วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคกระดูกพรุน

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคกระดูกพรุน (Osteo- porosis) กําลังเป็นโรคที่วงการแพทย์และบุคคล ทั่วไปให้ความสนใจมาก เพราะเป็น โรคที่พบในผู้สูงอายุ สตรี วัยหมดระดู รวมทั้ง สตรีที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ยังพบร่วมในโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบต่อมไร้ท่อบางชนิด โรคเบาหวาน โรครูมา- ตอยด์ หรืออาจเกิดจากการทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์


โรคกระดูกพรุน เป็น โรคที่ ซ่อนเร้น และเกิดขึ้น อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป จากการที่ม่ี มวลของกระดูกต่ำปริมาณเนื้อกระดูกลดลง เป็นผลให้กระดูก เปราะบางและมีโอกาสหักง่ายแม้ได้ร้บอุบัติหตุเพียงเล็กน้อย

โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ จากการศึกษาพบว่า โรคกระดูกพรุน เป็นสาเหตสำคัญในการทําให้เกิดกระดูกหัก บริเวณกระดูกหลัง แขน และสะโพก ความหนาแน่นกระดูก (B.M.D.=Bone Mineral Density) จะเป็นตัวสําคัญในการบ่งชี้ถึง ความแข็งแรงของกระดูก และความเสี่ยงของกระดูกหัก

เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูก จึงเป็น เครื่องมือสําคัญที่ใช้ในการประเมินผลว่าผู้มารับบริการ มีความเสี่ยงต่อ โรคกระดูกพรุน มากน้อยเพียงไร และยังช่วยในการ ตัดสินด้านการป้องกันรักษา และติดตามผลการรักษาได้ด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคกระดูกพรุน

1. อายุ อายุมากมีอัตราเสี่ยงสูง
2. เพศหญิงมีอัตราความเสี่ยงในการเกิิดมากกว่าผู้ชาย
3. รูปร่าง คนร่างเล็ก จะกระดกู บางกว่า คนร่างใหญ่
4. ประวัติ ครอบครัว มีคนที่เป็นโรคนี้
5. สตรีที่หมดระดู โดยเฉพาะผู้ที่ระดูหมดเร็ว หรือ ได้รับการตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
6. ขาดการออกกําลังกาย พบว่านักกีฬามีความหนาแนน่ ของกระดูกสูงกว่าปกติ
7. รับประทานวิตามินดี หรือ แคลเซียมน้อย
8. สูบบุหรี่
9. ดื่มเหล้าจัด


การเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของกระดูก

กระดูกทุกส่วนมีการสูญเสียและการสร้าง เสริมอยู่ตลอดเวลา ขบวนการนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทําให้ความหนาแน่นของกระดูกมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดชีวิตในระหวา่ งที่มีการเจริญเติบโตของร่างกาย จะมีการสร้างเสรมิ กระดูก มากกว่า ทําให้ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่ม โดยสูงสุด ประมาณ 30-40 ปีในหญิง และประมาณ 20 ปีในชาย หลังจากนั้นเริ่มมีการสูญเสียกระดูก มากกวา่ จนอายุ 85-90 ปี บริเวณที่มีผลมากได้แก่บริเวณกระดูกหลังและกระดูกส้นเท้า ซึ่งเป็นส่วน ที่มี trabecularbone มาก ปกติในกระบวนการ ของการเสื่อมของกระดูก จะพบการเปลี่ยนแปลงในส่วนกระดกู trabecular ของเนื้อเยื่อ กระดูก มากกว่า ในส่วน ของกระดูก cortical เนื่องจากเมตาบอลิซึม ของกระดกู trabecular เกิดเร็วกว่านั่นเอง

ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการตรวจวัดความหนาแน่นของ กระดูก

1. วินิจฉัย low bone mass ในสตรีที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น การได้รับการผ่าตัดทั้ง 2 ข้าง
มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน เช่น ระดหู มดเรว็ , มปี ระวตั ใิ นครอบครวั , เบาหวาน

2. กระดูกหักง่าย

3. วินิจฉัยหรือสงสัย Spinal Osteoporosis ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกระดูกสันหลัง

4. ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางอย่างเป็นประจำ เช่น

-Thyroid Hormone
-Corticosteroid

-Anticonvulsants

-Chemotherapy

5. ประเมิน ผลการรักษาในผู้ป่วยกระดูกพรุน


สรุป ภาวะของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ และสตรีวัยหมดระดู หากได้รับการตรวจวินิจฉัย จะสามารถลดโอกาสเสี่ยงและป้องกันการเกิดกระดูกหักได้ ในผู้สูงอายุเองอาจชลอหรือยับยั้งการ สูญเสียกระดูกได้ ด้วยการรับประทานแคลเซียม และออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ ตลอดจนการรักาาด้วยยาเมื่อเกิดโรคกระดูกพรุนแล้ว
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกควรพิจารณาตรวจในรายที่มีปัจจัยเสี่ยต่อโรคกระดูกพรุน เพราะเป็นเป้าหมายของการตรวจคือการวินิจฉัย แต่เนิ่น นอกจากนี้ การตรวจจะยังให้ประโยชน์ในการประเมินผลการรักษา โดยเปรียบเทียบความหนาแน่นของกระดกกระดูกก่อน และระหว่างการรักษา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของกระดูกจะเป็นไปอน่างช้าๆ ดังนั้น การตรวจซ้ําเพื่อประเมินผลการรักษา ควรจะ กระทํา 1ปีภายหลัง ให้การรักษา หรืออย่างน้อย 6 เดือน หลังให้การรักษา




ที่มาข้อมูล : นิตยสารวิชัยยุทธจุลสาร

แพทย์หญิงจันทร์เต็ม เก่งสกุล

- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- Thai Board of Radiology
 
 
 

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำแนะนำ 7 ประการต้านมะเร็ง

นับวันจำนวนผู้ป่วยมะเร็งมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่องยๆ จนสถาบันชั้นนำของสหรัฐอเมริกาหลายสถาบันต้องศึกษาวิจัยกันอย่างจริงจังเพื่อหาแนวทางยับยั้งโรคนี้ไม่ให้คร่าชีวิตประชากรโลกไปมากกว่านี้


หลังจากวิจัยมาอย่างยาวนานในที่สุดศูนย์วิจัยเห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วสร์ดก็ได้ผลการวิจัยและได้สรุป 7 คำแนะนำเพื่อป้องกันโรคมะเร็งไว้ดังนี้


1. กินอาหารเพื่อสุขภาพ

เน้นผักใบเขียวจัด และผักหลากหลายสี เช่นคะน้าหรือบร็อกโคลี่วันละ5 กำมือ และผลไม้หลากสี 3 กำมือต่อวัน และควรเน้นหนักที่พืชมีเส้นใยมากอย่าง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช ถั่วฝักยาว ยอดแค และกระเทียม

2. ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมง

อย่างน้อย 4 ครั้งต่อสัปดาห์ จากการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายดังกล่าว จะช่วยลดการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ และมพเร็งเต้านม แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไปเพราะร่างกายจะหลั่งสารทุกข์ (Cortisol) และสร้างอนุมูลอิสระออกมาซึ่งจะทำให้เราแก่เร็วแทน


3. งดการดื่มเหล้า

หากเลี่ยงไม่ได้ควรดื่มไม่เกินวันละ 4 แก้ว การงดเหล้าเข้าปากจะช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่- ไส้ตรง มะเร็งปาก มะเร็งคอหอย และมะเร็งหลอดอาหาร เช่นเดียวกับกาแฟ หากเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยง



4. รักษาน้ำหนักตัวไว้ให้ดี

อย่าให้เกินค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสม ซึ่งค่าดัชนีมวลกายนี้ คำนวณจากการเอาน้ำหนักตัวในหน่วยกิโลกรัมมาหารด้วยความสูงหน่วยเป็นเมตรที่ยกกำลัง 2 แล้ว

5. งดสูบบุหรี่

และเลี่ยงอาหารที่เป็นแป้งน้ำตาลขัดขาว บุหรี่ไม่สามารถอนุโลมได้เหมือนเหล้า เพราะบุหรี่เพียงมวนเดียวก็สร้างอนุมูลอิสระในร่างกายได้ถึงหนึ่งแสนล้านโมเลกุลเลยทีเดียว ซึ่งอนุมูลอิสระที่เป็นสารไม่มีประโยชน์ในร่างกาย และเมื่อสะสมมากไปจะไปทำลายเซลล์ร่างกายให้ล้มเหมือนโดมิโนและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด


6. ป้องกันร่างกายจากแสงแดด

ด้วยการใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสมสำหรับบ้านเราซึ่งอย่างต่ำต้องมี SPF 30 เพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง



7. มีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย

เพราะเชื้อกามโรคอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์ได้


ที่มา : นพ.กฤษดา สิรามพุช / หนังสือธรรมชาติต้านมะเร็ง สนพ.ฐานบุ๊คส์


วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

อาหารที่ช่วยทำให้อ่อนวัย

• หยุดผมร่วง รับประทานกล้วย ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี มีสรรพคุณป้องกันผมร่วงได้ดี การรับประทาน กล้วยเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยรักษาเส้นผมให้อยู่คู่กับหนังศีรษะได้นานวัน


• ลดผิวมัน รับประทานธัญญาหารทุกเช้า ซึ่งอุดมด้วยวิตามินบี 2 ที่ช่วยหยุดยั้งการผลิตน้ำมันส่วนเกิน ของต่อมผลิตภายในร่างกายที่เป็นสาเหตุหนึ่งของเส้นผมบางและ มัน

• หยุดการลอกของผิวหนัง รับประทานปลาแซลมอนใส่เกลือรมควัน อาหารทะเล หรือสลัดผักสดก็ได้

• ผิวเนียนใสเหมือนเด็ก รับประทานมะม่วง มีเบต้าแคโรทีนที่ช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพดี โดยช่วยกระตุ้นการสร้าง ผิวหนัง รวมทั้งหนังศีรษะเพื่อทดแทนของเดิมที่หยาบแห้งและขรุขระ ให้กลับมีความชุ่มชื่นและนุ่มเนียน

• ชะลอผมหงอก รับประทานถั่วลิสงอบเนยรวมกับเกล็ดขนมปังที่อบมาร้อน ๆ ก่อนมื้ออาหาร ถั่วลิสงมี วิตามินบีที่สามารถหยุดการเปลี่ยนสีผมได้ และยังทำให้ผิวหนังดูดีขึ้นอีกด้วย

• ดูหนุ่มสาวขึ้นอีก 5 ปี รับประทานฝรั่ง หรือน้ำฝรั่งซึ่งอุดมด้วยวิตามินซี เพราะจะช่วยเก็บรักษาคอลลาเจนที่เป็นบ่อเกิดแห่งโปรตีนภายใต้ผิวหนัง หรือรับประทานมะละกอ ส้ม ลูกเกดสีดำอบแห้ง ร่วมกับ ผลไม้ประจำวันก็จะช่วยเพิ่มวิตามินซีเช่นกัน

• ปกป้องใบหน้าจากมลพิษ วิตามินบีในอะโวคาโดช่วยทำให้ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย และร่างกายเกิดความ ต้านทานจากการทำลายในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้รวมถึงการถูกทำลายจากบรรยากาศที่มลภาวะเป็นพิษ


รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าอยากแลดูอ่อนเยาว์ ก็ควรเลือกรับประทานให้เหมาะสม.
 
 

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

เมนูอาหารป้องกันมะเร็ง

โรคมะเร็งมีลักษณะพิเศษ คือ มีการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ เซลล์พวกนี้จะแพร่กระจายไปอย่างอิสระ และทำลายอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ การแบ่งตัวของเซลล์เริ่มต้นที่ใดก็มักจะเรียกชื่อมะเร็งตามที่นั้นๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม เป็นต้น

มะเร็งเกิดขึ้นจากเซลล์เพียงเซลล์เดียว แต่สามารถแพร่กระจายเป็นทวีคูณได้อย่างรวดเร็ว เพราะเซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์ที่ผิดปกติ จึงไม่ทำหน้าที่เหมือนเดิม เซลล์พวกนี้จะดึงเอาสารอาหารในร่างกายมาใช้ในการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์ปกติในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้นๆ เมื่อทิ้งไว้นานเข้าเซลล์มะเร็งนี้จะเริ่มรุกรานไปยังอวัยวะอื่นๆ

สาเหตุของโรคมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มี สารก่อมะเร็ง ที่อาจมาจากเชื้อไวรัสและสารเคมีบางชนิด ตลอดจนปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและนิสัยการบริโภค มีโรคมะเร็งบางชนิดที่มีพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย

ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างสามารถควบคุมได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น และวิธีรักษาที่ดีที่สุดเมื่อมะเร็งเกิดขึ้นแล้ว คือ การหยุดการแพร่กระจายให้เร็วที่สุด นั่นคือต้องตรวจพบในระยะเนิ่นๆ การตรวจร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน

สารอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับโรคมะเร็งอาจไม่ชัดเจนเท่ากับอาหารกับโรคหัวใจ แต่มีโรคมะเร็งบางชนิดโดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับนิสัยการกินดื่ม และ คำแนะนำสำหรับการป้องกันโรคมะเร็งไม่แตกต่างจากคำแนะนำอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไปมากนัก อย่างเช่น

รับประทานผักและผลไม้มากๆ ผักและผลไม้มีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพกว่า 100 ชนิด ทั้งวิตามิน เกลือแร่ เส้นใยอาหาร และสารอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้สีเข้ม ๆ วันละ 5 ส่วน ซึ่ง 1 ส่วนที่ว่านี้ เท่ากับ ผักสุก 1 ทัพพี หรือ ผลไม้ประมาณ 6-8 ชิ้นคำ หรือ 1 ลูกเล็ก ผักและผลไม้หลายชนิดมี เบต้าแคโรทีน (ซึ่งเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย) วิตามินซี อี และซีเลเนียม วิตามินและเกลือแร่เหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วปกป้องเซลล์ต่างๆ ในร่างกายจากการถูกทำลาย นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายอีกด้วย สารต้านมะเร็งอื่นๆ ที่พบในผักและผลไม้ ได้แก่ เส้นใยอาหาร ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่ และสารไฟโ ตเคมิคอล ซึ่งพบในอาหารจากพืช พืชผักจะผลิตสารไฟโตเคมิคอลขึ้นมาเพื่อปกป้องจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราต่างๆ ตัวอย่างสารไฟโตเคมิคอล ได้แก่ แคโรเทอนอยด์ หรือเบต้าแคโรทีน ในผักสีเขียวเข้ม ส้ม เหลือง สารอูทีนในบร็อคโคลีและผักใบเขียวเข้ม และสารไลโคพีนในมะเขือเทศ สารไฟโตเคมิคอลมีกระบวนการทำงานต่างกัน บางชนิดมีหน้าที่ช่วยเอนไซม์ลดปฏิกิริยาของสารก่อมะเร็งลง หรือบางชนิดอาจทำลายสารเหล่านี้เลย ผักตระกูลกะหล่ำเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจมีส่วนช่วยลดสารก่อมะเร็งลง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผักเหล่านี้ได้แก่ ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี ผักกาด แขนงผัก หัวไชเท้า และผักวอเตอร์เครส อุดมไปด้วย เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และไฟเบอร์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของแคลเซียม ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิคที่ดีต่อสุขภาพด้วย


เลือกรับประทานเมล็ดถั่ว ธัญพืช ผู้เชี่ยวชาญพบว่าการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง อาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ สาเหตุก็คือ เส้นใยอาหารช่วยให้ของเสียผ่านลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น สารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายจึงไม่สามารถมีเวลาทำปฏิกิริยากับผนังลำไส้ได้นาน เพื่อให้ได้รับเส้นใยอาหารอย่างเพียงพอ แนะนำให้รับประทานผลไม้อย่างน้อย 2 ส่วน ผัก 3 ทัพพี ข้าวกล้อง เมล็ดถั่ว และธัญพืชอีก 3 ทัพพี ต่อวัน ถ้าใครไม่ชินกับอาหารที่มีกากใยสูง นั่นคือ ถ้ารับประทานมากๆ จะทำให้เกิดลม แน่นท้อง หรือถ่ายท้องมาก ควรป้องกันโดยค่อยๆ เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูงทีละอย่าง จนร่างกายเกิดความเคยชิน เมื่อรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ควรดื่มน้ำตามมากๆ ด้วย เพราะเส้นใยอาหารนี้เป็นเหมือนฟองน้ำที่ดูดน้ำจากลำไส้ใหญ่ ช่วยเจือจางสารก่อมะเร็ง ทำให้ของเสียต่างๆ ผ่านลำไส้ใหญ่ได้เร็ว และช่วยป้องกันท้องผูกได้ด้วย

เลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบความเกี่ยวข้องระหว่างอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง กับโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงพบมากในไขมันสัตว์ เนย เนยแข็ง ครีมสด นมไขมันเต็ม ผู้ที่มีนิสัยชอบรับประทานอาหารไขมันอิ่มตัวสูง มักได้รับเส้นใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่มาจากพืชผักน้อย ที่แน่ๆ ไขมันในอาหารทำให้อาหารรสชาติดีขึ้น และไขมันในปริมาณที่พอเหมาะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย ดังนั้นวิธีทำให้ร่างกายได้รับไขมันที่ดีในปริมาณพอเพียง มีดังนี้


* ตัดไขมันออกจากเนื้อสัตว์ให้มากที่สุด

* เลือกรับประทานปลาอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

* รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช ให้มากๆ

* เลือกนม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไขมันต่ำ หรือปราศจากไขมัน

* ประกอบอาหารโดยใช้วิธีที่ใช้น้ำมันไม่มาก และเลี่ยงกะทิ

* ระวังเรื่องปริมาณอาหาร

* ถ้ามื้อไหนรับประทานอาหารไขมันสูง ควรรักษาสมดุลในอาหารมื้อถัดไปโดยการเลือกอาหาร เบาๆ

* เลือกใช้น้ำมันพืชทุกครั้งที่ประกอบอาหาร

ที่มาข้อมูล : กฤษฎี โพธิทัต นิตยสาร Health Today