วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การรักษาอาการปวดคอปวดหลังเรื้อรังโดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาอาการปวดคอปวดหลังเรื้อรังโดยไม่ต้องผ่าตัด

อาการปวดคอปวดหลังเป็นปัญหาที่พบกันได้บ่อยในคนทุกวัย
  
อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งทำให้ยากต่อการวินิจฉัยและการรักษา สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดคอปวดหลังอย่างเฉียบพลันเกิดจากการใช้งานของคอ หรือหลังมากเกินไปในวิธีที่ผิด เช่น การก้มหรือเงยนานเกินไปในเวลาทำงาน นั่งหรือนอนผิดท่า ยกของหนัก นั่งทำงานหรือขับรถนาน ๆ เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหักโหมเกินไป หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นหลังประสบอุบัติเหตุ
  
พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นต่าง ๆ รอบกระดูกสันหลังรวมถึงหมอนรองกระดูกเกิดการบาดเจ็บจากการฉีกและอักเสบ ผลที่ตามมาคือ ความตึงเคล็ดของกล้ามเนื้อที่คอหรือหลัง นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวที่คอและหลังจะขยับได้น้อยลงและจะมีอาการปวดเวลาใช้ งาน ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นเอง ซึ่งการใช้ยาแก้ปวดแก้อักเสบสามารถบรรเทาอาการให้หายเร็วขึ้นได้
  
ในกรณีที่ผู้ป่วยปวดคอหรือหลังเรื้อรังมานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสื่อมของข้อกระดูกคอหรือหลัง หรือโรคข้อกระดูกอักเสบ โดยที่อาการปวดมักเกิดขึ้นในเวลาที่ใช้งาน เช่น ก้ม เงย หรือยกของ
  
ด้านการรักษา นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังต้องทำกายภาพบำบัดร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม วิธีรักษาอื่น ๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคือ การรักษาด้วยอัลตราซาวด์ การดึงคอดึงหลัง การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและการออกกำลังกายที่หลัง ซึ่งเป็นวิธีการออกกำลังกายที่เน้นกล้ามเนื้อบริเวณหลัง โดยทำท่าเหมือนการวิดพื้นแต่แตกต่างจากการวิดพื้นตรงที่สะโพกติดพื้นและให้ ส่วนบนของลำตัวตั้งแต่ศีรษะถึงเอวเงยขึ้นจากพื้น ฉะนั้นกล้ามเนื้อหลังจะแอ่นขึ้นมาดังภาพ
  
ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงแขนหรือขาร่วมด้วย มีอาการอ่อนแรงชาหรือเดินลำบาก แสดงว่าเกิดการกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะมาจากหินปูนที่เกาะรอบ ๆ ข้อกระดูกที่คอหรือหลังที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของข้อหรือจากหมอน รองกระดูกที่กดทับเส้นประสาท
  
สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้แต่พบไม่บ่อยนักและเป็นสาเหตุสำคัญที่ควรรีบรักษาคือ เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง หรือการติดเชื้อในกระดูกสันหลัง ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรรีบมาพบแพทย์เพราะถ้าได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีระบบ ประสาทอาจจะไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาเร็วเส้นประสาทสามารถกลับมาทำงานเป็นปกติได้ โดยแพทย์จะประเมินอาการและพิจารณาการทำเอกซเรย์และสแกนแม่เหล็ก (เอ็มอาร์ไอ) เพื่อแยกสาเหตุเหล่านี้ และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม
  
ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ปัจจุบันนี้เราสามารถค้นหาสาเหตุความเจ็บปวดได้โดยละเอียดพร้อมรักษาได้ อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยวิธีฉีดยาชาและยาลดการอักเสบเข้าไปที่โครงกระดูกสันหลังและรอบ ๆ เส้นประสาทอย่างตรงจุดที่ต้นสาเหตุโดยใช้เอกซเรย์นำทิศทางปลายเข็มไปยัง ตำแหน่งที่ต้องการ เช่น ที่หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณรอบ ๆ เส้นประสาทเล็กที่ออกมาจากโครงกระดูกสันหลัง ข้อเล็กของกระดูกสันหลัง ข้อที่เชื่อมกับสะโพก หรือเป็นการฉีดซีเมนต์เทียม เพื่อรักษาอาการปวดหลังหรือหลังค่อมจากโรคกระดูกพรุน เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก รวมถึงแก้ไขความโค้งผิดปกติของกระดูกสันหลังด้วย ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัดและกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกัน
      
สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดนั้น การผ่าตัดด้วยวิธีแผลเล็กเจ็บน้อย (Minimally Invasive Spinal Surgery) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัยมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติดังเดิม.

นายแพทย์วัฒนา มหัทธนกุล
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท
สาขาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน

การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน


การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพานเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้า หัวใจในขณะที่วิ่ง หากมีหลอดเลือดตีบ เลือดจะไปเลี้ยงหัวใจไม่พอก็จะทำให้กราฟไฟฟ้าหัวใจแสดงผลออกมา
การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพานตรวจอะไรได้บ้าง
  • เมื่อสงสัยว่าหลอดเลือดหัวใจจะตีบจนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • หาสาเหตุของหัวใจเต้นผิดปรกติ
  • ประเมินการรักษาดรคหัวใจ
  • ตรวจก่อนการออกกำลังกายในกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจ
การตรวจหัวใจโดยการออกกำลังกาย
การทดสอบโดยการออกกำลังกาย หมายถึงการทดสอบที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นร่วมกับการวัดความดันโลหิต และกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทำให้หัวใจทำงานหนักอาจจะใช้เครื่องวิ่งสายพาน หรือขี่จักรยาน บางครั้งอาจจะใช้ยากระตุ้น ส่วนการทดสอบหัวใจโดยการออกกำลังกาย โดยใช้เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงหรือทางรังสีจะไม่กล่าวในที่นี้
ประโยชน์ของการตรวจหัวใจในการออกกำลังกาย
  1. เพื่อการวินิจฉัย เช่นผู้ป่วยที่มีอาการแน่หน้าอก เราทดสอบหัวใจโดยการวิ่งเพื่อตรวจว่ามีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่
  2. เพื่อประเมินความรุนแรง/ความเสี่ยงหรือพยากรณ์โรคของผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ
  3. ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  4. การตรวจเพื่อประเมินโรคหัวใจก่อนการผ่าตัด
ในการส่งตรวจแพทย์จะต้องคำนึงอะไรบ้าง
  1. คุณภาพ ความชำนาญ ประสบการณ์ของผู้ร่วมงาน
  2. ความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำของการตรวจ
  3. ค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบการตรวจชนิดอื่น
  4. ผลการตรวจมีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงการรักษาหรือไม่
  5. ผลทางจิตวิทยาของการตรวจ
เมื่อไรแพทย์จะส่งตรวจการวิ่งสายพาน
เหตุผลในการส่งตรวจด้วยวิธีวิ่งสายพานได้แก่
  1. ประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหรือมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและมีความจำเป็นต้องผ่าตัดโดย เฉพาะการผ่าตัดที่ต้องเสียเลือด หรือการผ่าเข้าช่องทรวงอก อาจจะจำเป็นต้องตรวจหัวใจว่ามีเส้นเลือดตีบหรือไม่
  2. ตรวจผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แพทย์อาจจะตรวจโดยการวิ่งบนสายพานก่อนกลับบ้านและนัดมาตรวจอีกครั้งหลังจาก ผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อประเมินความเสี่ยงว่ามีเส้นเลือดอื่นตีบหรือไม่
  3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
ข้อห้ามในการตรวจ
แม้ว่าการตรวจด้วยการวิ่งบนสายพานจะปลอดภัย แต่ก็ยังมีข้อห้ามตรวจ ภาวะดังกล่าวได้แก่
  • ผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน(2วัน)
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
  • ผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติที่เกิดอาการและความดันโลหิตไม่คงที่
  • ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออติกตีบและมีอาการ Symptomatic severe aortic stenosis
  • ผู้ป่วยหัวใจวายที่ยังคุมอาการไม่ได้
  • ผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดในปอด Pumonary embolism
  • ผู้ป่วยกล้ามเนื้อและหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ Acute myocarditis or pericarditis
  • ผู้ป่วยหลอดเลือดแดงแยก Acute aortic dissection
การเตรียมตัวในการตรวจ
  • เตรียมชุดสำหรับไปวิ่งออกกำลังให้สวมสบายๆ รองเท้าสำหรับวิ่ง
  • เตรียมน้ำดื่ม และผ้าสำหรับใช้เมื่ออกกำลังเสร็จ
  • ควรจะมีเพื่อนไปด้วย
จะรับประทานอาหารก่อนตรวจได้หรือไม่
  • สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ แต่ควรจะงดก่อนการตรวจ 4 ชั่วโมง
  • ควรจะงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟ เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม ควรจะงด 24 ชั่วโมงเพราะกาแฟจะมีผลต่อการตรวจ
  • งดบุหรี่ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง
จะงดยาหรือรับประทานยาต่อ
  • ให้งดยาที่ซื้อรับประทานเองเพราะอาจจะมีส่วนผสมของกาแฟอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • สำหรับยาที่รักษาโรคให้รับประทานตามปกติ นอกเสียจากแพทย์จะสั่งงด
  • หากท่านเป็นโรคหอบหืดให้นำยาพ่นติดตัวไปด้วย

เป็นโรคเบาหวานจะต้องทำอย่างไร
  • หากท่านใช้อินซูลิน ให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะฉีดเท่าไร โดยมากแพทย์จะแนะนำให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่งในวันที่ตรวจ
  • หากท่านรับประทานยาเบาหวานไม่ควรจะงดอาหาร
ขั้นตอนในการตรวจ
  • เมื่อท่านเปลี่ยนชุดเสร็จแล้วพยาบาลจะให้ท่านนอนบนเตียง
  • จะทำความสะอาดหน้าอก 10 จุด แขน ขาสำหรับติดอุปกรณ์
  • เมื่อติดอุปกรณืเสร็จจะมีตัวส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าติดกับตัวท่าน และต่อเข้าเครื่องตรวจไฟฟ้าหัวใจ
  • พยาบาลจะวัดความดันโลหิตท่านอน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจท่านอน
  • วัดความดันโลหิตท่ายืน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจท่ายืน
  • หลังจากนั้นจะให้ท่านขึ้นไปยืนบนลู่วิ่ง
  • ในเบื้องต้นเครื่องจะเดินไปอย่างช้าๆจนกระทั่งท่านคุ้นเคยกับเครื่องแล้วจึงเริ่มการตรวจ
  • เริ่มแรกเครื่องจะเดินช้าและไม่ชันมาก เมื่อเวลาผ่านไปเครื่องจะค่อยเร็วขึ้น ชันขึ้น
  • ท่านวิ่งไปตามปกติไม่ต้องกังวลไม่เจ็บไม่ปวด
  • หากท่านเหนื่อยมาก เจ็บหน้าอก หรือจะเป็นลม หรือมีอาการอื่นให้บอกแพทย์และพยาบาลที่ดูแลท่านอยู่
  • อย่าลงจากเครื่องในขณะที่เครื่องทำงานเพราะอาจจะล้มได้
  • เมื่อวิ่งได้ตามกำหนด หรือผลตรวจให้ผลบวกแพทย์จะหยุดเครื่องซึ่งเครื่องก็จะลดระดับความเร็วและความชันจนกระทั่งหยุด
  • แพทย์จะแปลผลจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะวิ่ง
ข้อมูลจาก siamhealth.com

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รักษาการบาดเจ็บด้วยความร้อนลึก

การให้ความร้อนลึก
          มี บทบาทในการบำบัดรักษาอวัยวะส่วนที่อยู่ลึกๆ  เพราะความร้อนตื้นที่ได้จากการประคบด้วยความร้อน กระเป๋าน้ำร้อน การจุ่มลงในถังพาราฟินร้อน และความร้อนจากหลอดอินฟราเรด ไม่สามารถเข้าไปลึกๆ ได้ เพราะความร้อนที่แผ่มาถึงผิวหนังบางส่วนก็สะท้อนกลับไป บางส่วนก็ถูกพาไปโดยอากาศที่ถ่ายเทผ่านส่วนนั้น และไอน้ำที่บริเวณนั้นก็พาความร้อนไปด้วย ความร้อนที่เหลืออยู่ก็จะผ่านเข้าไปยังส่วนลึกด้วยการผ่านลงไปในไขมัน ซึ่งเป็นชั้นที่คั่นระหว่างผิวหนังกับอวัยวะต่างๆ ชั้นไขมันนี้เป็นสื่อความร้อนที่ไม่ดี จึงขัดขวางความร้อนที่ผ่านเข้าไปให้ช้าและน้อยลง ขณะเดียวกันในทุกชั้นที่ผ่านเข้าไปจะมีหลอดเลือด ซึ่งมีกระแสโลหิตไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา พาเอาความร้อนที่ผ่านไปบริเวณนั้นไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายตลอดเวลา ทำให้ปริมาณความร้อนที่เข้าไปในส่วนลึกไม่เพียงพอสำหรับการรักษา
          ดังนั้น เครื่องกำเนิดความร้อนลึกจึงถูกค้นคว้าและนำมาใช้  มีอยู่ ๓  แบบ คือ เครื่องกำเนิดความร้อนลึกด้วยคลื่นวิทยุชนิดความถี่สูงมากในย่านไมโครเวฟใน ย่านคลื่นสั้น  และเครื่องกำเนิดอัลตราโซนิก เครื่องกำเนิดความร้อนลึกด้วยคลื่นวิทยุ มีการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องส่งคลื่นพาหะของวิทยุทั่วไป สำหรับชนิดความถี่สูงมากในย่านไมโครเวฟจะกำเนิดความถี่วิทยุถึง ๒,๔๕๐ เมกะเฮิรตซ์ (megahertz) ด้วยกำลังส่งออกอากาศที่ปรับความแรงได้ถึง ๒๕๐ วัตต์ คลื่นวิทยุที่ส่งออกมา จะถูกบังคับให้พุ่งออกเป็นเส้นตรงคล้ายไฟฉาย แล้วส่องคลื่นวิทยุนี้ไปยังส่วนที่ต้องการรักษาด้วยความร้อนพลังงานของคลื่น วิทยุก็จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนในเนื้อเยื่อที่คลื่นวิทยุผ่านเข้าไป สำหรับเครื่องกำเนิดความร้อนโดยคลื่นวิทยุชนิดย่านคลื่นสั้น  จะกำเนิดความถี่วิทยุ ๒๗ เมกะเฮิรตซ์ ปรับความแรงได้สูงขึ้น ๖๐๐ วัตต์คลื่นวิทยุจะถูกส่งออกมาจากแผ่นโลหะ  ๒ แผ่น ซึ่งหุ้มด้วยยางไว้เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วเป็นอย่างดี เมื่อนำเอาแผ่นทั้งสองไปวางยังส่วนของอวัยวะที่ต้องการพลังงานของคลื่นวิทยุ ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนในเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างแผ่นสายอากาศทั้งสอง สำหรับเครื่องอัลตราโซนิกจะมีหลักการคล้ายกัน คือ เป็นเครื่องกำเนิดความถี่อัลตราโซนิก จะให้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ๑ เมกะเฮิรตซ์ ไปยังก้อนแร่ควอตซ์ ทำให้มีการขยายตัวและหดตัวของก้อนแร่นี้ เมื่อต้องการให้ความร้อนแก่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ใช้หัวที่บรรจุก้อน แร่จ่อให้แนบกับส่วนนั้นๆ โดยใช้สื่อในการนำคลื่นเสียงเข้าไปในร่างกาย ด้วยการทาบริเวณนั้นด้วยน้ำมันหรือสารที่เป็นตัวกลางทำให้การสัมผัสได้แนบ สนิท และถ่ายทอดพลังงานได้เต็มที่ พร้อมกับการถูหัวบรรจุก้อนแร่ไปรอบๆ ตำแหน่งที่ต้องการ เครื่องนี้สามารถปรับความแรงที่ออกมาได้สูงถึง ๓ วัตต์ ต่อตารางเซนติเมตรของหัวบรรจุก้อนแร่ พลังงานคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนในส่วนลึกของร่างกาย ได้ลึกที่สุดในกลุ่มเครื่องให้ความร้อนลึก และยังมีผลดีในการรักษาการติดยึดของข้อต่างๆ ดีกว่าการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ในการให้ความร้อนอีกด้วย



วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การกระตุ้นกล้ามเน้อด้วยไฟฟ้าเพื่อรักษาการบาดเจ็บ

การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
          การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ถูกนำมาใช้ในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูทั้งในด้านการรักษา การวินิจฉัยโรค และการพยากรณ์โรคว่าดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไรภายหลังการให้การรักษาเป็นระยะๆ
          โดยหลักการแล้ว การเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เกิดขึ้นได้จากการมีคำสั่งจากสมองผ่านมาตามเส้นประสาทยนต์ไปยังกล้ามเนื้อ ถ้ามีเหตุทำให้สมองหรือเส้นประสาทยนต์เสียไป กล้ามเนื้อก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวตามความประสงค์ได้ อาทิเช่น การถูกยิง หรือถูกฟันจนเส้นประสาทขาด เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ เราเรียกภาวะนี้ว่า อัมพาต เมื่อเกิดเป็นอัมพาตขึ้นก็ต้องให้การรักษาตามสาเหตุนั้น กล่าวคือ ในกรณีเส้นประสาทขาด
ก็ต้องทำการผ่าตัด ต่อเส้นประสาทที่ขาดเข้าที่เดิม ในระหว่างรอการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ ก็ต้องใช้กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสตรงกระตุ้นผ่านกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตด้วย ความแรงที่พอเหมาะ ซึ่งประกอบด้วยแรงเคลื่อนกระแสและระยะเวลาที่ไฟฟ้าผ่านเป็นจังหวะๆที่พอดีจะ ทำให้กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตหดตัวตามจังหวะที่กระแสไฟฟ้าผ่าน
          การทำงานของกล้ามเนื้อด้วยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นจะช่วยชะลออัตราการลีบ  เล็ก และชะลอคุณสมบัติของกล้ามเนื้อให้คงไว้ เพื่อรอเวลาให้ประสาทที่ต่อไว้ทำงานได้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของโรค ขณะกล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัวจากการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจะทำให้มีการไหลเวียน ของโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น ทำให้มีอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนนั้นมากขึ้น ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อได้มีโอกาสออกกำลังทำให้การลีบช้าลง เป็นการรอเวลาการงอกของเซลล์ประสาทยนต์เข้าไปตามปลอกของเส้นประสาทไปยัง กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตนั้นๆ ซึ่งอัตราการงอกของเซลล์ประสาทเฉลี่ยแล้ว ๑ มิลลิเมตรต่อวัน การปล่อยให้กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตอยู่เฉยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบและเปลี่ยนเป็นพังผืดอย่างรวดเร็วเป็นผลให้เซลล์ประสาท ที่งอกไปถึงกล้ามเนื้อไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนสภาพเป็นพังผืดไป หมดแล้วให้ทำงานต่อไปอีก และครึ่งหนึ่งเมื่อกล้ามเนื้อเปลี่ยนสภาพตัวเองเป็นพังผืดแล้วจะไม่มีโอกาส กลับมาทำงานได้อีกเลย ทำให้เป็นอัมพาตและพิการอย่างถาวร การรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น สามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยโปลิโอที่เป็นอัมพาตเพื่อรอการฟื้นตัวของเซลล์ประสา ทนต์ที่ยังเหลืออยู่ภายหลังการทำลายโดยเชื้อไวรัสและอัมพาตจากสาเหตุอื่นๆ เพื่อรอการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อแทนที่จะปล่อยให้ลีบอย่างรวดเร็ว แล้วเป็นพังผืดจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อีกต่อไป



วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร (นิตยสาร APPEAL)

          การ ออกกำลังกายไม่ใช่วิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้หนุ่ม ๆ มีกล้ามเนื้อแข็งแรงสวยงาม แต่การเลือกทานอาหารที่ดี ก็มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้คุณได้ ถ้าอยากรู้ว่ามีอาหารอะไรบ้างที่เข้าข่ายนี้ ลองอ่านข้อมูลดี ๆ ที่เรานำมาจากหนังสือ APPEAL THE BEAUTY BIBLE ฉบับเดือนกรกฎาคม 2555 กันได้เลย

สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  ไข่ ถือเป็นตัวช่วยสำคัญอันดับต้น ๆ ของหนุ่ม ๆ ที่เล่นฟิตเนสเพื่อสร้างกล้ามเนื้อเลยล่ะ เพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่าย ราคาถูกแล้ว ประโยชน์ของไข่ขาวก็คือ มีโปรตีนสูง ย่อยง่าย ซึ่งจะช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี หนุ่ม ๆ ที่เล่นเวทหนัก ๆ แนะนำให้ทานไข่ต้มวันละ 2-4 ฟอง เป็นประจำ (แต่ทานเฉพาะไข่ขาวนะ) รับรองกล้ามเนื้อคุณจะแน่นขึ้นจนเห็นได้ชัด

สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  ปลาแซลมอน เพราะในเนื้อปลาหรือน้ำมันปลาแซลมอนนี้มีสารโอเมก้า 3 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และยังช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันในร่างกายอีกด้วย ดังนั้น คุณจึงควรเลือกทานปลาทะเลน้ำลึกอย่างพวกปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และปลาเทราต์ ฯลฯ เพราะให้ทั้งโปรตีนและกรดไขมันคุณภาพสูงที่ดีต่อร่างกาย


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  นม ถือเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่หาง่าย และราคาไม่แพง เมื่อตื่นเช้าไปแล้วจะถูกดูดซึมได้ดี แถมยังมีวิตามิน D และแคลเซียมที่จำเป็นต่อร่างกายด้วย ผู้ที่อยู่ในช่วงสร้างกล้ามเนื้อหรือกำลังลดน้ำหนักอยู่ แนะนำให้ดื่มนมรสจืดหรือนมพร่องมันเนยจะได้ประโยชน์ตรงจุดที่สุด


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  โยเกิร์ต ประโยชน์ของโยเกิร์ตนอกจากช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีแล้ว โยเกิร์ตยังเหมาะกับคนที่เล่นเวท เพื่อสร้างกล้ามเนื้อด้วย เพราะในโยเกิร์ตมีธาตุสังกะสีอยู่เยอะ ซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี และยังช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่สึกหรอจากการออกกำลังกายอีกด้วย


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  ถั่วชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะให้โปรตีนสูง โดยเฉพาะถั่วเหลือง แล้วในถั่วต่าง ๆ ยังไม่มีไขมันอิ่มตัว ซึ่งเมื่อเทียบกับอาหารจำพวกเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว หรือเนื้อหมูแล้ว เนื้อพวกนี้จะมีไขมันอิ่มตัวอยู่เยอะมาก นอกจากนี้อาหารประเภทถั่วยังมีไฟเบอร์ซึ่งช่วยในการขับถ่าย และช่วยในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อด้วย


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารธัญพืชที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายและยังไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย เพราะในข้าวโอ๊ตนั้นมีไฟเบอร์สูง ซึ่งจะช่วยชะลอการดูดซึมและลดไขมันได้ดี


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  กาแฟ เนื่องจากในกาแฟมี คาเฟอีนอยู่ ซึ่งประโยชน์ของคาเฟอีนก็คือ มีส่วนช่วยในการเพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อ ลดความอ่อนล้า จึงทำให้คุณสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นนั่นเอง


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  กล้วยหอม เป็นผลไม้ที่ ให้พลังงานกับผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือนักกีฬา เพราะกล้วยหอมมีแมกนีเซียมที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมีแรงและฟื้นตัวจากความ เหนื่อยล้าได้เร็ว ซึ่งหลายคนอาจเคยเห็นนักเทนนิสระดับโลก มักจะทานกล้วยหอมในช่วงพักเบรก ซึ่งก็ไม่ต้องแปลกใจหรอก เพราะกล้วยหอมนี้สามารถทานได้ทั้งก่อนหรือหลังออกกำลังกายเลยล่ะ


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  แอปเปิ้ล หากทานเป็นประจำแล้วจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อ เพราะในแอปเปิ้ลมีสารที่ชื่อเควอซิทิน ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของกล้ามเนื้อในคนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ นอกจากนี้ในแอปเปิ้ลยังมีไฟเบอร์ซึ่งจะช่วยดูดซับไขมันได้อีกด้วย


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  พริก คือ พืชที่อุดมไปด้วยสารแคปไซซินซึ่งจะเป็นตัวควบคุมไขมัน และเร่งการเผาผลาญไขมันได้ดี อีกทั้งยังมีสารเสริมพลังที่ทำให้กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น


สร้างกล้ามเนื้อง่าย ๆ ได้ด้วยอาหาร

  น้ำ เป็นของเหลวที่ร่างกายเราขาดไม่ได้เลย นอกจากน้ำจะมีประโยชน์ต่อการลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ ผ่านไปตามร่างกายแล้ว น้ำยังมีส่วนช่วยในการเร่งการเผาผลาญในร่างกายเราด้วย ดังนั้น การที่จะมีกล้ามใหญ่ ๆ ได้นอกจากการออกกำลังกาย และเลือกรับประทานทานอาหารแล้ว การดื่มน้ำสะอาดก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คุณมีสุขภาพดี




ขอมูลจาก http://www.yanchaow.com