วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัยผลของแอล-คาร์นิทีนต่อสมรรถนะการกีฬาและประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย

งานวิจัยผลของแอล-คาร์นิทีนต่อสมรรถนะการกีฬาและประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย



แอล-คา ร์นิทีน ถูกนำมาใช้ในวงการกีฬาตั้งแต่ปี 1980  ด้วยกลไกสำคัญที่แอล-คาร์นิทีนช่วยการสร้างพลังงานจากการสลายไขมันซึ่งเป็น สิ่งจำเป็นมากในระหว่างการออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายแบบทน นาน (endurance exercise) เนื่องจากไขมันเป็นหนึ่งในแหล่งเชื้อเพลิงหลักที่จะให้พลังงานสำหรับกิจกรรม ของร่างกาย การศึกษาวิจัยทางคลินิคชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการเสริมอาหารด้วย แอล-คาร์นิทีนต่อสมรรถนะในการออกกำลังกาย  ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้นโดยไม่เหนื่อยล้าได้ง่าย  นักวิจัยยังพบอีกว่าการออกกำลังกายทำให้เกิดการสูญเสียแอล-คาร์นิทีนไปในปัส สวะ ส่งผลให้ระดับแอล-คาร์นิทีนในกล้ามเนื้อลดต่ำลง ซึ่งขบวนการตามปกติของร่างกายอาจจะไม่สามารถชดเชยระดับแอล-คาร์นิทีนได้ อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเสริมอาหารด้วยแอล-คาร์นิทีนจึงเป็นการช่วยเพิ่มหรือคงรักษาระดับ ของแอล-คาร์นิทีนในกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การเสริมอาหารด้วยแอล-คาร์นิทีนยังช่วยทำให้หัวใจได้รับพลังงาน เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษในระหว่างการออกกำลังกาย

 

แอล-คา ร์นิทีน เป็นสารเสริมอาหารที่มีความสำคัญไม่แต่เฉพาะต่อสุขภาพหัวใจ  แต่ยังมีความโดดเด่นในแง่ของการเพิ่มสมรรถนะทางการกีฬาและประสิทธิภาพในการ ออกกำลังกาย  ช่วยลดอาการเหนื่อยล้าให้เกิดช้าลงทำให้เล่นกีฬา ออกกำลังกายหรือทำงานได้ทนนานขึ้น  และยังช่วยการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อที่บอบช้ำบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ทั้งในบุคคลธรรมดาและผู้ที่เป็นนักกีฬา

แอล-คาร์นิทีนช่วยเพิ่มสมรรถนะทางการกีฬา เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย

การศึกษาวิจัยที่ 1 ในปี 1997 นักวิจัยได้รายงานผล นักวิ่งมาราธอนที่รับประทานแอล-คาร์นิทีนเสริมอาหาร 2กรัมต่อวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความเร็วสูงสุดได้เฉลี่ย 5.7%
แอล-คาร์นิทีนช่วยเพิ่มความแข็งแกร่ง(ความอึด) ในการกีฬา /การออกกำลังกาย
ค่าที่ใช้ในการวัด คือ VO2max (VO2max เป็นมาตราฐานที่นักเวชศาสตร์การกีฬาใช้วัดความสามารถในกีฬาประเภทที่ต้อง ใชความทนนาน  VO2max เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการคงระดับการออกกำลังกายหนักมากกว่า 4-5 นาที  ค่าVO2max สามารถเพิ่มได้จากการฝึกฝน)

การศึกษาวิจัยที่ 2 นักเดินแข่งขันระยะไกลที่รับแอล-คาร์นิทีนเสริมอาหาร 4 กรัมต่อวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าค่า VO2max เพิ่มขึ้น 6 % ซึ่งโดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหากค่า VO2max เพิ่มขึ้นเพียง 5 % ก็สามารถทำให้อันดับของการแข่งขันจากที่เฉลี่ยปานกลางพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ อันดับสูงสุดได้

การศึกษาวิจัยเพิ่มเติม การฝึกฝนเพิ่มเติมร่วมกับการให้แอล-คาร์นิทีนเสริมอาหาร 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน  พบว่าค่า VO2max เพิ่มขึ้นถึง 11 % ซึ่งจะส่งผลชัดเจนต่อสมรรถนะการกีฬาอย่างมีนัยสำคัญ

แอล-คาร์นิทีนช่วยลดความเหนื่อยล้าในการออกกำลังกาย
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแอล-คาร์นิทีนเสริมอาหารเพื่อช่วยยืดเวลาการเกิดอาการ หนื่อยล้าจากการออกกำลังกายให้ช้าออกไป  อาการเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายนี้หากเกิดขึ้นเร็วก็จะลดสมรรถนะหรือ ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของคุณให้ต่ำลง  ปัจจัยหลัก 2 อย่างที่เป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าระหว่างการออกกำลังกาย คือ กรดแลคติก และ การขาดไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ

แอล-คาร์นิทีนกับกรดแลคติก
ในการออกกำลังกายจะเกิดผลผลิตเป็นสารชนิดหนึ่งเรียกว่ากรดแลคติกขึ้นมาใน กล้ามเนื้อ ซึ่งกรดนี้ในที่สุดก็จะแพร่เข้าสู่กระแสเลือด กรดแลคติกเป็นต้นเหตุของอาการเหนื่อยล้า  ปริมาณของกรดแลคติกที่ผลิตขึ้นอยู่กับความแรง(การใช้พละกำลัง)และระยะเวลา ของการออกกำลังกาย(ความทนนาน) รวมถึงระดับความฟิตของร่างกายของผู้ออกกำลังกาย  ตัวอย่างกีฬาที่ใช้พละกำลังและความทนนานสูง เช่น กีฬาวิ่งแข่ง แข่งเดินทน 20 กิโลเมตร เป็นกีฬาที่ต้องใช้พละกำลังขาสูงก็จะเกิดการสะสมของกรดแลคติกและนำไปสู่ อาการเหนื่อยล้า ถ้าลดการสะสมของกรดนี้ได้ ก็จะสามารถยืดเวลาการเกิดอาการเหนื่อยล้าให้ช้าออกไป  จากการศึกษาวิจัยจำนวนมากนักวิจัยพบว่า แอล-คาร์นิทีนสามารถลดการสะสมของกรดแลคติก จึงช่วยยืดเวลาการเกิดอาการเหนื่อยล้าให้ช้าออกไป

การศึกษาวิจัยที่ 3
การศึกษาวิจัย (double-blind crossover trial)โดยใช้อาสาสมัคร 10 คน รับประทาน แอล-คาร์นิทีน 2 กรัม ก่อนการออกกำลังกายหนัก 1 ชั่วโมง เปรียบเทียบผลกับการกินยาหลอก ผลการศึกษาปรากฏว่าแอล-คาร์นิทีนสามารถลดการเกิดกรดแลคติกในกระแสเลือด ส่งผลเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย 22.5 %

การศึกษาวิจัยที่4
ในการศึกษาวิจัย ลักษณะคล้ายการศึกษาวิจัยที่ 3  นักวิจัยรายงานผลของแอล-คาร์นิทีนที่สามารถลดระดับของกรดแลคติกในกระแส เลือดและพิ่มประสิทธิผลของการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญ  และสามารถเพิ่ม VO2max 7 %  สรุปผลจากการศึกษาวิจัยแอล-คาร์นิทีนช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายแบบแอโรบิ คทำให้สมรรถนะเพิ่มมากขึ้น

การศึกษาวิจัยที่5
การศึกษาวิจัย(double blind placebo-controlled study ) ในนักกรีฑราระดับนานาชาติ  พบว่าการเสริมอาหารด้วยแอล-คาร์นิทีน 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ส่งผลลดระดับกรดแลคติก  เพิ่มค่าVO2max  และค่าดัชนีความแข็งแรง อย่างมีนัยสำคัญ

แอล-คาร์นิทีนกับการขาดไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ
ไขมันและคาร์โบไฮเดรต เป็น 2 แหล่งเชื้อเพลิงสำคัญสำหรับพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกาย แหล่งไขมันประกอบด้วยกรดไขมันที่เก็บสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ไขมัน ในขณะที่แหล่งคาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยน้ำตาลในเลือดและและไกลโคเจนในกล้าม เนื้อ การออกกำลังกายจะทำให้ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อถูกใช้ไปหมดส่งผลให้เกิดอาการ เหนื่อยล้า  กีฬาและการออกกำลังกายหนักๆ ที่ต้องใช้พลังงานสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น แข่งวิ่งระยะสั้น ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อจะหมดไปอย่างรวดเร็ว  การออกกำลังกายที่ใช้ระยะเวลานานๆเช่น มาราธอน ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อก็มีโอกาสจะหมดไปได้เช่นเดียวกัน  ถ้าเราเพิ่มการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานในระหว่างการออกกำลังกาย ไกลโคเจนจะไม่หมดไป ดังนั้นอาการเหนื่อยล้าจึงถูกยืดให้เกิดช้าออกไป

การศึกษาวิจัยที่ 6
การศึกษาวิจัยในนักกรีฑาที่ผ่านการฝึกความทนนานในการออกกำลังกายมาแล้ว  โดยให้แอล-คาร์นิทีนเสริมอาหาร 2 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 28 วัน ผลการศึกษาปรากฏว่าสามารถลด Respiratory Quotient (RQ) ระหว่างการออกกำลังกายในระยะเวลา 45 นาทีอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก RQ ที่ลดลงเป็นตัวบ่งชี้การเพิ่มการใช้ไขมันแทนไกลโคเจน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถนะในที่สุด
Respiratory Quotient (RQ =อัตราส่วนระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ขจัดออกไปต่อก๊าซออกซิเจนที่รับเข้าสู่ร่างกาย)

การศึกษาวิจัยที่ 7
ในการศึกษาวิจัย ลักษณะคล้ายการศึกษาวิจัยที่ 6  นักวิ่งมาราธอนที่ได้รับการเสริมอาหารด้วยแอล-คาร์นิทีน 2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ปรากฏว่าค่า Respiratory Quotient (RQ) ลดลง ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่ามีการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานเพิ่มมากขึ้นในระหว่าง การออกกำลังกายแบบยาวนาน
และโดยสรุปจากข้อมูลการศึกษาวิจัย แอล-คาร์นิทีนมีประโยชน์ในการยืดเวลาการเกิดอาการเหนื่อยล้าให้ช้าออกไป  ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มสมรรถนะการกีฬาหรือการออกกำลังกายให้ถึงขีดสุด

แอล-คาร์นิทีนช่วยลดระยะเวลาการบอบช้ำบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากออกกำลังกาย
เมื่อเราเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ วันรุ่งขึ้นและต่อมาอีกถึง 2-3 วัน เราจะรู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวไปหมด และมีอาการบอบช้ำเจ็บปวดในส่วนกล้ามเนื้อที่ออกกำลังมากๆ อาการเหล่านี้เราเรียกว่า DOMS (Delayed Onset Muscle Soreness) DOMS เป็นความรู้สึกไม่สบายเนื้อตัวและเจ็บปวดกล้ามเนื้อ(ลาย) ที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการยืดของกล้ามเนื้อหรือการออกกำลังกายมากที่เราไม่ เคยชิน ซึ่งกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออื่น ๆจะได้รับบาดเจ็บจากแรงนี้ ความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นใน 24 ชั่วโมงแรก หลังออกกำลังกายและเพิ่มมากถึงระดับสูงสุดใน 1-3 วันหลังจากนั้นจะลดลง จากการศึกษาวิจัยพบว่าแอล-คาร์นิทีน จะช่วยบรรเทาอาการบอบช้ำเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย

การศึกษาวิจัยที่ 8
การศึกษาวิจัยในคนธรรมดาที่ไม่ได้ฝึกฝน ไม่ได้เป็นนักกีฬา ให้แอล-คาร์นิทีนเสริมอาหาร 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ สามารถลดความปวด ความบอบช้ำ เสียหายของกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก
In untrained subjects, L-Carnitine supplementation (3g/day for 3 weeks) as compared to placebo, significantly reduced muscle pain (Figure 2) and tenderness after exercise and decreased muscle damage


Reference:  Luppa, D. et al (1996). In: Carnitine – Pathobiochemical Basics and Clinical Applications. (Eds. Seim, H. & Loster, H.). Ponte Press, Germany.
Cerretelli, P. et al (1990). Int. J. Sports Med. 11:1.  3. Swart, I. et al (1997). Nut. Res. 17:405.   McArdle W.D. et al (1996). Exercise Physiology. Williams & Wilkins, Baltimore.   Marconi C. et al (1985). Eur. J. Appl. Physiol. 54:131.   Angelini C. et al (1986). Adv. Clin. Enzymol. 4:103.   Powers, S.K. et al (1997). Exercise Physiology. McGraw Hill, New York.   Siliprandi, N. et al (1990). Biochim. Biophys. Acta. 1034:17.    Vecchiet, L. et al (1990). Eur. J. Appl. Physiol. 61:486.   Dragan, G. et al (1987). Rev. Roum. Morphol. Embryol. Physiol. Physiologie. 24:23.  Burke, E.R. (1999). Optimal Muscle Recovery.Avery, New York. Gorostiaga, E.M et al (1989). Int. J. Sports Med. 10:169.   Brilla, L. et al (1999). In: Macroelements, Water and Electrolytes in Sports Nutrition. (Eds. Driskell, J.A. & Wolinsky, I.). CRC Press, USA.   Armstrong, R.B. (1984). Med. Sci. Sports Exerc. 16:529.  Giamberardino, M.A. et al (1996). Int. J. Sports Med. 17:320.



ขอบคุณ ข้อมูลจาก  http://www.natureexpert.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น