วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภัยแฝงจากการกินโปรตีนมากเกินไป

เนื้อสัตว์และนมเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ในอาหารพวกนี้นอกจากโปรตีนแล้วยังประกอบด้วยไขมันปริมาณมาก ซึ่งไขมันนั้นเป็นแหล่งสะสมของสารพิษ ดังนั้นจึงหมายถึงร่างกายเราจะมีสารพิษในปริมาณมากขึ้นด้วย

การบริโภคอาหารประเภทโปรตีนปริมาณมากจะทำให้ร่างกายมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น (สภาพที่แท้จริง ร่างกายควรมีสภาพเป็นด่างเล็กน้อย) ซึ่งจะกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เนื่องจากร่างกายจะทำงานได้ต้องอาศัยสภาพความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสม ร่างกายจึงต้องมีกลไกการควบคุมความเป็นกรด-ด่าง หรือที่เรียกว่า pH-balance ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ควบคุมกลไกดังกล่าวคืออาหารที่เราบริโภค

เมื่อเรากินอาหาร ร่างกายจะทำการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นขบวนการย่อยแล้ว อาหารจะถูกเปลี่ยนสภาพให้มีลักษณะคล้ายขี้เถ้าซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่างต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่เรารับประทาน

อาหารที่มีซัลเฟอร์ คลอไรด์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส จะถูกเปลี่ยนเป็นขี้เถ้าที่มีสภาพเป็นกรด เนื่องจากซัลเฟอร์จะถูกเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริก ฟอสฟอรัสจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดฟอสฟอริก ซึ่งกรดทั้งสองชนิดนี้จะต้องผ่านขบวนการทำให้เป็นกลางก่อนที่ร่างกายจะขับออกจากไตผ่านทางปัสสาวะ ส่วนไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดยูริกและถูกขับออกจากไตผ่านทางปัสสาวะและจากผิวหนังผ่านทางเหงื่อ ซึ่งอาหารประเภทโปรตีนโดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีสารพวกนี้สูง

ธาตุโซเดียม แคลเซียม โพทัสเซียม แมกนีเซียม จะมีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งจะช่วยลดความเป็นกรด ธาตุเหล่านี้พบจำนวนมากในพืชชนิดต่างๆ เมื่อเรากินพืช ร่างกายจะพยายามเก็บแร่ธาตุเหล่านี้ไว้เพื่อคงสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย

ร่างกายของเราสามารถจัดการปรับสมดุลกรด-ด่างในภาวะที่ร่างกายเป็นกรดไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามการที่เราบริโภคอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นกรดอยู่เป็นประจำเรื่อยๆ ร่างกายก็จะสูญเสียแร่ธาตุที่มีฤทธิ์เป็นด่างไปในขบวนการลดความเป็นกรด ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนัก และถ้าเป็นต่อเนื่องกันในระยะยาว จะก่อให้เกิดความเสื่อมแก่เซลล์ในส่วนต่างๆ

หลายคนไม่ทราบว่าขณะนี้ตนกำลังมีภาวะเป็นกรดในร่างกายมากเกินไป เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นไม่ถึงกับเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต แต่ในระยะยาวแล้วภาวะกรดเกินในร่างกายจะทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่มีค่าเป็นด่าง เช่น แคลเซียม โพทัสเซียม แมกนีเซียม (แร่ธาตุเหล่านี้มีมากในกระดูก) ดังจะเห็นได้จากมีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ข้อเสื่อม ตลอดจนมีการตกตะกอนของแคลเซียมเนื้อเยื่อต่างๆเช่น เกิดนิ่วที่ไต หรือเป็นเก๊าท์ ความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ เซลล์ทำงานได้ลดลง

อาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาพเป็นกรดคือ พวกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว หมู ไก่ ปลา นม ไข่ หรือแม้แต่พวกถั่วซึ่งเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดี ส่วนพวกผัก-ผลไม้ส่วนใหญ่จะทำให้ร่างกายมีสภาพเป็นด่าง



แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง และเนื่องจากนมเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียม หลายคนจึงนิยมดื่มนม แต่ที่จริงแล้วนมนอกจากจะมีแคลเซียมในปริมาณสูงแล้วยังมีโปรตีนสูงอีกด้วย ในนม 1 แก้วประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 20 กรัม หากคุณดื่มนมวันละ 3 แก้ว คุณจะได้รับโปรตีนมากถึง 60 กรัม(ซึ่งมากกว่าความต้องการโปรตีนของร่างกายภาย) ทำให้เกิดกลไกการดึงแคลเซียมออกจากร่างกายในปริมาณมากเช่นเดียวกัน และนี่คือเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมคนที่ดื่มนมปริมาณถึงยังมีภาวะกระดูกพรุน



การบริโภคโปรตีนมากเกินไป จะทำให้ไตต้องทำงานหนักเพราะต้องกำจัดไนโตรเจนออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมมากขึ้นทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน และในความเป็นจริงแล้วการบริโภคโปรตีนในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกายมิได้ก่อให้เกิดการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ (การออกกำลังที่ต้องจึงจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น