วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการเล่นกอล์ฟที่ดีขึ้น…

วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการเล่นกอล์ฟที่ดีขึ้น…


กอล์ฟเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน และมีจำนวนผู้ที่เล่นกอล์ฟมากขึ้นทุกปี ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เป็นกีฬาที่มีความท้าทาย เป็นกีฬาที่ได้เล่นอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อสุขภาพ เพื่อธุรกิจ และเพื่อสังคม เป็นต้น
เมื่อจำนวนผู้เล่นกอล์ฟเพิ่มขึ้น ก็มีผู้เล่นส่วนหนึ่งมีความรู้สึกจริงจังและเข้าร่วมแข่งขันตามรายการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง หรือบางคนที่ประสบความสำเร็จมากๆ ก็เข้าสู่การเป็นนักกอล์ฟอาชีพ ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการระหว่างที่จะเข้าสู่การแข่งขันคือ มีการฝึกซ้อมมากขึ้น และโดยส่วนใหญ่ก็ให้ความสำคัญกับการฝึกทักษะของการสวิงกอล์ฟเพียงอย่างเดียว โดยลืมนึกถึงองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการนำไปสู่ความสำเร็จในการเล่นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ นั่นคือ องค์ประกอบของการฝึกทักษะ องค์ประกอบของการฝึกทางจิตใจ และองค์ประกอบของการฝึกทักษะทางกาย ทั้ง 3 องค์ประกอบเป็นแนวทางหลักสำหรับการจัดโปรแกรมการฝึกซ้อมให้กับนักกีฬาทุกชนิด แต่จะให้ความสำคัญในองค์ประกอบไหนมากกว่ากันขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่เฉพาะกับรูปแบบของเกมส์ และกติกาการแข่งขัน สำหรับกอล์ฟเป็นกีฬาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจเป็นลำดับแรก ดังที่นักกอล์ฟระดับโลกหลายคนได้กล่าวถึงว่า “กอล์ฟเป็นเกมส์แห่งจิตใจ” แต่อย่างไรก็ตามหากขาดการพัฒนาทักษะที่ดีพอ และสภาพร่างกายไม่เอื้อต่อการแข่งขัน ย่อมเป็นสิ่งที่ยากลำบากในการที่จะเข้าถึงความสำเร็จที่ต้องการ
ดังนั้นผู้ที่เป็นตัวแทนขององค์ประกอบทั้ง 3 ได้แก่ ผู้ฝึกสอนด้านทักษะกอล์ฟ (โปร) นักจิตวิทยาการกีฬา และผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกายต้องทำงานร่วมกัน โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในด้านต่างๆ ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมการฝึกซ้อม ได้แก่ สรีรวิทยาการออกกำลังกาย กายวิภาคศาสตร์ โภชนศาสตร์การกีฬา กีฬากับการแพทย์ ชีวกลศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา เทคโนโลยีทางการกีฬา และการเป็นผู้ฝึกกีฬา ในองค์ความรู้แต่ละด้านมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจจะยกตัวอย่างประกอบโดยย่อดังนี้
สรีรวิทยาการออกกำลังกาย เป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการตอบสนองและการปรับตัวของระบบต่างๆ ต่อการออกกำลังกาย การฝึกซ้อมกีฬา รวมถึงต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ร่างกายต้องมีการออกแรงเพื่อการเลื่อนไหว  ทั้งนี้การตอบสนองและการปรับตัวของระบบต่างๆ จะมีความแตกต่างกันตามความหนัก ปริมาณ ความถี่ และความเฉพาะเจาะจง ของงานที่ได้รับ เช่น อัตราการเต้นหัวใจต่อหนึ่งนาทีที่ตอบสนองต่อการออกรอบ 18 หลุม โดยใช้การเดินจะเต้นเร็วกว่า การนั่งรถกอล์ฟ ที่เป็นเช่นนี้เพราะร่างกายต้องมีการเคลื่อนไหวที่มากกว่า กล้ามเนื้อที่ต้องออกแรงจึงต้องการสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดเพื่อไปสร้างพลังงานให้เพียงพอต่อการทำกิจกรรม ดังนั้นหัวใจจึงต้องเพิ่มปริมาณการสูปฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อให้มากขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับตัวเป็นการที่เกิดจากการทำกิจกรรมนั้นซ้ำๆ เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน  เช่น การฝึกเพื่อให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต้องใช้เวลาประมาณ 12 สัปดาห์ เป็นต้น

ข้อมูลจาก http://www.hotgolfclub.com

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์จากการฝึกสมาธิ


ประโยชน์จากการฝึกสมาธิ
โดย...นางสาวศิวาพร   หมีน้อย
อ.ธัญบุรี  จ.ปทุมธานี

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

          เราทุกคนล้วนเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ” เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดใน
ประเทศ แต่ทำไมคนไทยเกือบทั้งประเทศยังคงเต็มไปด้วยความทุกข์ เนื่องจากสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้วย
สภาพเศรษฐกิจ ความเจริญทางด้านวัตถุ การดำเนินชีวิตประจำวันที่เร่งรีบเพื่อที่จะปฎิบัติภาระกิจของแต่ละบุคคลให้สำเร็จ ส่งผลให้
ผู้คนส่วนใหญ่ห่างไกลจากการเข้าวัดปฎิบัติธรรม การนั่งวิปัสสนา หรือการฝึกสมาธิ กันเป็นจำนวนมาก
          คนมักถามว่าฝึกสมาธิแล้วได้ประโยชน์อะไรในชีวิตประจำวัน เป็นการยากที่เราจะเห็นได้ว่าการฝึกสมาธิเป็นเรื่องง่ายและ
ธรรมดามากที่สุด แต่แท้จริงแล้วการฝึกสมาธินั้นไม่ยากและประโยชน์ของการฝึกสมาธินั้นมีมากมายมหาศาล อาทิเช่น
          ๑. ประโยชน์ทางด้านสุขภาพจิต คือ ทำให้จิตใจผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ เยือกเย็น ปลอดโปร่ง สติปัญญาดีขึ้นส่งเสริม
สมรรถภาพทางใจ คิดอะไรได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเลือกคิดแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น ถ้าเป็นนักเรียนก็จะทำให้มีความจำดีส่งผลให้การเรียน
หนังสือดีขึ้น

          ๒. ประโยชน์ทางด้านพัฒนาบุคลิกภาพ คือ ทำให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า มีความสง่าผ่าเผย มี
ความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่นและเชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นผู้มีเสน่ห์ เพราะมัก
ไม่โกรธเมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกหรือวาจาที่ไม่ดีจากบุคคลอื่นมากระทบจิตใจ ก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และปล่อยวางได้ ก่อให้
เกิดความเมตตากรุณาต่อบุคคลทั่วไป
          ๓. ประโยชน์ทางด้านชีวิตประจำวัน คือ ช่วยให้คลายเครียด เป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพในการทำงานและการศึกษาเล่า
เรียน ช่วยเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะร่างกายกับจิตใจสมดุลกัน ถ้าจิตใจเข้มแข็ง ย่อมเป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว
         ๔. ประโยชน์ทางด้านศีลธรรมจรรยา คือ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เชื่อในกฎแห่งกรรม สามารถคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่ว
ทั้งหลายได้ มีความประพฤติดี เนื่องจากจิตใจดี ทำให้ความประพฤติทางกายและวาจาดีตามไปด้วย ย่อมเป็นผู้มีความมักน้อย
สันโดษ รักสงบและมีขันติเป็นเลิศ และเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีสัมมาคารวะ
และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน

          ๕. ประโยชน์ทางด้านครอบครัว คือ ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข เมื่อสมาชิกในครอบครัวเห็นประโยชน์ของการปฎิบัติธรรม
ทุกคนตั้งมั่นอยู่ในศีล ปกครองกันด้วยธรรม เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคี ความสัมพันธ์ครอบครัว
แน่นแฟ้นมากขึ้น เพราะสมาชิกต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยไม่บกพร่อง เมื่อมีปัญหาครอบครัวหรือมีอุปสรรคอันใด ย่อมร่วมใจกันแก้ไข
ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
          ๖. ประโยชน์ทางด้านสังคมและประเทศชาติ คือ ทำให้สังคมสงบสุข ปราศจากปัญหาอาชญากรรม และปัญหาสังคมอื่นๆ เพราะ
ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการฆ่า การข่มขืน โจรผู้ร้าย การทุจริตคอรัปชั่น ล้วนเกิดขึ้นมาจากคนที่ขาด
คุณธรรม ผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอ หวั่นไหวต่ออำนาจสิ่งยั่วยวน หรือกิเลสได้ง่าย ผู้ที่ฝึกสมาธิย่อมมีจิตใจเข้มแข็ง มีคุณธรรมในใจสูง ถ้า
แต่ละคนในสังคมต่างฝึกฝนอบรมใจของตนให้หนักแน่น มั่นคง สังคมก็จะสงบสุขได้ ทำให้เกิดความมีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย
บ้านเมือง ดังนั้นปัญหาที่เกิดจากความไม่มีระเบียบวินัยของประชาชนก็จะไม่เกิดขึ้น ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า เมื่อสมาชิกในสังคม
มีสุขภาพจิตดี รักความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ย่อมส่งผลให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย สละความ
สุขส่วนตน ให้ความร่วมมือกับส่วนรวมอย่างเต็มที่ และถ้ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อสังคม มายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกก็จะไม่เป็นผล
สำเร็จเพราะสมาชิกในสังคมเป็นผู้มีจิตใจหนักแน่น มีเหตุผล และเป็นผู้รักสงบ
          ๗. ประโยชน์ทางด้านศาสนา คือ ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง และรู้ซึ้งถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา เกิดศรัทธา
ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย และพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่การปฏิบัติธรรม และการฝึกสมาธิที่ถูกต้องให้แพร่หลายไปอย่าง
กว้างขวาง เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

          การฝึกสมาธิไม่ใช่เรื่องเหลวไหล หากแต่เป็นวิธีที่จะทำให้ชีวิตและสังคมดำรงอย่างสันติสุข เมื่อเราเข้าใจซาบซึ้งถึงประโยชน์
ของการฝึกสมาธิแล้ว การดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปอย่างเรียบง่ายและมีสติ รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราทำอะไรและกำลังจะทำอะไร เกิดปัญญา
และพิจารณาสิ่งต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวันได้อย่างชาญฉลาด และย่อมเป็นผลดีเมื่อทุกคนในครอบครัวและสังคมปฎิบัติดี มีน้ำใจ
ต่อกัน เมื่อนั้นย่อมเป็นที่หวังได้ว่า สันติสุขที่แท้จริงก็จะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน



เอกสารอ้างอิง...................................................................................................................................................................................................................................................http://www.whatami.8m.com/lum/lum23.html
http://www.kmitl.ac.th/buddhist/tumma/
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7249ee2a1466bd2b&clk=wttpcts

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

สมรรถภาพทางจิต ( Mental Fitness )

สมรรถภาพทางจิต ( Mental Fitness )
 

เป็นอีก    สิ่งหนึ่ง ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และมีบทบาทเป็นอย่างมากในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขันกีฬา การฝึกสมรรถภาพทางจิต ( Psychological Skill Training or   PST )  ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย  และเริ่มศึกษากันอย่างจริงจังมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการฝึกแบบจิตคลุมกาย และการฝึกแบบกายคลุมจิต          

          เทคนิคการหายใจ   ( Complete Breath   or Breathing  Control ) เป็นเทคนิคหนึ่งของการฝึกแบบกายคลุมจิต เนื่องจากใช้การฝึกควบคุมร่างกาย  เพื่อให้ไปมีผลกับสภาวะจิตใจ ใช้เวลาในการฝึกเพียงเล็กน้อย  ทำให้สามารถนำมาใช้ในการออกกำลังกาย  หรือการแข่งขันได้ง่าย วิธีการคือการที่ผู้ฝึกหัดบรรจุอากาศลงไปในปอดโดยการจินตนาการว่า ปอดมีสามส่วน  ส่วนแรกคือการบรรจุอากาศโดยการดันท้องออก   ส่วนที่สองคือการบรรจุอากาศโดยการขยายหน้าอก  ส่วนที่สามคือการบรรจุอากาศโดยการยกหัวไหล่ขึ้น  การหายใจออกจะทำช้าๆ โดยการกลับขั้นตอนการหายใจเข้า เทคนิคเหล่านี้ จะคล้าย ๆ กับโยคะ  (Hatha Yoga )  และการทำสมาธิ ( Meditation ) ซึ่งมักจะใช้การกำหนดลมหายใจเป็นส่วนศูนย์กลาง  การ ฝึกการหายใจ จะทำให้การหายใจลึก และนานขึ้นกว่าเดิม ทำให้ประสิทธิภาพ ในการขนส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความเครียด และความวิตกกังวลลดลง   นอก จากนี้ จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจเพิ่มสูงขึ้นด้วย รวมทั้งสมาธิในการออกกำลังกาย หรือการแข่งขันกีฬาก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

สมรรถภาพทางกายที่ดี เมื่อรวมเข้ากับการมีสุขภาพจิตที่ปกติ 

 มีการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายที่เป็นปกติตลอดจนทรรศนะของบุคคลทางด้าน คุณธรรม หรือศีลธรรมอันดีงาม จะเป็นผลรวมให้ตัวบุคคลผู้นั้นเป็นประชากรที่มีคุณภาพ เป็นที่พึงปรารถนาของสังคมและประเทศชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคลทุกระดับเราสามารถกล่าวโดยสรุป ได้ว่า การมีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะช่วยให้เกิดผล 3 ด้าน ได้เเก่

ผลด้านสุขภาพทางร่างกาย

1. ระบบหัวใจเเละการไหลเวียนโลหิต - หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น ปริมาณการสูบฉีดโลหิตมีมากขึ้น - กล้ามเนื้อหัวใจมีความเเข็งเเรงมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น - อัตราการเต้นของหัวใจหรืออัตราชีพจรต่ำลง - หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นตัวดี - ปริมาณของเม็ดเลือดและสารฮีโมโกลบินเพิ่มมากขึ้น

2. ระบบการหายใจ - ทรวงอกขยายใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจทำงานดีขึ้น - ความจุปอดเพิ่มขึ้นเนื่องจากปอดขยายใหญ่ขึ้น การฟอกเลือดทำได้ดีขึ้น - อัตราการหายใจต่ำลง เนื่องจากปอดมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

3. ระบบกล้ามเนื้อ - กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะมีโปรตีนในกล้ามเนื้อมากขึ้นเส้นใยกล้ามเนื้อโตขึ้น - การกระจายของหลอดเลือดฝอยในกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อสามารถทำงาน ได้นาน หรือมีความทนทานมากขึ้น

4. ระบบประสาท         การทำงานเกิดดุลยภาพ ทำให้การปรับตัวของอวัยวะต่างๆ ทำได้เร็วกว่าการรับรู้สิ่งเร้า การตอบสนองทำได้รวดเร็วและแม่นยำ

5. ระบบต่อมไร้ท่อ         การทำงานของต่อมที่ผลิตฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวร่างกายได้เป็นปกติ และมีประสิทธิภาพ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และต่อมในตับอ่อนเป็นต้น

6. ระบบต่อมอาหารและการขับถ่าย         สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การผลิตพลังงานและการขับถ่ายของเสียเป็นไปได้ด้วยดี

7. รูปร่างทรวดทรงดี มีการทรงตัวดี บุคลิกภาพและอริยาบทในการเคลื่อนไหวสง่างามเป็นที่ประทับใจเเก่ผู้พบเห็น

8. มีภูมิต้านทานโรคสูง ไม่มีการเจ็บป่วยง่าย ช่วยให้อายุยืนยาว

9. มีสุขภาพจิตดี สามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่สร้างความกดดันทางอารมณ์ได้ดี ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี มีความสดชื่นร่าเริงอยู่เสมอ