วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

อาหารสำหรับผู้ที่เป็นความดันเลือดสูง

อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง
       ประเทศไทยได้มีการแนะนำอาหารหรือสมุนไพรเพื่อลดระดับความดันโลหิต เช่นการรับประทานกระเทียม ใบขึ่นช่าย หญ้าหนวดแมว หรืออีกหลายอย่าง แต่ยังไม่ได้มีการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการวิจัยบทบาทของอาหารต่อความดันโลหิตท ี่เรียกว่า "The Approaches Dieatary Stop Hypertension" เป็นการศึกษาแผนการรับประทานอาหารร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ซึ่งให้ผลดีต่อการรักษาความดันโลหิตสูง และยังป้องกันความดันโลหิต บทความนี้เป็นของต่างประเทศ ผู้เขียนจะไม่เปลี่ยนแปลงสูตรอาหาร ที่กล่าวไว้ ผู้อ่านต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้สอดคล้องกับผลการวิจัย
ความดันโลหิตคืออะไร
     ความดันโลหิตเป็นแรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด จะวัดออกมาเป็นค่ามิลิเมตร ปรอทการวัดความดันจะวัดออกมา สองค่าคือ ค่าตัวบนหรือที่เรียกว่า Systolic เป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ส่วน Diastolic เป็นความดันตัวล่าง เป็นความดันโลหิตขณะที่ หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราจะขึ้นๆลงๆ เวลาหลับความดันโลหิตจะต่ำกว่าเวลาตื่นเต้น เวลาตกใจ กลัว ดีใจ เครียด เหนื่อย ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ความดันโลหิตที่สูงไม่ยอมลงเรียกความดันโลหิตสูง

     ความดันโลหิตสูงจะมีผลเสียต่อร่างกายคือ คนที่เป็นความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการ แต่หากไม่รักษาจะทำให้หัวใจโต และหัวใจวายในที่สุด ผลจากความดันก็ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างไม่พอก็ทำให้ เกิดโรคกับอวัยวะนั้น เช่นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เราสามารถที่จะควบคุมความดันโลหิตโดยวิธีการดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยผัก ผลไม้ และมีเกลือน้อย
  • ดื่มสุราให้ลดลง
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
 
ตารางแสดงระดับความดันโลหิตของผู้ใหญ่
ระดับความรุนแรง
ความดันSystolic มม.ปรอท

Diastolic มม.ปรอท
วิธีการปฏิบัติตัว
ปกติ
<120 div="div">
และ
<80 div="div">
ความดันโลหิตของคุณปกติ
Prehypertension
120-139
หรือ
80-89
ความดันโลหิตของคุณอาจจะมีปัญหา ให้คุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพ งดสุรา
Hypertension
>140
หรือ
>90
ปรึกษาแพทย์

อาหาร DASH คืออะไร
เป็นที่ทราบกันดีว่าระดับความดันโลหิตที่สูงกว่า 120/80 มมปรอทจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มาก ยิ่งความดันโลหิตยิ่งสูงยิ่งเกิดโรคแทรกได้มาก ก่อนหน้านี้ก็มีความสนใจในเรื่องของสารอาหารต่อระดับความดันโลหิต แต่จะสนใจสารอาหารเป็นชนิดๆ เช่น แคลเซี่ยม โปแทสเซียม เป็นต้นการทดลองจะทำโดยการให้วิตามินเสริม สมาคมโรคหัวใจ และหลอดเลือดของประเทศอเมริกาได้มีการทดลองที่เรียกว่า DASH พบว่าหากรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว{saturated fat} ต่ำ อาหารไขมันต่ำ และมีผักผลไม้มาก โดยเน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว โดยหลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง
การทดลองจะแบ่งคนไข้เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกรับประทานอาหารปกติ กลุ่มที่สองรับประทานอาหารปกติแต่เพิ่มพวกผักและผลไม้ สาวนกลุ่มที่สามรับประทานอาหาร DASH แต่ละกลุ่มรับประทานเกลือเท่ากัน หลังจากรับประทานอาหารไปสองสัปดาห์ก็พบว่ากลุ่มที่รับประทานผักและผลไม้ และกลุ่มรับประทานอาหารDASH มีระดับความดันโลหิตลดลงชัดเจน

ยังมีการทดลองเพิ่มเติมโดยการให้รับประทาเกลือต่ำ พบว่าระดับความดันโลหิตลดลงทั้งสามกลุ่ม สำหรับกลุ่มที่รับประทานอาหาร DASH จะมีระดับความดันโลหิตลดลงมากที่สุดโดยเฉพาะเมื่อรับประทานเกลือน้อยกว่า 1500 มิลิกรัม
 

ส่วนประกอบของอาหาร DASH
ตารางข้างล่างจะแสดงสัดส่วนของชนิดอาหารที่มีพลังงานเท่ากับ 2000 กิโลแคลอรี
 
ชนิดของอาหาร
ปริมาณที่ประทาน
(ส่วน)
ปริมาณอาหารหนึ่งส่วน
ตัวอย่างอาหาร
แหล่งของสารอาหาร
ธัญพืช 7-8 (วันหนึ่งจะรับประทาน
ข้าวไม่เกิน 7-8 ทัพพี
แบ่ง 3 มื้อ)
ขนมปัง 1 ชิ้น
corn flag 1 ถ้วยตวง
(ข้าวสุก ครึ่งถ้วย หรือ 1 ทัพพี
หรือ มะหมี่ 1 ก้อน
หรือขนมจีน 1 จับ)
ขนมปัง whole wheat, cereals
crackers, pop corn
(ข้าว มะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น)
เป็นแหล่งให้พลังงาน และใยอาหาร
ผัก 4-5 ผักสด 1 ถ้วย
ผักสุก ครึ่งถ้วย
น้ำผัก 240 มม.
มะเขือเทศ, มันฝรั่ง, แครอท
(อาหารไทยได้แก่ผักชนิดต่างๆ)
เป็นแหล่งเกลือโปแทสเซียม,
แมกนีเซียม,ใยอาหาร
ผลไม้ 4-5 น้ำผลไม้ 180 ซีซี
ผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล
ผลไม้แห้ง 1/4 ถ้วย
ผลไม้กระป๋อง 1/2 ถ้วย
ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งเกลือโปแทสเซียม, แมกนีเซียม,ใยอาหาร
นมไขมันต่ำ 2-3 นม 240 ซีซี โยเกตร์ 1 ถ้วยcheese 11/2 oz นมพร่องมันเนย, นมที่ไม่มีมัน เป็นแหล่งอาหารแคลเซียม และโปรตีน
เนื้อสัตว์ น้อยกว่า 2 ส่วน เนื้อสัตว์น้อยกว่า 3 oz เลือกเนื้อที่ไม่มีมัน และเล็บมันออก
ให้อบ เผาแทนการทอด
นำหนังออกจากเนื้อ

เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และแมกนีเซียม
ถั่ว 4-5ส่วนต่อสัปดาห์ ถั่ว 1/3 ถ้วย เมล็ดพืช 2 ช้อนโต๊ะถัวลันเตา 1/2 ถ้วย ถัวalmond ถั่วลิสง
มะม่วงหิมพานต์
เมล็ดทานตะวัน
เป็นแหล่งพลังงาน แมกนีเซียม
โปรตีน ใยอาหาร
น้ำมัน 2-3 น้ำมันพืช 1 ชต
สลัดน้ำข้น 1 ชต
สลัดน้ำใส 2 ชต
มาการีน 1 ชต
น้ำมันพืชได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด  
น้ำตาล 5 ส่วนต่อสัปดาห์ ตาล 1 ชต
น้ำมะนาว 240 ซีซี
แยม 1 ชต

น้ำน้ำตาล แยม ไอสครีม
 

รายการอาหารที่อยู่ในวงเล็บเป็นการดัดแปลง DASH เพื่อนำมาใช้กับคนไทยจะขอนำตัวอย่างอาหารสำหรับคนไทยตามแนวทางของ DASH แต่ละมื้อประกอบด้วยข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน)ไม่เกิน 2 ทัพพี ผักมื้อละจาน(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) เนื้อสัตว์4-5 ชิ้นคำ(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) ผลไม้ขนาดกลางมื้อละผล(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ)
 

ชนิดอาหาร
ปริมาณ
ข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน) ไม่เกิน 2ทัพพีต่อมื้อวันละ3 มื้อ
ผัก(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) มื้อละจาน
ผลไม้ขนาดกลาง(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ) มื้อละผล
เนื้อสัตว์(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) 4-5 ชิ้นคำต่อมื้อ
นม(ต้องเป็นชนิดพร่องมันเนย หรือโยเกตร์ วันละ 2 กล่อง
ถั่ว(ได้แก่ถั่ลิสง มะม่วงหิมพานต์ แอลมอนต์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม ถั่วลันเตา ถั่วแระ ถั่วเขียว ฯลฯ) วันละส่วน
น้ำมัน(ให้ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพดแทนน้ำมันปามล์ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารทอด ผัด ให้ใช้อบ ต้มหรือเผา
น้ำตาล หลีกเลี่ยงของหวานทุกชนิด

การนำเอา DASH มาใช้
จากตางรางข้างต้นเป็นรายการอาหารที่ให้พลังงาน 2000 กิโลแคลอรี รายการอาหารดังกล่าวมิใช่อาหารลดน้ำหนัก แต่ท่านสามารถที่จะเพิ่มหรือลดพลังงานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับท่าน
หากท่านต้องการลดน้ำหนักท่านก็สามารถลดปริมาณพลังงานโดยมีหลักการดังนี้ การเพิ่มผักหรือผลไม้แทนอาหารพวกเนื้อสัตว์หรือน้ำมัน ดื่มนมไขมันต่ำแทนนมปกติ ตัวอย่างปริมาณอาหารที่มีพลังงาน 1600 และ 3100 แคลอรี
 
ชนิดอาหาร
1600แคลอรี/วัน(ส่วน)
3100แคลอรี/วัน(ส่วน)
ข้าวหรือธัญพืช
6
12-13
ผัก
3-4
6
ผลไม้
4
6
ขมไขมันต่ำ
2-3
3-4
เนื้อสัตว์
1-2
2-3
ถั่ว
3/สัปดาห์
1
ไขมัน
2
1
น้ำตาล
0
2

เกลือกับ DASH
ดังที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นว่าหากผู้ป่วยรับประทานอาหารตามแผนการ DASH จะช่วยลดความดันโลหิต การลดปริมาณเกลือจะลดความดันโลหิตได้ทั้งผู้ป่วยที่รับประทานอาหารปกติและผู้ที่รับประทานอาหาร DASH ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ให้รับประทานเกลือไม่เกินวันละ 1500 มิลิกรัม

     
 
เกลือ 1/4 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 500 มิลิกรัม
 
 
เกลือ 1/2 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1000 มิลิกรัม
 
 
เกลือ 2/3 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1500 มิลิกรัม
 
 
เกลือ 1 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 2400 มิลิกรัม
 
     
หลายคนกลัวว่าหาก ไม่รับประทานเค็มจะทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่หรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย ในความเป็นจริงอาหารทุกชนิดที่เรารับประทานจะมีปริมาณเกลืออยู่แล้วทั้งสิ้น ซึ่งเพียงพอสำหรับร่างกายดังตารางข้างล่าง
 
 

ชนิดอาหาร
ปริมาณเกลือ(มิลิกรัม)
ธัญพืชและข้าว
-
ข้าว
0-5
อาหารธัญพืช 1 ถ้วย
100-200
ขนมปัง 1 ชิ้น
110-175
ผัก
-
ผักที่ทำสุกครึ่งถ้วยตวง
1-70
อาหารกระป๋อง ครึ่งถ้วย
140-460
น้ำมะเขือเทศ 3/4 ถ้วย
860
นม
-
นม 1 ถ้วย
120
โยเกตร์ 1 ถ้วย
160
cheeses 1 1/2oz
600
ผลไม้
-
ผลไม้สดหรือผลไม้กระป๋อง 1/2 ถ้วย
0-5
ถั่ว เมล็ดพืช
-
ถั่วลิสงคั่วเกลือ 1/3 ถ้วย
120
ถั่วลิสงไม่ใส่เกลือ 1/3 ถ้วย
0-5
เนื้อสัตว์
-
เนื้อสด 3 oz
30-90
ปลาทูน่าในน้ำมัน 3 oz
35-45
ปลาทูน่าในน้ำเกลือ 3 oz
250-350
แฮม
1020
 
การเริ่มต้นแผนอาหารแบบ DASH
เนื่องจากอาหารแบบ DASH จะมากด้วยผักและผลไม้ สำหรับผู้ที่รับประทานผักและผลไม้น้อยเมื่อเริ่มต้นอาหาร DASH จะมีปัญหาเรื่องท้องอืด หรืออาจจะทำให้เกิดท้องร่วง ดังนั้นจึงต้องค่อยๆเริ่มต้นซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
  • หากท่านรับประทานผักวันละมื้อ ก็ให้เพิ่มผักจนครบทุกมื้อ
  • หากท่านไม่รับประทานผลไม้ แนะนำให้ท่านเริ่มดื่มน้ำผลไม้หลังอาหารเช้า และรับประทานผลไม้ทุกมื้อหลังอาหาร
  • ดื่มนมพร่องมันเนยหลังอาหารวันละ 2-3 ครั้ง
  • ให้อ่านสลากอาหารทุกครั้งโดยการลดเกลือและไขมันอิ่มตัว
  • ให้รับประทานเนื้อสัตว์วันละ 2 มื้อ
  • ให้รับประทานอาหารเจสัปดาห์ละ 2 มื้อ
  • ใช้ผลไม้เป็นอาหารว่างแทนอาหารที่ให้พลังงานสูง
ท่านลองสำรวจอาหารที่ท่านรับประทานแต่ละมื้อว่าเข้าเกณฑ์ DASH หรือไม่ ต้องเพิ่มหรือลดอะไรจากตารางข้างล่างนี้
 
ปริมาณที่รับประทาน
อาหาร
ปริมาณ
เกลือ
ธัญพืช
ผัก
ผลไม้
นม
เนื้อสัตว์
ถั่ว
น้ำมัน
น้ำตาล
อาหารเช้า
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ข้าว
3ทัพพี
7+140+190
1 1/2
-
-
-
-
-
-
-
แกงจืดผัก
ผัก 1 ถ้วย
-
2
-
-
-
-
1
-
หมูกระเทียม
เนื้อหมู10 ชิ้น
-
-
-
-
2
-
-
-
 
เมื่อท่านรวบรวมอาหารที่รับประทานได้ครบหนึ่งวัน ท่านก็จะทราบว่าควรจะลดหรือเพิ่มอาหารประเภทไหน แต่ท่านไม่ต้องกังวลมากเกินโดยเฉพาะไปงานเลี้ยง ท่านอาจจะรับประทานอาหารที่ผิดจากแผน เช่นเกลือ หรือไขมัน หรือ เนื้อสัตว์อาจจะมากไปก็ไม่เป็นปัญหา หากท่านสามารถควบคุมอาหารได้เป็นอย่างดีในวันปกติ
สรุปส่งท้าย
สุขภาพของท่าน ท่านต้องดูแลด้วยตัวเองไม่มีใครช่วยท่านได้ ขั้นตอนในการดูแลมีดังนี้
  • สำรวจอาหารที่ท่านรับประทานอยู่ว่ามีอะไรที่เกินไป อะไรที่ขาดไป
  • เติมอาหารที่ขาด
  • ตัดอาหารที่เป็นส่วนเกิน
  • เป้าหมายให้ได้อัตราส่วนของอาหารตามแผนการ DASH

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ออกกำลังกายให้สนุก

การออกกำลังกายกับยาเสพติดเหมือนกันอยู่อย่าง เพราะ ทำบ่อยเท่าไหร่ก็ยิ่งติด โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นประจำยิ่งสนุก แต่ถ้านานๆ ไปออกกำลังกายสักครั้งจะบื่อและเข็ดขยาด กับความเมื่อยล้า คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้คุณไปออกกำลังกายอย่างมีความสุขและสนุกขึ้น

หาเพื่อนไปออกกำลังกายด้วย ใช้ ความก้าวหน้าในการออกกำลังกายของเพื่อนเป็นตัวกระตุ้น จัดตารางออกกำลังกายประจำสัปดาห์ และให้รางวัลตัวเอง เมื่อคุณทำได้ตามนั้น (หวังว่ารางวัลคงไม่ใช่ขาหมูสักจานหรอกนะ)

มีชุดสำหรับออกกำลังกายโดยเฉพาะ ไม่ต้องเลิศหรูราคาแพง แต่ต้องให้ใส่พอดีและสบายตัว และใช้เฉพาะไปออกกำลังกายเท่านั้น

หากคุณเลือกที่จะออกกำลังกายประเภทจ๊อกกิ้ง ขี่จักรยานหรือเดินเร็ว ลองหาที่ๆ มีบรรยากาศของความสนุกสนาน เช่น สวนสาธาณะหรือบ้านเพื่อนเป็นที่ออกกำลังกาย

อดใจที่จะไม่ทำกิจกรรมสุดโปรดของคุณ เช่น เขียนอีเมล์ โทรหาเพื่อน ดูทีวี จนกว่าคุณจะออกกำลังกายให้เสร็จเสียก่อน

ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายของคุณ เป็น เรื่องสนุกที่จะติดตามความก้าวหน้าของตัวเราเอง จดบันทึกความก้าวหน้าแต่ละขั้น อย่าตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เกินไป เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่อาจจะดูท้าทายก็จริงอยู่ แต่ถ้ายิ่งใหญ่เกินไปก็สร้างความท้อแท้ได้เหมือนกัน
          หาก ยังไม่ทราบว่าจะตั้งเป้าหมายอย่างไรดี เรามีตัวอย่างของเป้าหมาย 4 แบบ ที่พอจะเป็นเกณฑ์วัดความก้าวหน้าในการออกกำลังของคุณมาฝาก

ตั้งเป้าหมายที่ระยะทาง เช่น สัปดาห์นี้วิ่งได้ 500 เมตร สัปดาห์หน้าตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องวิ่งให้ได้หนึ่งกิโลเมตร
ใช้ความเร็วเป็นเป้าหมาย ดูจากว่าคุณสามารถทได้เร็วขึ้น เช่น วิ่ง 500 เมตร ใช้เวลา 5 นาที สัปดาห์หน้าวิ่งให้เร็วขึ้น 500 เมตรใช้เวลาวิ่งแค่ 3 นาที
ความทนทาน ดูจากการที่เราสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น เช่น ครั้งก่อนเต้นแอโรบิก 15 นาที เหนื่อย คราวนี้เต้นได้นานขึ้นเป็น 20 นาที
จำนวนครั้งที่เพิ่มขึ้น เช่น เมื่อวานรำกระบอง เตะได้ 30 ครั้ง วันนี้อาจจะเพิ่มเป็น 40 ครั้ง
ทั้งหมดที่ทำนี้ก็ใช่เพื่อใคร เพื่อสุขภาพของเราเองล้วนๆ เลยจริงไหมครับ




ที่มา :Live The Healthier Way (วารสารชีววัฒนะ เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า)

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

"เสียงเพลง" ทำให้ออกกำลังกายได้"อึด"ขึ้น

"เสียงเพลง" ทำให้ออกกำลังกายได้"อึด"ขึ้น    เป็นเรื่องจริง         


         ถ้าพูดถึงเสียงเพลงกับการออกกำลังกาย คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการเต้นแอโรบิค เพราะเป็นกิจกรรมประกอบเพลงที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แต่หลายครั้งที่เหลือบไปเห็นผู้รักสุขภาพหลายคนวิ่งบนลู่ไฟฟ้าแล้วมีหูฟัง ติดหูอยู่ด้วย ซึ่งการฟังเพลงในการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไม่น่าเชื่อ และการฟังเพลงไม่ได้มีผลต่ออารมณ์คนฟังเท่านั้น แต่กลับส่งผลดีต่อร่างกายมากมายเช่นกัน

          การฟังเพลงมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?

          "เพลงแจ็ซ" (jazz) ช่วย เพิ่มอัตราการหายใจให้ถี่ขึ้นได้ และมีแนวโน้มกลับเข้าสู่สภาวะปกติเมื่อถึงช่วงใกล้จบเพลง ขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจ ร่างกายจะตอบสนองตามจังหวะของเสียงเพลง คือ เมื่อฟังเพลงที่มีจังหวะเร็ว หัวใจก็จะเต้นเร็วหรือทำงานหนักขึ้น ส่วนเพลงจังหวะช้า หัวใจก็จะเต้นช้าตามไปด้วย

          ชนิดของเพลงก็มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่น เพลงกระตุ้น (Stimulative music) คือ ร็อค, แร็พ, ฮิพฮอพ และเพลงแดนซ์ เพลงเหล่านี้จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นเพลงผ่อนคลาย (Sedative music) อย่าง เพลงแจ๊ซหรือเพลงคลาสสิค รวมทั้งเพลงบรรเลง สามารถช่วยลดการทำงานของหัวใจได้ ถ้าสามารถนำประเภทและประโยชน์ของเพลงไปปรับใช้กับการออกกำลังกายของผู้รัก สุขภาพได้อย่างเหมาะสมคงจะดีไม่น้อย

          ประโยชน์ ของเพลงในการออกกำลังกายยังมีผลต่อความอดทนของร่างกายด้วยเช่นกัน นักวิจัยหลายคนได้ศึกษาผลของเพลง พบว่าเพลงช่วยเพิ่มความอดทนของกล้ามเนื้อในการลุก-นั่ง (Sit-up) และการดันพื้น (Push up) สำหรับ การเดินฟังเพลงนั้น เพลงจะช่วยให้การเดินมีอัตราที่เร็วขึ้น รวมทั้งเพลงยังช่วยเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกาย โดยการเดินหรือการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งการฟังเพลงจังหวะช้าๆ เสียงเบาๆ จะทำให้เราออกกำลังกายได้นานกว่าการฟังเพลงจังหวะเร็วและเสียงดัง

          มี ผลการวิจัยที่น่าสนใจของ อาจารย์วรรณี เจิมสุรวงศ์ และ อาจารย์อุไรรัตน์ ศรีวิบูลย์ นักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้ศึกษาเรื่องผลของดนตรีที่มีต่อระยะเวลาในการออกกำลังกายของผู้ที่ออก กำลังกายและไม่ออกกำลังกาย ศึกษาโดยแบ่งเพลงออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเพลงคัดสรรซึ่งคัดเลือกจากเพลงไทยทุกประเภทถึง 400 เพลง เหลือเพียง 5 เพลง เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ, ความรัก, ความ ใฝ่ฝัน มีเนื้อร้องที่สร้างสรรค์และทำนองไพเราะ กับกลุ่มเพลงที่ชอบ คือ เพลงที่กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนคุ้นเคยและชอบฟัง จากนั้นนำมาทดลองปฏิบัติจริงกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงอายุ 18-22 ปี จำนวน 18 คน 9 คนแรกเป็นคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ และ 9 คนหลังไม่ออกกำลังกายเลย โดยให้กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้ารับการทดสอบโดยการฟังดนตรีคัดสรร ดนตรีที่ชอบและไม่ให้ฟัง พร้อมทั้งปั่นจักรยานไฟฟ้า ปรับความหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุก 1 นาที จนถึงระดับที่หมดแรงหรือไม่สามารถออกกำลังกายต่อไปได้

          ผล การวิจัยพบว่า การฟังเพลงคัดสรรหรือเพลงที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น เมื่อเทียบกับการฟังเพลงที่ชอบและการไม่ฟังเพลงขณะออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายด้วยเพลงคัดสรร สามารถเพิ่มระยะเวลาในการปั่นจักรยานให้นานขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ออกกำลังกายการฟังเพลงไม่สามารถเพิ่มระยะเวลาในการปั่นจักรยาน ให้นานขึ้นได้

          นอก จากผลการวิจัยของคนไทยแล้ว ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบรูเนล ในอังกฤษ ได้ทดลองให้อาสาสมัคร 30 คน ฟังเพลงประเภทไหนก็ได้ พร้อมทั้งออกกำลังกายไปด้วย ผลปรากฏว่า อาสาสมัครสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 ซึ่งเป็นประโยชน์ในการช่วยให้คนอ้วนหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจสามารถ อดทนที่จะทนออกกำลังกายได้นานขึ้น นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบว่า เพลงที่เหมาะกับการกระตุ้นให้คนออกกำลังกาย จะต้องเป็นเพลงที่มีจังหวะความเร็วประมาณ 120-140 บีทต่อนาที

          เลือกเพลงอย่างไรให้เหมาะสมกับการออกกำลังกายของตัวเอง?

          จังหวะ ของเพลง เลือกเพลงที่มีจังหวะชัดเจน โดยเฉพาะเสียงเบสหรือเสียงกลอง เพราะกลองจะเป็นเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะได้ชัดเจนกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น ถ้าอยากกระตุ้นการทำงานของร่างกายควรเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็วและเลือกเพลง จังหวะช้าถ้าต้องการผ่อนคลายหรือสร้างเสริมสมาธิ

          เนื้อ เพลง ควรเลือกใช้เพลงในการออกกำลังกายที่เราสามารถร้องเพลงนั้นได้จะดีกว่าการฟัง เพลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งการร้องเพลงในขณะออกกำลังกายจะช่วยให้เรามีสมาธิจดจ่อกับการร้องเพลง จนอาจลืมเหนื่อยไปเลย ที่สำคัญควรเลือกเพลงที่มีเนื้อร้องที่สร้างสรรค์หรือเสียงคลื่นกระทบฝั่ง เสียงน้ำตก เสียงนกร้อง ก็ช่วยให้อารมณ์และจิตใจสงบ จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายได้ดี

          ความ ดัง เสียงเพลงที่ดังจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว หัวใจทำงานหนักขึ้น ไม่ควรเปิดเพลงดังมากขณะออกกำลังกาย หากใช้เสียงเพลงที่ดังในระดับต่ำถึงปานกลางจะช่วยให้เกิดความรู้สึกที่สงบ และผ่อนคลายร่างกาย เหมาะสำหรับช่วงการผ่อนคลายร่างกาย (Cool down) หลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกาย

          ออกกำลังครั้งต่อไป ลองหาเพลงเพราะๆ ดนตรีสบายๆ ไปฟังกันบ้าง เผื่อจะออกกำลังกายกันได้นานขึ้นอีกหน่อย






ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน