้ำนม และนมผงธรรมดา เครื่องดื่มใส่นม
ของหวาน
ลูกกวาด แยม เยลลี่ เจลลี่ น้ำตาล น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง ลูกกวาดที่ใส่น้ำนม ครีม ช็อกโกแลต เนย กะทิ
เครื่องปรุงรส
ทุกชนิด
-


อาหาร
อาหารที่รับประทานได้
อาหารที่ควรควบคุม/ลด/งด
น้ำพริก
น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาทูปิ้งน้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกมะเขือยาว น้ำพริกนรก น้ำปลาหวานสะเดา น้ำพริกมะขามสด น้ำพริกอ่อง น้ำพริกลงเรือ
* น้ำพริกที่ผัดต้องใช้น้ำมันพืชในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น
น้ำพริกเผาที่ผัดใส่น้ำมันมาก หลนปลาเจ่า หลนเต้าเจี้ยว หลนแหนม หลนแฮม หลนปู หลนปลาร้า น้ำพริกมะขามใส่กากหมู
* น้ำพริกที่่ใช้น้ำมัน/กะทิในการประกอบอาหารจำนวนมาก
แกงจืด / ต้มยำ
แกงจืดวุ้นเส้น แกงจืดรวมมิตร แกงจืดหน่อไม้ แกงจืดมะระสอดไส้ แกงเลียง แกงจืด ผักกาดดอง ต้มจับฉ่าย ต้นโคล้ง ต้มยำต่างๆ
* แกงจืด / ต้มยำ ควรใช้เนื้อสัตว์ที่ไม่มีมัน และหนัง
ต้มกะทิฟักเขียว ต้มกะทิสายบัว ต้มข่าไก่
* ต้มชนิดต่างๆ ที่ใส่กะทิ
ยำ
ยำวุ้นเส้น ยำรวมมิตร ยำมะม่วง ยำเนื้อย่าง ยำหมูย่าง ยำผักสด ยำใหญ่ แสร้งว่า
* เนื้อสัตว์ที่นำมาประกอบอาหารต้องไม่มีมันและหนัง ควรนำมาลวกหรือย่างแทนการทอด
* ไม่ควรใช้กะทิประกอบอาหาร
ยำที่ใช้กะทิเป็นส่วนผสม เช่น ยำทวาย ยำถั่วพู ยำหัวปลี ยำหนังหมู
แกงเผ็ด / แกงส้ม
แกงส้มทุกชนิด เช่น แกงส้มผักบุ้ง แกงส้ม แตงโมอ่อน แกงส้มผักกระเฉด แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค แกงส้มผักรวม
แกงเหลือง แกงป่า ผัดพริกขิง แกงอ่อมไก่ ต้มส้มปลาทูสด-ปลาตะเพียน
* แกงเผ็ด-แกงป่า ต้องใช้น้ำมันพืชในปริมาณที่กำหนด
แกงที่ใช้กะทิเป็นส่วนผสม เช่น แกงเขียวหวาน แกงบอน แกงกะหรี่ แกงขี้เหล็ก แกงพะแนง แกงฉู่ฉฉี่แกงมัสมั่น และที่ใช้น้ำมันพืชเป็นส่วนผสมมาก เช่น แกงฮังเล
ผัดที่ใช้น้ำมันปริมาณที่เกินกำหนด
ผัด
ผัดผักต่างๆ
* ใช้เนื้อสัตว์ที่ไม่มีมันและหนัง
* ใช้น้ำมันพืชในปริมาณที่กำหนด
ผัดที่ใช้น้ำมันปริมาณที่เกินกำหนด


อาหาร
อาหารที่รับประทานได้
อาหารที่ควรควบคุม/ลด/งด
อาหารจานเดียว
ข้าวเหนียว ส้มตำ เนื้อเค็มปิ้งปลาปิ้งไก่ปิ้ง (ไม่เอาหนัง) หมูปัง
ข้าวราดหน้าไก่ ข้าวอบเผือก ข้าวผัดสับปะรด ข้าวหมูแดง (ไม่ใส่หมูกรอบและกุนเชียง) ข้าวกระดูกหมูเปรี้ยวหวาน ข้าวคลุกกะปิ- หมูหวาน (ใช้หมูเนื้อไม่ปนมัน) ข้าวแช่ ข้าวผัดต่างๆ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับ ก๋วยเตี๋ยวหลอด บะหมี่น่องไก่ (ไม่เอาหนัง) ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมูตุ๋น หมูสด ข้าวต้มปลา ข้าวต้มทะเล (ไม่ใส่หัวกุ้ง) โจ๊กหมู ไก่ ขนมจีนน้ำยาป่า สุกี้ยากี้ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น
* อาหารที่ไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
* อาหารจำพวกผัดต่างๆ ต้องใช้น้ำมันในปริมาณที่กำหนด
ข้าวมันไก่ ข้าวมัน ข้าวขาหมู หมี่กะทิ ก๋วยเตี๋ยวแขก สลัดแขก ขนมจีนน้ำพริก-น้ำยา ขนมจีนซาวน้ำ หอยแมลงภู่ทอด
* อาหารที่ใช้น้ำมันจำนวนมากในการประกอบอาหาร
* อาหารที่ใช้มะพร้าวหรือกะทิ
อาหารอื่นๆ
ปลานึ่ง-ผักสุก น้ำจิ้ม ลาบปลา (ใช้เนื้อปลานึ่งหรือย่าง) กุ้งพล่า (ใช้แต่เนื้อกุ้งไม่เอาหัวกุ้ง) หมูปิ้ง ปลาปิ้ง อาหารจำพวกทอด / อาหารที่ใช้กะทิ
ขนมต่างๆ
ขนมน้ำดอกไม้ วุ้นน้ำหวาน ขนมปุยฝ้าย ขนมสาลี่ ขนมถ้วยฟู ฟักทองเชื่อม มันเชื่อม กล้วยเชื่อม เผือกเชื่อม ของเชื่อมทุกชนิด แต่ต้องไม่ราดกะทิ
หวานเย็น/ลอยแก้ว เช่น ลูกเดือย ลูกตาล ลูกจาก ถั่วแดง ถั่วดำ ผลไม้ลอยแก้ว
ขนมหวานทุกชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของมะพร้าวหรือกะทิ เช่น มันต้มน้ำตาล ถั่วเขียวต้ม น้ำตาล
ขนมหวานที่มีส่วนผสมของมะพร้าวหรือกะทิ เช่น วุ้นกะทิ ตะโก้ ขนมสอดไส้ สังขยา ข้าวเหนียวมูน ขนมเม็ดขนุน ขนมชั้นขนมผิง ขนมดอกลำดวน ขนมอาลัว ขนมหม้อแกง ข้าวต้มมัด เผือกกวน กล้วยกวน ฟักทองกวน ถั่วกวน ถั่วดำแกงบวด กล้วยบวดชี ฟักทองแกงบวด ขนมบัวลอย ปลากริมไข่เต่า ครองแครงกะทิ เป็นต้น
ขนมที่ทอดทุกชนิด เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ไข่หงส์ ขนมเบื้อง เผือกฉาบ มันฉาบ กล้วยฉาบ โดนัท คุกกี้ เค้กต่างๆ


ข้อแนะนำการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคตับ
  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย
  2. กินไขมัน และนน้ำมันในปริมาณที่กำหนด
  3. กินผักให้มากและผลไม้เป็นประจำ
  4. หลีกเลี่ยงการกินอาหารมัน อาหารทอด และอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ มะพร้าว เนย
  5. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  6. ถ้าซื้ออาหารนอกบ้านรับประทาน ควรเลือกร้านที่สะอาด ผู้ปรุงแต่งกายสะอาด และเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้
  7. ควรป้องกันการแพร่เชื้อโดยการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะในส่วนที่ถูกสุขลักษณะ ล้างมือให้สะอาด หลังถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ และก่อนกินอาหารทุกครั้ง และห้ามทำหน้าที่เกี่ยวกับการเตรียมหรือ ปรุงอาหาร ภาชนะที่ใช้ต้องต้มทำความสะอาดให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการกระทำอันอาจทำให้ติดต่อได้ เช่น การใช้มีดโกนหนวดร่วมกัน การใช้ภาชนะร่วมกัน การใช้สิ่งของร่วมกัน เป็นต้น
  8. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  9. ตรวจสุขภาพทุกครั้งที่แพทย์นัด

โดย นางสาวดุจฤดี คำสอน
         นักโภชนาการ 7ว


วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus)

เบาจืด (Diabetes Insipidus) เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมบางวันเราถึงรู้สึก กระหายน้ำมากผิดปรกติ แถมยังอยากเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ทุกครึ่ง หรือ หนึ่งชั่วโมงด้วย บางคนอาจคิดว่าเป็นเพราะ ดื่มน้ำมากก็เลยฉี่บ่อย นั่นอาจจะเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า มันอาจจะมีอะไร ที่มากกว่านั้นก็ได้

เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมบางวันเราถึงรู้สึก กระหายน้ำมากผิดปรกติ แถมยังอยากเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ทุกครึ่ง หรือ หนึ่งชั่วโมงด้วย บางคนอาจคิดว่าเป็นเพราะ ดื่มน้ำมากก็เลยฉี่บ่อย นั่นอาจจะเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า มันอาจจะมีอะไร ที่มากกว่านั้นก็ได้

การที่เรารู้สึก อยากเข้าห้องน้ำบ่อยผิดปรกตินั้น สาเหตุส่วนใหญ่ น่าจะมาจากอากาศเย็น หรือดื่มน้ำมากไป ซึ่งการที่เรา ดื่มน้ำมากไปเนี่ย ก็เนื่องมาจากการที่เรากระหายน้ำ และถ้าเป็น ช่วงหน้าร้อนหรือวันที่อากาศร้อน ๆ ก็คงไม่แปลก ที่เราจะหิวน้ำมาก แต่ในวันที่อากาศเย็น และเราไม่ได้เสียเหงื่อ นี่ซิคะ หากมีความอยากน้ำมาก มันก็น่าแปลก หากคุณ กำลังมีอาการเช่นนี้ ระวังหน่อยนะคะ เพราะคุณอาจจะกำลัง เป็นเบาจืดอยู่ก็ได้
เบาจืด คืออะไร ?

หลาย คนอาจจะไม่รู้จักเบาจืด แต่ถ้าเป็นเบาหวานละก็ คงรู้จักกันดี เบาจืดนั้น เป็นโรคที่มีการสูญเสียหน้าที่ การดูดกลับ ของน้ำที่ไต เนื่องจากมีระดับของฮอร์โมน ที่ทำหน้าที่ควบคุม การดูดกลับของน้ำนั้นลดลง
สาเหตุการเกิดโรคเบาจืด

สำหรับสาเหตุของโรคเบาจืดนั้น อาจมีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ มักเกิดจากส่วนของสมองที่เรียกว่า "ไฮโปธาลามัส (hypothalamus)" ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน แอนติดิยูเรติก (antidiuretic) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกาย ต้องการที่จะ นำไปใช้อีกกรณีหนึ่ง
อาจเนื่องมาจาก การที่ไตไม่สามารถ จะดูดซึมฮอร์โมน ได้เท่าที่ควรนอกจากนี้ โรคเบาจืด อาจจะ มีสาเหตุจากอาการบวม หรือ เนื้องอกในต่อม พิทูอิทารี อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยมีผลต่อต่อม พิทูอิทารี อันทำให้เกิด เนื้องอกในสมอง หรือการติดเชื้อ อย่าง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ ภาวะสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส ภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพอง เป็นถุงขังโลหิตไว้ โรคไต และมะเร็ง

อย่างไรก็ตามแพทย์พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนถึง 25% ที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้พบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาจืด
- เนื้องอกในสมอง หรือ เนื้องอกในต่อมพิทูอิทารี

- การบาดเจ็บบริเวณศีรษะ

- การติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะสมองอักเสบ จากเชื้อไวรัส และ วัณโรค (meningitis, encephalitis, tuberculosis.)

- โรคที่มีเนื้องอกตุ่มเล็กๆ (Sarcoidosis)

- ประวัติบุคคลในครอบครัว เคยป่วยเป็นโรคเบาจืด มาก่อน

- การสะสมของไขมัน บนผนังของหลอดเลือดแดง (Atherosclerosis hardening of the arteries).

ลักษณะอาการ

- ปัสสาวะหลายครั้ง ประมาณ 1ใน 4 แกลลอนต่อวัน โดยปัสสาวะเจือจางและใส

- กระหายน้ำเนื่องจากการขาดน้ำ อันจะทำให้หัวใจ เต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และอาจช็อคได้

- ท้องผูกและปัสสาวะมีสีจาง

- ในกรณีที่ไม่รุนแรง อาจจะแค่ปัสสาวะรดที่นอน
การรักษา

จริง ๆ แล้ว โรคเบาจืดจะไม่ค่อยมีอาการรบกวนผู้ป่วย สักเท่าไรนักหรือบางคนอาจจะไม่มีเลย ซึ่งหากใครที่ไม่มีอาการใด ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก แต่อย่างไรซะแพทย์ก็ยังต้องทำการ ตรวจเช็คคุณอยู่เสมอ ๆ และคุณก็จำเป็นต้องหาเครื่องดื่ม ติดตัวไว้ตลอดด้วยเพื่อที่ว่าร่างกาย จะได้ไม่เกิดการกระหายน้ำมาก อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยจำเป็น ต้องได้รับการรักษาจากการใช้สารต่าง ๆ เข้าช่วยดังเช่น


- บางคนที่เป็นโรคนี้ อาจจะตื่นขึ้นเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ยา DDAVP เข้าช่วยด้วย ยานี้ จะมีคุณสมบัติคล้ายกับสาร ADH มาก ซึ่งยาดังกล่าวจะเป็น ประเภทสเปรย์ฉีดจมูก ผู้ป่วยเพียงแค่ฉีดยา เข้าไปในรูจมูกแต่ละข้าง ก่อนเข้านอนก็พอ
และหากต้องตื่น ในช่วงกลางคืนอีก ก็ให้ฉีดยานี้อีก และอาจจะต้องฉีด ในช่วงเช้าด้วย แต่ถ้าใช้ยา DDAVP ก็จะต้องไม่ดื่มมาก เพราะไม่อย่างนั้นมันจะทำให้ ร่างกายของคุณได้รับของเหลวที่มากเกินไป ซึ่งถ้าร่างกายมีน้ำมากเกินไป ก็จะทำให้คุณ รู้สึกอ่อนแอหรือเพลีย และแย่ขึ้นเรื่อย ๆ

- ในกรณีที่โรคเบาจืดมีสาเหตุมาจากไต ซึ่งไม่สามารถ รับสารประเภท ADH ได้นั้น ยาจำพวก DDAVP ก็ช่วยคุณ ไม่ได้เช่นกัน แต่จะต้องใช้ยาที่มีสารจำพวก ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) แทน เพราะมันจะช่วยให้ร่างกาย เกลือและน้ำมีความสมดุลกัน

- นอกจากนี้ยาที่มีส่วนประกอบจากสารจำพวก คลอร์โปรปาไมด์ (chlorpropamide) คาร์บามาเซไปน์ (carbamazepine) และคลอไฟเบรต (clofibrate) ก็สามารถ ใช้ได้เช่นกัน

สำหรับในส่วนของการรับประทานอาหารนั้นจริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้อง พิถีพิถันกับอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ เพียงรับประทาน ให้ครบทั้ง 5 หมู่ และคอยดื่มน้ำเรื่อย ๆ เมื่อมีอาการกระหายน้ำ เท่านั้นก็พอ

อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจากผู้ป่วย มักจะถ่ายปัสสาวะบ่อยมาก พวกเขาจึงควรได้รับการดูแลความสะอาดหลังถ่ายปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยสูงวัย ควรได้รับการดูแลจากญาติให้หลีกเลี่ยง การลุกเดินไปห้องน้ำบ่อย ๆ โดยใช้กระโถนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่า มีการขาดน้ำหรือไม่ จากอาการ ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้งซีด ตาลึกโบ๋ เป็นต้น
Endrophine

Sources:
www.rxmed.com
www.entrance.co.th
www.medicinenet.com
http://familydoctor.org

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาหารกับโรคเก๊าท์

คุณ รู้ไหมว่า ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการกินของเรา เพราะว่าถ้ากินไม่ดี ก็เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ารู้จักเลือกกินให้เหมาะสม จะทำให้คุณสามารถห่างไกลโรคได้ ซึ่งโรคเกาต์ ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เกิดจากปัญหาในเรื่องอาหารการกิน วิธีการป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก
โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดยูริกภายในข้อ และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัย ก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย 

โดยปกติแล้ว ร่างกายจะได้กรดยูริกมาจาก 2 แหล่ง คือ
 
1.
ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ ในร่างกายที่มาผิดปกติ
 
2.
จากการกินอาหารบางชนิดที่ สารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้ว จะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากใน เนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ
คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆ กำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวด จะถี่ขึ้นและนานขึ้น จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมไม่ได้ จะพบว่า ข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากการสะสมของ กรดยูริกภายในข้อจำนวนมาก จนบางครั้ง ข้อที่ปวดนั้น เกิดการแตกออก และมีสารขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟัน ไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง และในที่สุดข้อต่างๆ จะค่อยๆ พิการ และใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย
 
อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
 
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
 
อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)
วิธีป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ การระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิด การอักเสบของข้อขึ้นอีก อาหารที่ผู้เป็นโรคเกาต์ ควรรับประทานให้มากคือ
 
1.
อาหารจำพวกข้าว แป้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีน ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ เพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้ จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมา ในกระแสเลือดมากขึ้น
 
2.
คนเป็นโรคเกาต์ ควรระวังไม่รับประทานอาหาร จำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะว่าเนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีน ทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอ แล้วร่างกายใช้โปรตีน ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้
 
3.
การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริก และทำให้เกิดการขับกรดยูริก ทางปัสสาวะมากขึ้น และสามารถป้องกัน โรคนิ่วในไตได้อีกด้วย
 
4.
นอกจากนี้ การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น
เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์ แล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกัน ดังนั้น หันมาใส่ใจกับอาหาร ที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่า เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ

แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 74 สิงหาคม 2549