วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Polysomnography ตรวจการนอนหลับ...เพื่อหลับนี้มีคุณภาพ

Polysomnography

              ตรวจการนอนหลับ...เพื่อหลับนี้มีคุณภาพนอนหลับทั้งทีต้องนอนให้มีคุณภาพ  ถึงจะดีต่อสุขภาพร่างกาย  ฟังดูแล้วการนอนหลับไม่น่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนอะไร  แต่ทราบหรือไม่ว่าแม้แต่การนอนกรนที่หลายคนไม่เคยคิดเลยว่าเป็นเรื่องผิดปกติ  กลับกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพ  เพราะขณะนอนกรนอาจมีภาวะยุดหายใจชั่วขณะร่วมด้วย  ส่งผลถึงออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและหัวใจโดยตรง  อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้โดยไม่ทันตั้งตัว
             Polysomnography   ตรวจการนอนหลับ      เป็นการตรวจนอนหลับด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย  ในช่วงเวลากลางคืนประมาณ 6 8 ชั่วโมง  เพื่อดูลักษณะการนอนว่าหลับสนิทหรือไม่ การตรวจนี้ประกอบด้วย
-  ตรวจวัดคลื่นสมอง        วัดระดับความลึกของการนอนหลับ  และประสิทธิภาพขณะนอนหลับ
-  ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ      มีการเต้นผิดจังหวะที่มีอันตรายหรือไม่มากน้อยเพียงใด
-  ตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือด      ที่ส่งไปเลี้ยงสมองและหัวใจในขณะหลับ
-  ตรวจวัดลมหายใจ      ที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก
-  ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ      ได้แก่  กล้ามเนื้อทรวงอก  และกล้ามเนื้อหน้าท้อง-  ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ      เพื่อดูความตึงของกล้ามเนื้อและกระตุกขณะนอนหลับ
-  ตรวจเสียงกรน      ดังหรือเบาแค่ไหน  กรนตลอดเวลาหรือไม่  กรนขณะนอนท่าไหน
-  ตรวจท่านนอน      แต่ละท่านนอนหายใจผิดปกติแตกต่างกันอย่างไร  และนอนท่าใดทำให้กรนทั้งหมดนี้ใช้เวลาในการตรวจวัดช่วงกลางคืน  อย่างน้อยประมาณ 6 8 ชั่วโมง  ซึ่งเป็นเวลาปกติของการหลับของคนทั่วไป  และเป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อบันทึกรายละเอียดต่างๆขณะนอนหลับ  วิธีการคล้ายกับการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่จะมีการติดอุปกรณ์มากกว่า  โดยแบ่งการตรวจเป็น 2 แบบคือ
            -  การตรวจชนิดจำกัด  ( Limited channel PSG )      อุปกรณ์จะมีไม่มาก  สามารถไปตรวจที่บ้ายผู้ป่วยได้  แต่ผลการตรวจอาจไม่ละเอียด  เพราะจะตรวจเกี่ยวกับการหายใจเป็นหลัก  ไม่มารตรวจการทำงานของสมองได้
            -  การตรวจการนอนหลับชนิดมาตรฐาน  (Standard   PSG)      ต้องทำในห้องปฏิบัติการนอนหลับ (Sleep  laboratory  การตรวจค่อนข้างซับซ้อน  ติดอุปกรณ์ตามร่างกายหลายอย่าง  เป็นการตรวจคุณภาพการนอนของคืนนั้นๆ  และบันทึกด้วยเครื่อง PSG   อาจจะให้ผู้ป่วยมารับการตรวจในห้องปฏิบัติการเป็นเวลา 2 คืน  เนื่องจากคืนแรกผู้ป่วยยังไม่คุ้นเคยกับสถานที่  ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานผู้ป่วยลดลง  คืนที่ 2 ผู้ป่วยเริ่มคุ้นเคยการนอนหลับจะใกล้เคียงการนอนหลับที่บ้านมากขึ้น  ถ้าพบภาวะหยุดหายใจบ่อยอาจลองใส่เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) แล้วทำการปรับความดันที่เหมาะสมที่ใช้รักษาการหยุดหายใจ 
            การตรวจการนอนหลับทั้งสองแบบนี้เป็นวิธีตรวจที่ดีที่สุด  (Gold  standard) ในการนิจฉัยโรคของการนอน  ปกติการตรวจจะใช้เวลาอย่างน้อย 6 8 ชั่วโมง  ถ้านอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง  จะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร  ต้องมีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการอ่านคลื่นสมอง  ตรวจเช็คผลซ้ำอีกครั้งจึงจะเชื่อถือได้แพทย์วินิจฉัยโรคจากอะไรบ้าง
-   ประสิทธิภาพการนอน
-   ลักษณะของการนอน  เปอร์เซ็นต์ของการหลับลึก  การหลับฝัน  ถ้ามีน้อยมักพบร่วมกับอาการสะดุ้งตื่น  ส่งผลให้รู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน
-   ลักษณะของการหยุดหายใจ  จากสาเหตุทางสมองหรือสาเหตุจากทางเดินหายจุดตัน ( Respiratory  Disturbance  Index หรือ  RDI ) ซึ่งถ้ามากกว่า 5 ครั้ง/ชั่วโมง  ถือว่าผิดปกติ  โดยแบ่งระดับความรุนแรงขนาดนี้1.  RDI  5 15 ครั้ง/ชั่วโมง  ความรุนแรงขั้นน้อย2.  RDI  15 30 ครั้ง/ชั่วโมง  ความรุนแรงขั้นปานกลาง3.  RDI  มากกว่า 30 ครั้ง/ชั่วโมง  ความรุนแรงขั้นมากต้องรับการรักษา      แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว  เช่น  ความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจขาดเลือด  หรือโรคหลอดเลือดสมอง แม้เพียงมากว่า 5 ครั้ง/ต่อโมง ก็ถือว่ารุนแรงมาก ต้องรับการรักษาทันที 
-           ระดับออกซิเจนในเลือดขณะหยุดหายใจถ้าน้อยกว่า 95 ถือว่าผิดปกติ  ถ้าน้อยกว่า 60  ถือว่ารุนแรงขั้นมาก  ต้องรับการรักษา  เพราะมีอันตรายมากโดยเฉพาะหัวใจ-           การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ  ในช่วงที่หยุดหายใจต่อการเต้นของหัวใจ
-           การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ  ในช่วงที่หยุดหายใจและเกิดภาวะออกซิเจน  ถือว่ารุนแรงขั้นมาก  ต้องรับการรักษาทันที
-           การหยุดหายใจในท่านอนต่างๆ และการหยุดหายใจในระยะหลับฝันการป้องกันและการดูแลรักษาการนอนหลับที่ผิดปกติ
-  งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  งดยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หลีกเลี่ยงน้ำชา  กาแฟ
-  ควบคุมน้ำหนักโดยการจำกัดปริมาณและชนิดอาหาร-  ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง  กล้ามเนื้อตื่นตัว
-  นอนท่าตะแคงหลีกเลี่ยงท่านอนหงาย  และนอนศีรษะสูงเล็กน้อย
-  รีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับ      กรณีที่ผู้ป่วยอาการรุนแรงมาก  ควรใส่เครื่อง  Nasal CPAP ( Nasal Continuous Positive  Airway Pressure ) เพื่อปล่อยแรงดันบวก  ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น  เพื่อให้หายใจได้สะดวกและหลับสบายขึ้น  ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้  ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด        สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติชัดเจน  เช่น  ต่อมทอลซิลโตมาก  เพดานอ่อนยาวมากผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาในการใช้เครื่อง  Nasal CPAP แพทย์อาจทำการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติดังกล่าวได้



2 ความคิดเห็น:

  1. อ่านข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับปัญหาการนอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับเพิ่มเติมได้ที่ www.ProfessionSleepCenter.com

    ตอบลบ
  2. ถ้าสนใจการรักษาด้วยเครื่อง CPAP ลองดูที่นี่ครับ www.nksleepcare.com เค้ามีให้ทดลองใช้ฟรีด้วย

    ตอบลบ