วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สารต่างๆที่มีผลต่อการฝึกเวท

สารต่างๆ  ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไป บางชนิดมีผลต่อ  พลัง  และสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  ดังเช่นงานวิจัยของ  ฮอฟแมนส์ (Hoffman, Stavsky  &  Falk, 1995)  ได้ทำการศึกษาถึงผลของการจำกัดน้ำ  ที่มีต่อค่า พลังแบบแอนแอโรบิค   และความสูงของการกระโดดในแนวดิ่งในนักกีฬาบาสเกตบอล  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบาสเกตบอลเพศชาย  จำนวน   10  คน  เล่น  2  ต่อ  2  แบบเต็มสนาม  แบ่งเป็นกลุ่มที่ให้ทานน้ำตลอดเกม  กับกลุ่มที่ไม่ให้ทานน้ำ  พบว่า  ค่า  พลังแบบแอนแอโรบิค   จะแตกต่างกันประมาณ  19  %  นั่นแสดงให้เห็นว่า หากร่างกายขาดน้ำประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานแบบ แอนแอโรบิค อาจลดลง           
             นอกจากนี้    บอลล์ (Ball, 1995)  ได้ทำการศึกษาถึงผลของเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรต  และอิเล็คโตรไลต์  ในขณะฝึกโดยความหนักสูง  ต่อความสามารถในการเพิ่มความเร็วก่อนเข้าเส้นชัย   โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักจักรยานเพศชาย  จำนวน  8  คน  ใช้การทดสอบของวินเกต  พบว่า เครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรต  และอิเล็คโตรไลต์  ทำให้  พลังสูงสุด  และ พลังเฉลี่ย (mean  power)  เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 แสดงให้เห็นว่า  ปริมาณการสูญเสียน้ำ  และการเพิ่มคาร์โบไฮเดรต  และอิเล็คโตรไลต์  ในเครื่องดื่ม มีผลกับการเปลี่ยนแปลงค่าของ พลัง  และสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  
            ยิ่งไปกว่านั้นจากการศึกษาของ สวีเนอร์ (Sweenor , 1998) ได้ทำการศึกษาถึงผลของคาเฟอีน  ต่อความสามารถในการวิ่งระยะสั้น โดยใช้การทดสอบของ    วินเกต ในการเก็บข้อมูล   พบว่า   ปริมาณคาเฟอีน  7   มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว   1  กิโลกรัม (เป็นแคปซูล)  มีผลทำให้พลังแบบแอนแอโรบิค  เพิ่มขึ้น   เล็กน้อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง  โดยที่มีผลทำให้พลังแบบแอนแอโรบิค ในเพศชายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเพศหญิง  และจากการศึกษาของ อินบาร์ (Inbar, Rostein, Jacobs, Kasier, Plin, &  Dotan, 1983) ได้ทำการศึกษาถึงผลของการใช้สารด่างต่อการออกกำลังกายในระยะสั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพลศึกษาจำนวน  13  คน เพศชาย สารด่างที่ให้คือโซเดียมไบคาร์บอเนต  ใช้การทดสอบตามวิธีของวินเกต พบว่า   โซเดียมไบคาร์บอเนต  มีผลทำให้พลังเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  รวมไปถึงอาจมีผลกับการเพิ่ม  สมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค 
            นั่นแสดงให้เห็นว่า  การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรต และอิเล็คโตรไลท์   สารที่มีคาเฟอีน  และโซเดียมไบคาร์บอเนตผสมอยู่ มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานแบบแอนแอโรบิค            
            นอกจากนี้    สเตร์ตั้น (Strayton, 1997)ได้ทำการวิจัยถึงผลของครีเอทีน ที่มีต่อค่าสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  และองค์ประกอบของร่างกาย  โดยกลุ่มทดลองเพศชาย จำนวน   18  คน  ให้ครีเอตาโบลีน (creatabolin)   7.5  กรัม/วัน  พบว่า  ครีเอทีน    มีผลในการเพิ่มน้ำหนักตัว  แต่ไม่มีผลในเรื่องของความแข็งแรง   และสมรรถภาพแบบแอนแอโรบิค  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานคนที่เป็นเบาหวานสามารถเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าคนทั่วไปที่ไม่เป็นเบาหาน  และผู้ป่วยเบาหวานส่วนมากมักไม่รู้ตัวว่าตนมีโรคหัวใจแฝงอยู่ สถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทย  ส่วนใหญ่มีสาเหตุมากโรคเบาหวาน  ซึ่ง 50 % ของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  มีอาการป่วยเป็นเบาหวานร่วมด้วย  และมีแนวโน้มพบสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในอดีตพบเพียงหลอดเลือดผิดกติเท่านั้นศ.นพ. เกียรติชัย  ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลเวชธานี  ได้อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจกับโรคหัวใจให้เข้ากันมากขึ้นมา  สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดมีผลต่อประชาชนชาวไทยในช่วงครึ่งหลังของชีวิต  เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่กำลังสร้างสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ  ไม่เพียงแต่มีผลในระดับบุคคล  แต่ยังส่งผลกระทบต่อระดับครอบครัว  แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวไปจนถึงระดับชาติ  ในประเทศที่พัฒนาแล้ว  กลุ่มที่มีเศรษฐกิจและสังคมต่ำจะมีความชุกของปัจจัยเสี่ยงสูง  เป็นโรคหัวใจและเสียชีวิตด้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง  ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา
             โรคหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากอะไรก่อนอื่นต้องแบ่งว่าเป็นโรคหัวใจชนิดไหน  ส่วนใหญ่ที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ  คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง  พบว่ากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากเพศชายอายุ  40  ปีขึ้นไป  และในเพศหญิงคือ หลังหมดประจำเดือนไปแล้ว  คนที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคอ้วนลงพุง  คือมีรอบเอวใหญ่กว่ารอบสะโพก  ตลอดจนการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย  แต่สำหรับในโรคเบาหวานถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญในประเทศไทย  ส่วนวิธีป้องกันนั้นต้องแยกสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง  เพราะบางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  และสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ส่วนใหญ่  คือการปรับพฤติกรรมตัวเองโดยเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่เด็ก คือไม่ให้อ้วนมาก  รับประทานขนมหวานให้น้อยลง  เปลี่ยนมารับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือการได้รับการตรวจเลือดและร่างกายตามระยะเวลาที่กำหนด
               ความสัมพันธ์ของโรคหัวใจกับเบาหวานสำหรับคนที่เป็นเบาหวานนั้น  มักจะเป็นโรคหัวใจในภายหลัง  และสามารถเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน  เนื่องจากโรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมลง  แต่ต้องดูว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ  เช่น  ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง  ( คนที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับ  LDL Cholesterol สูงกว่าคนปกติ ) ความดันโลหิตสูง  การสูบบุหรี่  ความเครียด  อ้วน  คนที่มีบุคลิกย้ำคิดย้ำทำ  เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ยังพบสาเหตุใหม่ๆ  เพิ่มขึ้นอีก  เช่น  การติดเชื้อบางชนิดจากการที่มีฟันผุ  เหงือกอักเสบ  และพบว่าสาเหตุนี้นำไปสู่หลอดเลือดหัวใจเสื่อมมากขึ้น
               คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหนเพียงแค่ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติทั่วไปก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้  ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานยิ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงมาก  ในกรณีของคนที่เป็นเบาหวานเป็นที่ทราบกันดีว่าจะมีอาการทางด้านปลายประสาทอักเสบ  ทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลงเมื่อโรคหัวใจกำเริบ  คืออาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก  สาเหตุนี้ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีโรคแทรกซ้อนอยู่
               ผู้ป่วยเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจมากน้อยแค่ไหนสำหรับคนที่ป่วยเป็นเบาหวานแล้วเกิดโรคแทรกซ้อน  คือ  หัวใจนั้นอยู่ที่  50 % โดยเฉพาะคนป่วยเป็นเบาหวานมาระยะเวลานาน  ยิ่งต้องระวังเพราะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมาก  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมปัจจัยหลายๆอย่างด้วย  ผู้ที่เป็นเบาหวานหากสงสัยว่าตนเป็นโรคหัวใจแฝงอยู่ควรทำอย่างไร สิ่งแรกควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างกายในขั้นต้นแล้วจึงทำการตรวจกราฟหัวใจ  จากนั้นจะทำการประเมินว่ามีอาการอย่างไรบ้าง  เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยเบาหวานมักจะไม่แสดงอาการของโรคหัวใจ  ดังนั้นจึงแนะนำว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยง  คือทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน  หรือคนที่มีช่วงอายุเกิน 40 ปีในผู้ชาย และหลังหมดประเดือนในผู้หญิงก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน โดยตรวจด้วยวิธีเดินสายพานเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุของโรคหัวใจอย่างชัดเจน และขั้นตอนต่อไปคือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่  แต่หากผลการตรวจเดินสายพานบ่งบอกชัดเจนว่ามีเส้นเลือกหัวใจตีบ ก็สามารถข้ามขั้นตอนการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไปสู่การฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจโดยตรง  โดยการเจาะเข้าเส้นเลือดแดงที่ข้อมือหรือขา  เพื่อสอดสายสวนขึ้นไปสู่เส้นเลือดหัวใจแล้วจึงฉีดสี  วิธีนี้จะทำให้ทราบผลอย่างแน่นอน
                การรักษาโรคผู้ป่วยโรคหัวใจที่เป็นเบาหวานกับไม่เป็นแตกต่างกันอย่างไรการรักษาแตกต่างกันอย่างแน่นอน  โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานเพียงแค่มีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยง่าย  ให้วิเคราะห์ได้เลยว่ามีโอกาสเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบสูง  ต่างจากคนทั่วไปในวัย  40  ปี ขึ้นไปสำหรับผู้ชาย  หรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง  ซึ่งบางที่อาจจะไม่มีอาการของเบาหวานเพียงเข้ารับการตรวจเล็กน้อย            สำหรับการรักษานั้น  ผู้ป่วยเบาหวานจะรักษายากกว่า  เนื่องจากการรักษาโรคหัวใจต้องควบคุมเบาหวาน  ควบคุมไขมันและควบคมความดัน  โดยในการควบคุมไขมันและความดันนั้นทำได้ไม่ยาก  เพราะตัวยาที่ใช้ให้การผลดีกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งสองอย่าง  ตรงกันข้ามกับเบาหวานที่ควบคุมยาก  เพราะนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้ว  ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานด้วยจึงจะได้ผล  และกรณีที่คนป่วยเป็นเบาหวานเกิดหลอดเลือดตีบรักษาด้วยการทำบอลลูน  โดยการใส่ขดลวดเขาไปแล้ว  พบว่าการที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบซ้ำ  มีความเป็นไปได้สูงกว่าคนปกติทั่วไปถึง  10%  ถ้าผู้ป่วยเป็นเบาหวานควบคุมเบาหวานไม่ดีเห็นชัดเจนเลยว่าการรักษาค่อนข้างจะยากกว่า  และอีกหนึ่งกรณีคือลักษณะเส้นเลือดของคนที่เป็นโรคหัวใจที่ป่วยเป็นเบาหวาน  จะมีลักษณะขรุขระมากกว่าคนปกติทั่วไป  ทำให้การรักษาด้วยการทำบอลลูนต้องในขดลวดหลายอันและในบางจุดก็ไม่สามารถใส่ได้  จึงถือเป็นการยากมากสำหรับการรักษาโรคัวใจในผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถป้องกันตนเองจากโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้หรือไม่            ป้องกันได้โดยควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด  ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  และต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  เช่น  ควรวางแผนเรื่องอาหาร  การออกกำลังกาย  การรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตลอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันรวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ           
                   โอกาสของผู้ป่วยเบาหวานที่จะเป็นโรคหัวใจถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก  ดังนั้นควรควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด  รวมถึงต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยง  ปรับปรุงพฤติกรรมเรื่องอาหารการกิน  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนมีการพักผ่อนที่เพียงพอ  ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไปและที่สำคัญต้องเชื่อฟังคำแนะนำ  รวมถึงการปฏิบัติตามแพทย์สั่ง  การรักษาจึงจะได้ผลดี ข้อมูลบทสัมภาษณ์ ศ.นพ.เกียรติชัย  ภูริปัญโญ
จากนิตยาสารเบาหวาน  ฉบับ พ.ย. ธ.ค. 51