วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมื่อไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุม และ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้การเริ่มป้องกัน หรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ

 

ไขมันในเลือดประกอบด้วยคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์

               
               คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ทำหเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เอ็ช ดี แอล ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็ง และ แอล ดี แอล ซึ่งทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง และหลอดเลือดตีบตัน ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงหรือมีระดับ เอ็ช ดี แอล ต่ำ มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันมากกว่าผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ


ค่าปกติของไขมันในเลือด

  • ระดับคอเลสเตอรอล               น้อยกว่า 200 มก.%
  • ระดับเอ็ช ดี แอล                   35-85 มก.%
  • ระดับเอ็ช ดี แอล                   น้อยกว่าหรือเท่ากับ 130 มก.%
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์              น้อยกว่า 70 มก.%

การปฏิบัติตัวเพื่อลดปริมาณไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด

การควบคุมอาหาร
1.งดหรือลดปริมาณอาหารประเภทไขมันที่มาจากสัตว์ ได้แก่ น้ำมันหมู เนย (ทำมาจากสัตว์)
2.งดหรือลดปริมาณไข่แดง (1-2 ฟองต่อสัปดาห์)
3.งดหรือลดปริมาณอาหารบางชนิดจากสัตว์ ได้แก่ สมอง ไต ตับ หอยนางรม หนังไก่-เป็ด
4.ควร ปรุงอาหารด้วยการนึ่ง ต้ม ยำ อบ ในกรณีที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันและการทอดเจียวควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
 
การออกกำลังกาย
  1. การ ออกกำลังกายช่วยลดปริมาณไขมัน ในเลือดและเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล แต่จะต้องเป็นการออกกำลังที่สม่ำเสมอ วันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  2. กิจกรรม การออกกำลังกายที่เพิ่มสมรรถภาพ ของปอดและหัวใจ ได้แก่ การเดิน จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค รำมวยจีน รำกระบอง
  3. ถ้า ท่านมีภาวะไขมันคอเลสเตอรอลสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มี คอเลสเตอรอลมากกว่า 200 มก./ 100 กรัม ควรรับประทานจำนวนคอเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มก./วัน
  4. สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันปกติ ควรทำการตรวจเลือดและวัดระดับไขมัน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
 
โรคแทรกซ้อนจากภาวะไขมันในเลือดสูง
  • โรคหัวใจ                               
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ระบบประสาท       
  • อัมพาต อัมพฤกษ์
  • เส้นเลือด                
  • เลือดไปเลี้ยงขาไม่พอทำให้มีอาการปวดน่องเวลาเดิน
  • ตับอ่อน                  
  • ตับอ่อนอักเสบ
 
อาหารลดคอเลสเตอรอล
          
         อาหาร ลดคอเลสเตอรอล ในเลือดเป็นวิธีการกำจัดอาหารพวกที่บริโภคแล้วอาจเป็นการเพิ่มคอเลสเตอร อลและไขมันในร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงแข็งและโรคหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่ตรวจพบสารคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จึงควรระมัดระวังในการเลือกอาหารรับประทานแต่ละชนิดเพื่อสุขภาพของท่าน

ชนิดอาหาร

-น้ำนม     
-นมพร่องมันเนย (หางนม)
-น้ำนมที่สกัดเอาไขมันออกแล้ว
-แป้งนมที่สกัดมันออกแล้ว
-(Non fat dried milk) คอฟฟี่เมท นมผง สลิ่ม และอื่นๆ
-เนื้อสัตว์ 
-เนื้อสันในหรือสันนอกที่เล็มเอาไขมันออกหมดแล้ว
-เนื้อปลาปราศจากไขมัน
-รวมทั้งปลากระป๋อง
-เนื้อไก่ เป็ด นก ปราศจากที่มีหนังและมัน
-เครื่องใน พวกหัวใจ ตับหมูเท่านั้น
-การปรุงอาหารไม่ควรทอดควรเป็นการปิ้ง
-ต้มหรืออบ (ถ้าอบไม่ควรบริโภคน้ำที่ออกมาจากเนื้อ
-ของทะเลทุกชนิด
-ไข่ดาวเท่านั้น สำหรับไข่ทั้งฟองจำกัดให้บริโภคเพียงอาทิตย์ละ 2 ฟองเท่านั้นผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงมาก
-เนยที่ทำจากไขมันพืชเท่านั้นคอลเตสซีสอย่างแป้ง (สกัดเอาน้ำไขมันออกแล้ว)
-ข้าว ทุกชนิด,ขนมปังทุกชนิดผลิตภัณฑ์จากแป้งทุกชนิด เช่น ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่, บะหมี่ มักโรนี เส้นขนมจีน, ลอดช่อง และ อื่นๆที่ไม่มีไข่หรือไขมันสัตว์เจือปน
- ผักรับประทานได้ทุกชนิดรับประทานได้ทุกชนิด
- เยลลี่ เค้กไข่ขาว (ไม่ใช้ไข่แดง) ทำมาจากมาการีนขนมทุกชนิดที่ไม่ใช่ไข่หรือน้ำมันและไขมันสัตว์ในการปรุง
-วุ้น,เฉาก๊วย,ลอดช่อง (ไม่ใช้กะทิหรือนมสด) แยม,น้ำตาลทุกชนิด,น้ำผึ้ง,ขนมลูกกวาด,หมากฝรั่ง,น้ำเชื่อม
-กาแฟ, น้ำชา, โกโก้, ช๊อคโกแลตและน้ำขวดต่างๆ
-เครื่องชูรส รับประทานได้ทุกชนิด เช่น พวกเครื่องเทศต่าง ๆ , ผงชูรส พริกไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น