วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีการหาซื้อลู่วิ่งมาใช้ที่บ้าน

มาแนะนำวิธีการหาซื้อลู่วิ่งมาใช้ที่บ้านกันครับ ทราบกันดีว่าเวลาเราไปเดินตามห้างใหญ่ๆเพื่อเลือกซื้อลู่วิ่ง หรืออุปกรณ์กีฬาอื่นๆนั้น มันมีให้เลือกหลายราคาซะเหลือเกิน แถมคนขายก็เยอะ คอยเชียร์เครื่องนั้นเครื่องนี้จนปวดหัวไปหมด บางทีก็เผลือซื้อมาเพราะหลวมตัวซื้อก็เคยเป็นสำหรับผู้อ่านบางท่าน เรามาเข้าเรื่องวิธีการเลือกซื้อกันเลยดีกว่าครับ เดี๋ยวมันจะไปกันใหญ่ ตามหัวข้อด้านล่างนี้เลยครับ !! มีอะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้อลู่วิ่งสักเครื่องบ้างครับ ลองมาฟังทางนี้กันครับ ในมุมมองของช่างอย่างผม fitnessservice โครงสร้างขนาดและน้ำหนัก – ควรเลือกดูลู่วิ่งที่มีโครงสร้างแข็งแรง เหมาะกับคนที่จะใช้งานครับ เช่นถ้าท่านตัวใหญ่ ก็ควรจะใช้ลู่วิ่งมีขนาดใหญ่ ถ้าท่านตัวเล็กก็เลือกลู่วิ่งที่เล็กลงมาหน่อย (ความกว้างของสายพานนะครับ) เพราะว่าราคามันต่างกัน




กำลังของเครื่องมอเตอร์ - ให้เลือกซื้อลู่วิ่งที่มีกำลังแรงม้าเหมาะสมกับขนาดร่างกายของท่านเช่นเดียวกัน ตามแรงม้าของมอเตอร์ครับ มอเตอร์จะมี 2 แบบคือ AC กับ DC ถ้าท่านใช้งานหนักให้เลือกมอเตอร์แบบ AC เท่านั้น ถ้าใช้ตามบ้านก็ DC ครับ เพราะมีราคาถูกกว่า และปลอดภัยกว่า ส่วนแรงม้าที่แนะนำกลางๆก็ระหว่าง 1.5 - 2.0 แรงม้าครับ พวกที่ใช้มอเตอร์ที่เบากว่านี้ ต้องอาศัยแรงขาช่วยลู่วิ่งครับกำลังขับเคลื่อนอาจจะไม่พอ



โปรแกรมในลู่วิ่ง - อันนี้ถ้าตามบ้านก็อาจจะใช้แบบที่ไม่ต้องมีโปรแกรมอะไรครับ แต่ถ้าเป็นในฟิตเนสก็อาจจะต้องมีโปรแกรมหลากหลายหน่อย มีทั้งแบบวิ่งที่ราบ ขึ้นเขา วิ่งแบบ interval วิ่งแบบเพื่อลดน้ำหนักและอีกสาระพัดรูปแบบ บางทีก็สามารถโปรแกรมได้ทั้งความชัน เวลา รวมทั้งบันทึกประวัติการออกกำลังกายของคุณได้ด้วย แต่อย่าลิมว่ายิ่งมี option มากเท่าไรก็แพงมากขึ้นเท่านั้นแล้วแต่ความชอบ และเงินในกระเป๋าครับ

ความราบรื่นไม่สะดุด - เมื่อเราปรับความเร็วของลู่วิ่ง ก็ควรจะทำได้ราบรื่นขณะวิ่ง ไม่สะดุดหรือลื่นไหล อันนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งสายพานด้วยครับ ความสามารถของช่างในการประกอบด้วย

บริการหลังการขาย – อันนี้สำคัญครับ เช่นหากเกิดปัญหาบริการดีแค่ไหน มาดูเครื่องให้ทันใจมั้ย การประกอบของช่าง การลงน้ำมัน (สำคัญมาก) หรือการดูแลเครื่องอื่นๆ ต้องหาบริษัทที่ไว้ใจได้ และมีชื่อเสียงด้านนี้ครับ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่บริษัทเท่าที่ผมซ่อมเครื่องมา ต้องโทรมาคุยครับ หรือส่งเมมาได้ จะแนะนำบริษัทดีๆให้ครับ ส่วนเครื่องมือสอง ถ้ามีคนขายผมจะเอามาลงให้ครับ


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความเร็วในการฝึกเวท

              ความเร็วในการฝึกนับเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถภาพแบบแอนแอ โรบิค เบลล์ (Bell, Peterson, Arthur – Quinsney, & Wenger, 1989) ได้ทำการศึกษาถึงผลของความเร็วในการฝึกความแข็งแรง ที่มีต่อค่า พลังแบบแอนแอโรบิค โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย จำนวนทั้งสิ้น 18 คน ฝึกความเร็วต่ำ กับความเร็วสูง ทำการฝึก 4 วัน / สัปดาห์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า การฝึกทั้งแบบความเร็วต่ำ และความเร็วสูง ไม่มีอิทธิพลต่อการเพิ่ม พลังแบบแอนแอโรบิค และพบว่าความแข็งแรงแบบไอโซไคเนติค (Isokinetic) มีความสัมพันธ์กันอย่างสูงกับค่าพลังแบบแอนแอโรบิค

             นอกจากนี้จากการศึกษาของ ปิยพงษ์ รองหานาม (2531) ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของการฝึกกล้ามเนื้อแบบ ไอโซโทนิค ด้วยความเร็วต่างอัตรา ที่มีต่อความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย จากวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่งก่อนการฝึกใกล้เคียงกัน กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกยกน้ำหนักที่ 70 % 1 RM ด้วยความเร็ว 8 ครั้งใน 10 วินาที กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกยกน้ำหนักที่ 70 % 1 RM ด้วยความเร็ว 8 ครั้งใน 15 วินาที ฝึก 3 วัน/สัปดาห์ ใช้เวลาในการฝึกทั้งสิ้น 10 สัปดาห์

            ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่งของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า ความสามารถในการยืนกระโดดในแนวดิ่งของกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             จะเห็นได้ว่าผลของการวิจัยยังค่อนข้างจะขัดแย้งกันอยู่ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่า การฝึกกล้ามเนื้อที่ความเร็วสูง หรือความเร็วต่ำ อย่างใดที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานแบบแอนแอโรบิคได้ดีกว่ากัน