วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

นมแม่แสนวิเศษ

             อาหารชั้นเลิศสำหรับลูกน้อย  สำหรับเด็กทารกแล้ว  อาหารชั้นเลิศใดๆในโลกคงทียมไม่ได้กับน้ำนมของแม่  ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดน้ำนมแม่ล้วนจัดถูกให้เป็นสุดยอดเมนูคู่ลูกน้อยทุกคน  ในปัจจุบันการตื่นตัวการกินนมให้ลูกนมแม่มากขึ้น  ยิ่งในช่วงที่ผ่านมามีปัญหานมผสมการปนเปื้อนของสารเบลานีน  นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการทางด้านต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญา  และความสามารถในการปรับตัว  การเรียนรู้สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จึงน่าจะถือว่าการมให้ลูกกินนมแม่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของพ่อแม่  ( Parental  investment ) ดีกว่าการฝากธนาคาร  หรือการซื้อหุ้น  เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับมีแต่เพิ่มขึ้นๆตามอายุของลูก      
             การให้ลูกกินนมแม่มีประโยชน์ต่อคน  3  กลุ่ม  กล่าวคือ  ประโยชน์ต่อตัวคุณแม่จะทำให้น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากมายในระหว่างการตั้งครรภ์ลดลงอย่างรวดเร็ว  โดยไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งสถานเสริมความงามต่างๆ  นอกจากนี้โอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมของแม่ก็ลดลงด้วย  ประโยชน์ต่อลูกคือ  เด็กที่กินนมแม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้  หอบหืด  ผื่นแพ้  และโรคติดเชื้อในระบบต่างๆ  เช่น  ระบบทางเดินหายใจ  ระบบทางเดินอาหาร  ฯลฯ  ลดลงและยังเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย  มีพัฒนาการทั้งด้าน IQ,EQ และ Q ต่างๆเพิ่มขึ้น  ประโยชน์ต่อตัวคุณพ่อ  แน่นอนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อนมผสมต่างๆ  แถมยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่นเข้มแข็งอีก 
            ประโยชน์ของนมแม่      นมแม่เป็นอาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงทารก  เพราะมีสารอาหารต่างๆครบถ้วน  ปริมาณเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของทารก  ย่อยและดูดซึมง่าย  ต่างจากนมผสมต่างๆที่พยายามจะเพิ่มโปรตีนหรือสารอาหารต่างๆลงไปจนสูงเกินความต้องการของทารก  ซึ่งอาจส่งผลเสียในอนาคตมากกว่าผลดี  นมแม่มีทอรีน  ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกสูงกว่านมวัวถึง  55 เท่า  ซึ่งทอรีนนี้เป็นส่วนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ  สมองและเซลล์รับภาพของตา  นมแม่ยังมีนิวคลีโอไทด์  ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆของเซลล์ที่จำเป็นต่อโครงสร้างการเจริญเติบโต  พลังงานและเมตาบอลิซึมต่างๆมนร่างกาย 
            นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการย่อย  และการเจริญของเยื่อบุลำไส้เล็ก  ทำให้ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย  มีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น   ช่วยนากรดูดซึมธาตุเหล็ก  และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค  สำหรับนมผสมนั้นมีปริมาณนิวคลีโอไทด์น้อย  และชนิดทีมียังแตกต่างจากนมแม่มาก  ไขมันในนมแม่ที่เรารู้จักมีหลายชนิด  แต่ชนิดที่สำคัญและมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายก็คือ  DHA  นั่นเอง  ไขมันเหล่านี้มาจากไขมันในอาหารของแม่  ไขมันที่เต้านมสังเคราะห์ขึ้นและไขมันที่สะสมไว้ในเนื้อเยื่อของแม่  เพราะฉะนั้นอาหารทีแม่กินจึงมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับชนิดและคุณภาพของไขมันในน้ำนมด้วย  นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีประโยชน์ด้านการส่งเสริมด้านการสร้างภูมิคุ้มกันในเชื้อโรคต่างๆได้อีกด้วยมารู้จักนมแม่ให้มากขึ้น     
           โดยปกติแล้วนมแม่แต่ละช่วงจะแตกต่างกัน  แบ่งคร่าวๆก็คือ ในช่วง 2 3 วันแรกหลังคลอดเรียกว่า  Colostrum (น้ำนมเหลือง)  ระยะต่อมาถึง 2 สัปดาห์หลังคลอดเรียกว่า Transitional milk หลังจากนั้นเรียกว่า Mature milk  เห็นมั้ยคะ  ธรรมชาติแสนวิเศษ  นมแม่แต่ละช่วงมีความเหมาะสมกับลูกในแต่ละวัย  เพราะฉะนั้นคงไม่เกินเลยไปนักหากจะกล่าวว่า  นมแม่สิแน่จริง  น่าจะเป็นสิ่วที่ถูกต้อง     

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ไขมันเกาะตับอันตราย เสี่ยงมะเร็งตับ ตับแข็ง

ไขมันเกาะตับอันตราย  เสี่ยงมะเร็งตับ  ตับแข็ง     
            หากพูดถึงโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ  เรามักจะนึกถึงสาเหตุการเกิดโรคว่ามาจากการดื่มสุรา  ไวรัสตับอักเสบ  หรือมาจากยาบางชนิด  แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงตัวการสำคัญอีกประเภทที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับไตได้เช่นกันคือ  ภาวะไขมันสะสมในตับ  ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา  ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่พบบ่อยและพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ในปัจจุบันทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า  Non Alcoholic  Fatty  Liver  Disease  (NAFLD) หรือถ้ามีการอักเสบหรือบวมของเซลล์ตับร่วมด้วย  ก็จะเรียกว่า  Non Alcoholic  Steatohepatitis  (NASH)
ภาวะสะสมไขมันในตับ(หรือโรคไขมันเกาะตับ)     
            คือ  ภาวะที่มีการสะสมไขมันภายในเซลล์ตับ  ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์  โดยอาจมีเพียงการสะสมของไขมันอย่างเดียว  หรืออาจมากรอักเสบของตับร่วมด้วย  ซึ่งในผู้ป่วยบางราย  การเรื้อรังนี้อาจนำไปสู่การเกิดพังผืดในตับ  หรือที่เราเรียกว่าภาวะตับแข็งได้ภาวะไขมันสะสมได้บ่อยขนาดไหน?      การศึกษาในประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นพบว่าประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ  10 20  มีภาวะไขมันสะสมในตับโดยการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์  และประมาณร้อยละ 1 3 จะพบการอักเสบเรื้อรังของตับร่วมด้วย  โดยจะพบเพิ่มขึ้นในประชากรที่มีอายุมากกว่า  40  ปีขึ้นไป  สำหรับประเทศไทยยังไม่มีความชุกของโรคนี้ชัดเจน  แต่เชื่อว่าคงใกล้เคียงกับข้อมูลของต่างประเทศ      กรณีที่ผู้ป่วยมีค่าการทำงานของตับผิดปกตินานกว่า  3  เดือน  ซึ่งบอกถึงภาวะตับอักเสบเรื้อรังโดยที่ไม่ได้เกิดจากไวรัสตับอักเสบ  บี,  ซี,  การดื่มสุรา  หรือรับประทานยา  พบว่ามากว่าร้อยละ  60  ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะไขมันสะสมในตับที่อาจเป็นสาเหตุได้
สาเหตุและความเสี่ยงของภาวะไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา     
           สาเหตุของโรคนี้  ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด  อาจมีหลายปัจจัยร่วมด้วยกัน  โดยข้อมูลในปัจจุบันเชื่อว่าปัจจัยสำคัญของการเกิดภาวะไขมันสะสมในตับคือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ( insulin resistance  )และจากนั้นอาจมีกลไกอื่นที่มากระตุ้นให้เซลล์ตับที่มีไขมันเกาะอยู่นั้นเกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับลักษณะผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์กับการดื้อต่ออินซูลิน  หรือที่ทางการแพทย์เรียกอาการกลุ่มนี้ว่า  Metabolic syndrome   ได้แก่ผู้ป่วยที่มีลักษณะต่อไปนี้1.  อ้วน  โดยเฉพาะอ้วนที่ลำตัว  หรือลงพุง (รอบเอวมากกว่า  36  นิ้วในผู้ชาย  หรือมากกว่า  32  นิ้วในผู้หญิง )2.  เป็นเบาหวาน3.  ไขมันในเลือดสูง  โดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์4.  ความดันโลหิตสูง   พบว่าผู้ป่วยที่มีอย่างน้อย  1  ข้อ  ดังกล่าว  จะมีโอกาสเกอดภาวะไขมันในตับสูง  กล่าวคือประมาณร้อยละ  80  ของคนอ้วน  และร้อยละ 20 40 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภาวะสะสมไขมันในตับ
อาการของภาวะสะสมในตับ           
           ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการ  มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็คสุขภาพ  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการจุกแน่นชายโครงด้านขวา  หรือในรายที่เป็นมานานอาจมีอาการเริ่มต้นของภาวะตับแข็ง  เช่น  อ่อนเพลีย,ท้องโต  เป็นต้น  การตรวจร่างกายโดยแพทย์  ในระยะแรกมักจะปกติหรือพบแค่การตรวจเลือด  การดูการทำงานของตับ  จะพบค่า  ALT และ AST  มีค่าสูงกว่าปกติประมาณ 1.5 4 เท่า  ซึ่งบ่งถึงการอักเสบของเซลล์ตับ  และอาจมีค่า ALP สูงขึ้นเล็กน้อย 
การวินิจฉัยภาวะสะสมไขมันในตับ        
1.  ตรวจเลือดดูการทำงานของตับ  จะพบว่ามีการอักเสบ (ค่า ALT และ AST  สูงขึ้นกว่าปกติ        
2.  ตรวจเลือดดูระดับน้ำตาลและไขมัน  อาจมีค่าสูงกว่าปกติ        
3.  ตัดโรคอื่นที่เป็นสาเหตุของภาวะตับอักเสบเรื้อรังออกไป  โดยประวัติและการตรวจเลือด (เช่น  การดื่มสุรา, ทานยา ,ไวรัสตับอักเสบ  บี  หรือซี  เป็นต้น)  หรือบางรายอาจจำเป็นต้องเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ       
4.  ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์  จะพบว่าตับมีสีขาวขึ้นกว่าปกติ  และอาจมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย  ซึ่งเกิดจากการที่มีไขมันแทรกอยู่ในเซลล์ตับทั่วๆไป        
 5.  ตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT scan ) และเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI         
 6.  เจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจทางพยาธิวิทยา  ซึ่งมีประโยชน์ช่วยบอกสาเหตุ  และประเมินความรุนแรงของภาวะตับอักเสบอาจจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยบางราย
อันตรายของภาวะไขมันสะสมในตับ           
            โดยรวมแล้วไขมันสะสมในตับมักมีพยากรณ์โรคที่ดี  เราสามารถแบ่งภาวะความรุนแรงของภาวะไขมันสะสมในตับได้เป็น  4  ระดับตามลักษณะทางพยาธิวิทยา  โดยผู้ป่วยส่วนมาก  จะอยู่ในระดับที่ 1 และ 2 ซึ่งไม่รุนแรง  คือมีเพียงไขมันสะสมในเซลล์ตับอย่างเดียวหรืออาจมีการอักเสบที่ไม่รุนแรงร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสบายดีแม้ว่าจะติดตามไปนาน 10 20 ปีสำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะไขมันสะสมในตับในความรุนแรงระดับ 3 และ 4 กล่าวคือมีการอักเสบรุนแรงทำให้เซลล์ตับบวม  และอาจมีพังผืดในตับเกิดขึ้นร่วมด้วย  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องระวังเนื่องจากสามารถเกิดตับแข็งได้ได้ร้อยละ 20 30 ในเวลา 10 ปี และทำให้เสียชีวิตจากโรคตับ  หรือมะเร็งตับได้ประมาณร้อยละ 9  ในเวลา  10  ปี  โดยปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่จะมีการดำเนินโรคที่รุนแรงนี้  ได้แก่  อายุมาก  อ้วนมาก  หรือเป็นเบาหวานร่วมด้วย
การปฏิบัติตัวเมื่อทราบว่าตนเองมีภาวะไขมันสะสมในตับ           
            เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่ได้ผลการรักษาดีมาก  หรืหายขาดจากโรคนี้  ดังนั้นการรักษาที่สำคัญ  และได้ประโยชน์มากที่สุดคือการลดน้ำหนัก  ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าลดไขมัน  และการอักเสบในตับได้จริงโดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยอ้วน  อีกทั้งยังมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวมด้วย  แนะนำให้ค่อยๆลดน้ำหนักลงประมาณ 1 2 กิโลกรัมต่อเดือน  โดยตั้งเป้าให้ลดลงอย่างน้อยร้อยละ  15  ของน้ำหนักเริ่มต้น  หรือจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ  วิธีลดน้ำหนักที่ถูกสุขภาพ  คือควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง  ได้แก่  นม  เนย  ชีส  กะทิ  ปลาหมึก  กุ้ง  ไขมันสัตว์  และไข่แดง  การทานอาหารจำพวกแป้ง  หรือน้ำตางมากเกินไป  ก็สามารถเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้เช่นกัน  ควรลดขนาดอาหารของมื้อแต่ละมื้อ  โดยเฉพาะมื้อเย็น  แต่ต้องพึงระวังไว้ว่าการลดน้ำหนักที่เร็วเกินไปหรือลดอย่างผิดวิธี  เช่นการอดอาหาร  หรือการใช้ยาลดความอ้วนโดยไม่มีข้อบ่งชี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ  และทำให้ตับอักเสบแย่ลงได้            การควบคุมระดับน้ำตาล  และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้  การใช้ยาลดไขมันจะสามารถลดระดับไขมันในเลือด  รวมถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้  อีกทั้งยาลดไขมันเองยังก่อให้เกิดตับอักเสบได้ในผู้ป่วยบางราย  ดังนั้น จึงเริ่มต้นแนะนำให้ควบคุมอาหารร่วมกับออกกำลังกายก่อนเสมอ  และในรายที่ต้องใช้ยาลดไขมัน  ก็ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์  ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า  และการใช้ยาที่ไม่จำเป็น  โดยเฉพาะยาสมุนไพรที่เราไม่ทราบส่วนผสม  เนื่องจากยาเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อตับโดยตรง  และจะทำให้แพทย์มีความสับสนในการติดตามภาวการณ์อักเสบของตับโดยการตรวจเลือดได้การรักษาภาวะไขมันสะสมในตับด้วยยา            เป้าหมายของการรักษาภาวะไขมันสะสมในตับ  คือ  ลดปริมาณไขมันและการอักเสบภายในตับ  เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดหรือตับแข็งในอนาคต  ซึ่งยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงการศึกษาวิจัย  อย่างไรก็ตาม  มียาหลายตัวที่มีหลักฐานจากการศึกษามากพอสมควร  และมีข้อมูลบ่งว่าน่าจะมีประโยชน์  สามารถลดความผิดปกติของค่า ALT และ AST  ในเลือด  รวมถึงการลดปริมาณไขมันและการอักเสบภายในตับลงได้  ได้แก่  1.  ยากลุ่มกระตุ้นความไวต่ออินซูลิน  ได้แก่ยา  Metformin  และ  Thiazolidinediones 2.  วิตามินอี  ขนาด 800 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน  ซึ่งมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ( Anti oxidant ) 3.  ยา Pentoxifylline  มีฤทธิ์ต้านสาร  TNF  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบของตับ4.  Ursodeoxycholic  Acid  ( UCDA ) เป็นกรดน้ำดีที่มีประโยชน์กับตับ5.  Silymarin เป็นสารสกัดจากดอก Milk  Thrisle  มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ      เนื่องจากยาแต่ละตัวอาจมีผลข้างเคียงได้และเหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆกัน  ดังนั้นการใช้ยาควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์  เพื่อการติดตามที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เกิดตับแข็งแล้ว  ก็ยังมีการรักษาอีกหลายอย่างที่จะช่วยให้อาการดีขึ้น  และภาวการณ์ป้องกันแทรกซ้อนได้  ตลอดจนปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนตับในกรณีที่เป็นตับแข็งในระยะสุดท้าย  สามารถทำได้แล้วในประเทศไทย



วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย

              ขณะออกกำลังกายหนักร่างกายสามารถผลิตความร้อนมากกว่าขณะพักผ่อนถึงประมาณ  20 – 30  เท่า  ร่างกายจะเกิดการหลั่งเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกนอกร่างกาย โดยที่จะเกิดความสมดุลเมื่อผลิตความร้อน เท่ากับความร้อนที่ระบายออก ดังนั้นความร้อน  และความเย็นของอากาศบริเวณที่ฝึก จึงมีความสำคัญต่อการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย  และประสิทธิภาพในการทำงาน
   
              จากงานวิจัยของ            เพ็ญจันทร์  ศรีสุขสวัสดิ์ (2518)  ได้ศึกษาถึงอิทธิพลของความร้อนและความเย็นที่มีต่อการฝึกกล้ามเนื้อ โดยฝึกงอข้อมือ และเหยียดข้อมือ 120 ครั้ง/นาที ในตู้ปรับอากาศร้อน  ตู้ปรับอากาศเย็น และตู้ปรับอากาศธรรมดา ฝึก 4 สัปดาห์ ๆ ละ  4  วันๆ ละ 1 นาที นำผลการทดสอบไปหาค่าทางสถิติโดยการทดสอบค่า “ ที ” (t – test) พบว่า อากาศแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการฝึกกล้ามเนื้อ โดยที่สภาพอากาศแวดล้อมที่ร้อนกว่าปกติให้ผลในเชิงส่งเสริมการฝึก เห็นได้จากความสามารถในการทำงานมีมากกว่าการฝึกในอากาศปกติ



 
 
 

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ความสำคัญของเอทีพี พีซีกับการสร้างพลังงานในเชิงแอนแอโรบิค

              เอทีพี    ซีพี   และกรดแลคติค ในกล้ามเนื้อมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  กับการสร้างพลังงานในเชิงแอนแอโรบิค  จอร์เฟล์ดท  (Jorefeldt, 1970)    ได้ทการศึกษาเกี่ยวกับการสลายตัวของฟอสฟาเจน (ATP + CP)  และการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อในการออกกำลังกายสูงสุด  และเกือบจะสูงสุด   โดยให้ผู้รับการทดลองที่ได้รับการฝึกออกกำลังกาย   13  คน  และผู้ที่ไม่ได้รับการฝึก   15  คน  พบว่า  มีการสลายตัวของครีเอทีนฟอสเฟตในการออกกำลังกายเกือบจะสูงสุดทั้งสองกลุ่ม   การสะสมของกรดแลคติคจะเริ่มขึ้นเมื่อการออกกำลังกายมีระดับ  50 65 % ของสมรรถภาพในการรับออกซิเจนสูงสุดของแต่ละคน  และพบว่า  ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกจะมีการสะสมของกรดแลคติคสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึก  และในกลุ่มที่ได้รับการฝึก  จะมีการสร้าง  เอทีพี และซีพี   ขึ้นทดแทนได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก  
              ซึ่งสอดคล้องกับ   (เทเวศร์    พิริยะพฤนท์, 2523  อ้างอิงจาก Thomas, 1974)  ที่ทำการศึกษาเรื่อง  การทำงานแบบ แอนแอโรบิค ที่ระดับงานสูงสุดในผู้เข้ารับการทดลองที่มีสมรรถภาพสูง  8  คน  และ สมรรถภาพปานกลาง  8  คน  ให้ออกกำลังกายโดยการถีบจักรยานเป็นเวลา   6   นาที ที่ความหนักของงาน   70 %   ,  80 %   และ   90%ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของแต่ละคน  หลังจากงานสิ้นสุดลง  ทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ   และเจาะตัวอย่างเลือดหลังจากการออกกำลังกายแล้ว   3 ½  นาที  เพื่อวิเคราะห์หากรดแลคติค  พบว่า กลุ่มที่มีสมรรถภาพสูงจะมีกรดแลคติค  หลังการออกกำลังกายต่ำกว่ากลุ่มที่มีสมรรถภาพปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และพบว่า  กลุ่มที่มีสมรรถภาพทางกายสูง จะมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่ากลุ่มที่มีสมรรถภาพทางกายปานกลาง   นอกจากนี้ความหนักของงาน ที่เพิ่มขึ้น  จะมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของกรดแลคติคในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ