วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ

ช่วยแพทย์พบจุดตีบตัน  รักษาได้ทันก่อนถึงแก่ชีวิตหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ  ซึ่งทำหน้าที่ไปเลี้ยงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย  โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน  ( coronary  artery  disease, CAD ) เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดทำไมต้องตรวจหลอดเลือดหัวใจ           
         หลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่ไขมันมาเกาะบนเยื่อบุผิวภายในผนังหลอดเลือด  ทำให้รูหลอดเลือดค่อยๆตีบแคบลง  ในระยะแรกอาจไม่มีอาการ  จนกระทั่งตีบแคบลงเกินร้อยละ  50  ของเส้นผ่าศูนย์กลาง  หลอดเลือดจึงจะแสดงอาการ  ถ้าบริเวณที่ตีบแคบนี้ถูกลิ่มเลือดไปอุดตันอย่างทันทีทันใด  กล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดภาวะขาดเลือดทันที  ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจวาย  และผู้ป่วยจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิต  ดังนั้นการตรวจหลอดเลือดหัวใจ  นับเป็นการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้สัญญาณเตือนภัย           
         สัญญาณที่บ่งบอกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ได้แก่  อาการเจ็บแน่นหน้าอก  จุกเสียด  แน่นตรงกลางหน้าอก  อึดอัด  หายใจไม่สะดวก  เหมือนมีอะไรมากดทับหรือบีบรัดหน้าอก  อาจมีอาการปวดร้าวไปที่ต้นคอ  แขนซ้ายหรือกราม  ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้  เหงื่อออก  อาการเหล่านี้มักเกิดขณะออกกำลังกาย  และดีขึ้นเมื่อหยุดพักหรืออมยาใต้ลิ้น  หากหลอดเลือดหัวใจตีบมาก  อาการเหล่านี้จะรุนแรง  เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน  ทำให้หัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้การวินิจฉันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ           
         เมื่อแพทย์สงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย  เอกซเรย์ปอด  เจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง  ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน  โดยผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจเพียงบางอย่าง  หรือทุกอย่างซึ่งแพทย์จะเป็นพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ  คืออะไร           
         เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ  โดยการสอดสายสวนขนาดเล็กประมาณ  2  มิลลิลิตร  ผ่านผิวหนังบริเวณขาหนีบหรือข้อมือ  เข้าไปในหลอดเลือดแดงถึงหลอดเลือดหัวใจ  ฉีดสารที่เป็นของเหลวทึบรังสีเข้าไป  เพื่อดูการไหลเวียนของเลือดและตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ( สารทึบรังสีนี้เป็นสารไอโอดีน  ซึ่งมีมากในอาหารทะเล  ปริมาณที่ใช้ฉีดจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย  ยกเว้นผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้อาหารทะเล  และผู้ที่มีความผิดปกติของการทำงานของไต  ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาลดปริมาณสารทับรังสี  หรือพิจารณาการตรวจพิเศษอื่นๆแทน )            การตรวจโดยวิธีสวนหลอดเลือดหัวใจ  เป็นการตรวจที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด  แพทย์สามารถมองเห็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้โดยตรงว่ามีการอุดตันมากน้อยเพียงใด  อุดตันกี่แห่ง  สภาพหลอดเลือดที่อุดตันสามารถทำการรักษาด้วยวิธีถ่างขยายหลอดเลือดที่อุดตันด้วยบอลลูนหรือไม่       ระยะเวลาในการตรวจสวนเลือดหัวใจเฉลี่ยประมาณ  ½ - 1  ชั่วโมง  กรตรวจสวนหัวใจมีความเสี่ยงเพียง 0.01 % หรือ 1 คนต่อ 1,000  ซึ่งถือว่าน้อยมาก  จึงนับว่าเป็นมาตรฐานที่แม่นยำ  และเป็นข้อสรุปของการตรวจหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจสวนหัวใจ  ต้องเตรียมตัวอย่างไร           
         แพทย์จะเจาะเส้นเลือดแดงที่ขาหนีบด้านขวาเพื่อสอดสายสวน  ดังนั้นผู้ป่วยควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย  โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบและต้นขาทั้งสองข้าง  ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย  4 6 ชั่วโมงก่อนการสวนหัวใจ  อาจดื่มน้ำได้บ้างเมื่อต้องรบประทานยา  หากกระหายน้ำมากอาจใช้วิธีอมกลั้วคอแล้วบ้วนออกได้  ควรหยุดยาการต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด (Warfarin) อย่างน้อย 3 วันก่อนสวนหัวใจ            เจ้าหน้าที่จะโกนขนบริเวณขาหนีบเพื่อทำความสะอาดและเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค  พยาบาลจะเปิดเส้นเพื่อให้น้ำเกลือที่ข้อมือหรือหลังมือของผู้ป่วย  ผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนรับการตรวจ            หลังการสวนหัวใจผู้ป่วยสามารถสามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้  ควรดื่มน้ำมากๆเพื่อไล่สารทึบรังสีให้ออกจากร่างกาย  ผู้ป่วยต้องนอนราบบนเตียงประมาณ 4 6 ชั่วโมง  สามารถพลิกตัวได้โดยไม่ต้องงอขาหนีบ  หรืองอได้เกิน  30  องศา (โดยการปรับเตียง) แต่ยังไม่ควรยืน  นั่ง  หรือเดินเข้าห้องน้ำเอง            ในวันรุ่งขึ้นหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน  แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้  ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติงานตามปกติในวันรุ่งขึ้นแต่ในระยะ 1 2 วันแรก ไ ม่ควรเดินบ่อย  และไม่ควรเปิดแผลหรือให้แผลภูน้ำประมาณ 3 5 วัน  และควรมาตรวจตามที่แพทย์นัด  หากมีอาการเจ็บแน่นห้าอกหรืออาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์     



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น