วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การนวดกับกีฬาสำคัญอย่างไร?


            ปัจจุบันจะเห็นว่านักกีฬาของหลายสมาคมกีฬามีความต้องการที่จะเรียกหาและเรียกใช้บริการ หมอนวดกัน อย่างแพร่หลายมากขึ้น การนวดมีความสำคัญอย่างไรในการเล่นกีฬา สำนักกีฬา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอแนะนำการนวดในทางการกีฬา มีผลดีอย่างไรกับนักกีฬา           
             การ นวดในทางการกีฬา ต้องบอกว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะปัจจุบันนี้ขณะที่เราเล่นกีฬาอยู่นั้นร่างกายมักเกิดอาการเมื่อยล้า และกล้ามเนื้อมีความตึงตัว หรือเกร็งตัว ซึ่งสิ่งนี้    ส่ง ผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อลดลงอย่างมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการอ่อนล้าได้ คือ การนวดนั่นเอง แต่คนที่ทำหน้าที่นวดนั้น จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางการนวดเป็นอย่างดี และที่สำคัญต้องมีความเข้าใจกระบวนการการเกิดการบาดเจ็บของร่างกายขณะเล่น กีฬาอย่างดีด้วย
              อาการเมื่อยล้าส่วนใหญ่พบได้บริเวณดังต่อไปนี้ การเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินไป หรือเป็นภาวะเกิดการล้าของกล้ามเนื้อแล้วผลที่ตามมาคือ ทำให้ความแข็งแรงของการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง

สาเหตุของการเกิดการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ

1.  เกิด จากการทำงานที่ผิดปกติของกลไกการหายใจ มีผลทำให้การนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อลดน้อยลง เพราะออกซิเจนเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการสร้างพลังงาน
2.  การ หดตัวค้างไว้เป็นเวลานาน ๆ ของกล้ามเนื้อ จะทำให้ออกซิเจนที่มาเลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งเป็นภาวะปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวในกรณีที่มีการออกกำลังกายเท่านั้น
3.  หาก เกิดความผิดปกติที่ระบบหายใจและหลอดเลือดจะทำให้ขาดเลือด และสารอาหารที่จะไปเลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อ การขาดเลือดไปเลี้ยงส่งผลกระทบทำให้เกิดการสะสมของของเสียเกิดขึ้นมากกว่า ปกติขณะที่กล้ามเนื้อมีการทำงาน
4.  การ ขาดสารอาหารจะทำให้ขาดกลูโคสไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อ จะส่งผลให้พลังงานที่ใช้ในการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง เนื่องจากกระบวนการสร้างพลังงานของร่างกาย ต้องการสารอาหารที่กินเข้าไปร่วมกับออกซิเจนที่หายใจเข้าไป
5.  การ ลดลงของการนำแคลเซี่ยมเข้าสู่ร่างกายหรือการดูดกลับที่ไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดการกำจัดความแข็งแรงและการหดตัวของกล้ามเนื้อ เนื่องจากแคลเซี่ยมไอออนใช้ในกระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ
6.  ผลิตผล ที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมีการหดตัว ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อผลิตผลทั้งหมดนี้ เป็นของเสียและทำให้กล้ามเนื้อมีการอ่อนแรง ไม่สามารถหดตัวได้เต็มที่การ นวดทำให้อาการเมื่อยล้าลดลง ที่สำคัญการนวดนั้นจะไปเพิ่มเลือดไปเลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการนวดสามารถทำให้ลดการคั่งค้างของเสียได้อีกด้วย 
การเกร็งของกล้ามเนื้อ เกิดจากการหดตัวอย่างทันทีของกล้ามเนื้อแบบไม่ได้ตั้งใจ ส่วนในกรณีที่เป็นการเกร็งเรื้อรัง จะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อมีการหดตัวสลับกับการคลายตัว หรือมีการหดตัวค้างไว้นาน ๆ อาการเกร็งและปวดเกร็งที่มากขึ้นอาจทำให้เกิดการเป็นตะคริวได้ การที่กล้ามเนื้อมีการตึงตัวขณะที่กล้ามเนื้อหดตัวบ่อย ๆ มักทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณเนื้อเยื่อถูกทำลายและมีอาการปวด           
            ดัง นั้นการนวดจะทำให้การไหลเวียนดีขึ้นและช่วยลดการสร้างสารเมต้าโบไลท์ ลดแรง ที่กดบนตัวรับความรู้สึกปวด ทำให้อาการปวดลดลง การขาดเลือดของกล้ามเนื้อมักจะทำให้เกิดการอักเสบพอ ๆ กับเนื้อเยื่อถูกทำลายและมีอาการปวด 

กล้ามเนื้อมีพังผืด พังผืด เกิดจากการสร้างของพังผืดที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่กล้ามเนื้อได้รับการเสียหายหรือการอักเสบ อาการดังกล่าวเกิดจากที่กล้ามเนื้อมีการยืดค้างไว้นาน ๆ เพราะว่าเซลล์ของกล้ามเนื้อส่วนมากแล้วไม่สามารถแบ่งตัวได้ การบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อจะถูกแทนที่ด้วยพังผืด

            การ เกิดพังผืด มักพบบ่อยที่กล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงตัว เช่น กล้ามเนื้อบริเวณหลัง โดยปกติแล้วเกิดจากการที่มีการใช้งานมากเกินไป หรือกลไกที่มีทำให้มีการยืดต่อรูปแบบของการรักษาท่าทาง           
            การ นวดจะทำให้ป้องกันการเกิดพังผืด ใครที่เริ่มรู้ว่ามีพังผืดเกิดขึ้นควรรีบเข้ารับการรักษา เพราะเมื่อเกิดเป็นพังผืดแล้วจะมีการเพิ่มมากยิ่งขึ้น ถ้ากล้ามเนื้อมีการใช้แรงงานมากเกินไป หรือเกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงตัว การนวดจะช่วยทำให้เพิ่มหน้าที่การทำงานของกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อที่ ใช้ในการทรงตัวอยู่ในสภาวะสมดุล 

การนวดทางการกีฬาที่สำคัญแบ่งการนวดออกเป็น 3 ช่วงดังนี้

1.  การนวดก่อนการฝึกซ้อมกีฬา หรือก่อนการเล่นกีฬา ควรมีการนวดเพื่อช่วยใน     การอบอุ่นกล้ามเนื้อ เพื่อลดอัตราเสี่ยงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะทำการฝึก ดังนี้
-          การลูบหลัง และกด
-          การบีบโดยเทคนิคที่ทำคือ จะต้องใช้แรงกดน้อย แล้วเคลื่อนไหวเร็ว
-          การเคาะเบา เทคนิคทั้ง 3 นี้ควรจะทำสลับกันไปมา และทำหลาย ๆ ครั้ง ถ้ามีการยืดกล้ามเนื้อบริเวณแขนขาจะช่วยให้ความอบอุ่นของกล้ามเนื้อด้วย
2.  การนวดขณะทำการฝึกซ้อม การทำการฝึกหรือการเล่นกีฬา การนวดจะช่วยทำให้สมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ การนวดขณะทำการฝึกซ้อมประกอบกับเทคนิคดังนี้
-          เทคนิคการลูบหนัก จะช่วยให้มีการเคลื่อนที่ของของเสียที่เกิดขึ้น หลังจากที่กล้ามเนื้อมีการทำงาน
-          การ บีบ และ การคลึง จะช่วยให้ลดการตึงของกล้ามเนื้อ และช่วยทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น เนื่องจากพังผืดบริเวณกล้ามเนื้อ และข้อต่อลดลง
-          การยืดกล้ามเนื้อ เพื่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
3.  การนวดหลังการฝึกซ้อม การ นวดหลังการเล่นกีฬามีความสำคัญอย่างไร เราพบว่ากล้ามเนื้อจะมีของเสียเกิดขึ้นมาก เช่น แลคติก แอซิค คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ พบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้า หรือสูญเสียหน้าที่การทำงานไปบางส่วนได้ การลูบจะช่วยให้ของเสียที่คั่งค้างลดลง และทำให้ออกซิเจน และสารอาหารไปยังกล้ามเนื้อมากขึ้น แต่ไม่ควรนวดหลังจากการฝึกเล่นกีฬาในทันทีทันใด การนวดควรทำหลังจากการฝึกซ้อมหรือการเล่นกีฬาไปประมาณ 30 นาที อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกีฬาหรือลักษณะของการฝึกซ้อม 
            ดัง นั้นจะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการนวดในทางกีฬา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัจจุบันนี้ทำไมนักกีฬาไทยและนักกีฬาทั่วโลกจึงหันมาให้ ความสำคัญกับการนวดมากขึ้น เพราะ ว่าการนวดมีประโยชน์มากเกินกว่าจะบรรยาย ข้อมูลโดย คุณสุภาภรณ์ ศิลาเลิศเดชกุล (ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)  วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬา และวารสารกีฬา ประจำเดือนเมษายน พ.. 2548 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฝ่ายวิชาการ นายสมคิด  ชูฤทธิ์ สำนักกีฬา ม..)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น