วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความดันโลหิตต่ำ


ความดันโลหิตต่ำ ( Hypotension )
โรคความดันโลหิตต่ำพบน้อยกว่าโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำมีอันตรายน้อยกว่าผู้ที่ความดันโลหิตสูง และมีการดำเนินชีวิตที่สบายกว่า
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำจะวัดได้ดังนี้ สำหรับชายและผู้หญิง Systolic Pressure 80-100 มม.
ปรอท Diastolic Pressure 50-60 มม. ปรอท สาเหตุของความดันโลหิตต่ำ ยังไม่มีคำอธิบายที่
แน่นอน แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุกรรมหรือเป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ทราบสาเหตุแน่นอนเรียก ว่า
Idiopathic Hypotension

อาการ

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีความดัน โลหิตต่ำ มักไม่มีอาการอะไรมากนัก อาการสำคัญคือ
จะมีอาการเวียนหัวง่าย เวลาลุกขึ้นยืนเร็วๆ เช่นเวลานั่งยองๆ แล้วลุกขึ้นยืน หรือกำลังนอนอยู่
แล้วลุกขึ้นเร็วๆ จะเกิดอาการเวียนหัวเป็นครั้งคราวชั่วระยะหนึ่ง แล้วบางครั้งก็ดูปกติดีแต่ถ้า
อดนอนหรือนอนไม่พอก็จะมีอาการเวียนหัวและอ่อนเพลียด้วย

เมื่อเปลี่ยนจากท่านอนเป็นลุกขึ้นนั่งหรือยืน จะมีอาการหน้ามืดวิงเวียนจะเป็นลมเนื่องจากเลือดไปเลี้ยง
สมองไม่พอ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลายร่วมด้วย แต่สักครู่หนึ่งก็หายเป็นปกติ

การวัดความดันโลหิต มักพบว่าความดันซิสโตลิก (ช่วงบน) ที่วัดในท่ายืนต่ำกว่าท่านอนมากกว่า 30
มิลลิเมตรปรอท เช่น ในท่านอนวัดได้ 130/80 แต่ในท่ายืนจะวัดได้ 90/60


การรักษา

รักษาตามสาเหตุ
- ถ้าไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจต้องตรวจเลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ ที่จำเป็น
- ควรแนะนำให้ลุกขึ้นนั่งหรือยืนช้า ๆ อย่าลุกพรวดพราด เพื่อให้ร่างกายปรับตัว
- ออกกำลังกายบ้าง เพื่อช่วยให้หัวใจแข็งแรง
- ถ้ามีปัญหาเรื่องขาดอาหาร ก็ควรให้สารอาหารชดเชย
- กรดโฟลิคจากน้ำผึ้งช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
- กรดอะมิโนในสาหร่ายเกลียวทองเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผนังเส้นเลือดและระบบ ประสาทอัตโนมัติ
- วิตามิน เกลือแร่ ในว่านหางจระเข้ช่วยให้เกิดสมดุลของความดันโลหิต
- วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม ธาตุเหล็กและกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย
- วิตามินอีในเมล็ดทานตะวันช่วยลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น