วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การกระตุ้นกล้ามเน้อด้วยไฟฟ้าเพื่อรักษาการบาดเจ็บ

การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
          การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ถูกนำมาใช้ในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูทั้งในด้านการรักษา การวินิจฉัยโรค และการพยากรณ์โรคว่าดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไรภายหลังการให้การรักษาเป็นระยะๆ
          โดยหลักการแล้ว การเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เกิดขึ้นได้จากการมีคำสั่งจากสมองผ่านมาตามเส้นประสาทยนต์ไปยังกล้ามเนื้อ ถ้ามีเหตุทำให้สมองหรือเส้นประสาทยนต์เสียไป กล้ามเนื้อก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวตามความประสงค์ได้ อาทิเช่น การถูกยิง หรือถูกฟันจนเส้นประสาทขาด เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ เราเรียกภาวะนี้ว่า อัมพาต เมื่อเกิดเป็นอัมพาตขึ้นก็ต้องให้การรักษาตามสาเหตุนั้น กล่าวคือ ในกรณีเส้นประสาทขาด
ก็ต้องทำการผ่าตัด ต่อเส้นประสาทที่ขาดเข้าที่เดิม ในระหว่างรอการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ ก็ต้องใช้กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสตรงกระตุ้นผ่านกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตด้วย ความแรงที่พอเหมาะ ซึ่งประกอบด้วยแรงเคลื่อนกระแสและระยะเวลาที่ไฟฟ้าผ่านเป็นจังหวะๆที่พอดีจะ ทำให้กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตหดตัวตามจังหวะที่กระแสไฟฟ้าผ่าน
          การทำงานของกล้ามเนื้อด้วยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นจะช่วยชะลออัตราการลีบ  เล็ก และชะลอคุณสมบัติของกล้ามเนื้อให้คงไว้ เพื่อรอเวลาให้ประสาทที่ต่อไว้ทำงานได้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของโรค ขณะกล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัวจากการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจะทำให้มีการไหลเวียน ของโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น ทำให้มีอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนนั้นมากขึ้น ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อได้มีโอกาสออกกำลังทำให้การลีบช้าลง เป็นการรอเวลาการงอกของเซลล์ประสาทยนต์เข้าไปตามปลอกของเส้นประสาทไปยัง กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตนั้นๆ ซึ่งอัตราการงอกของเซลล์ประสาทเฉลี่ยแล้ว ๑ มิลลิเมตรต่อวัน การปล่อยให้กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตอยู่เฉยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบและเปลี่ยนเป็นพังผืดอย่างรวดเร็วเป็นผลให้เซลล์ประสาท ที่งอกไปถึงกล้ามเนื้อไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนสภาพเป็นพังผืดไป หมดแล้วให้ทำงานต่อไปอีก และครึ่งหนึ่งเมื่อกล้ามเนื้อเปลี่ยนสภาพตัวเองเป็นพังผืดแล้วจะไม่มีโอกาส กลับมาทำงานได้อีกเลย ทำให้เป็นอัมพาตและพิการอย่างถาวร การรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น สามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยโปลิโอที่เป็นอัมพาตเพื่อรอการฟื้นตัวของเซลล์ประสา ทนต์ที่ยังเหลืออยู่ภายหลังการทำลายโดยเชื้อไวรัสและอัมพาตจากสาเหตุอื่นๆ เพื่อรอการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อแทนที่จะปล่อยให้ลีบอย่างรวดเร็ว แล้วเป็นพังผืดจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อีกต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น