วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการฝึกกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค


เชาว์   เหลืองอร่าม  (2527)   ได้ศึกษาถึงผลของการฝึกแบบไอโซโทนิค   ไอโซเมตริค    และการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อระยะทางการทุ่มน้ำหนัก  พบว่าการฝึกกำลังกล้ามเนื้อแบบไอโซโทนิค    ไอโซเมตริค   และการฝึกแบบผสมผสาน  ทำให้ค่าเฉลี่ยของระยะทางการทุ่มน้ำหนักไม่แตกต่างกัน ซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกับงานวิจัยของ  บาร์  (Barr, 1993)  ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการตอบสนองของประสาท และกล้ามเนื้อต่อการฝึกแบบไอโซเมตริค  ที่กล้ามเนื้อ  ไตรเซ็บ   กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงจำนวนทั้งสิ้น    18  คน  ถนัดขวา  ทำการฝึกแบบไอโซเมตริค  ที่กล้ามเนื้อไตรเซ็บ  ข้างขวา  เป็นเวลา   6   สัปดาห์  ภายหลังการฝึก  พบว่า  การฝึกแบบไอโซเมตริค  ทำให้กล้ามเนื้อไตรเซ็บ  มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
            ในการฝึกกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค  มีวิธีการฝึกด้วยกัน สองแบบ  คือการฝึกแบบเกร็งกล้ามเนื้อซ้ำๆกัน    กับเกร็งกล้ามเนื้อครั้งเดียว    เพื่อนใจ  บุญจันทร์ (2533)  ได้ศึกษาถึงผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบ ไอโซเมตริคสูงสุด ต่อความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อควอไดรเซฟส์ฟีมอริส  และเปรียบเทียบความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อจากกลุ่มที่ได้รับการฝึกแบบเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ครั้งเดียวกับกลุ่มที่ได้รับการฝึกชนิดเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ซ้ำๆกัน  10  ครั้ง  โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเพศหญิง  อายุระหว่าง  20 23 ปี ใช้ไดนาโมมิเตอร์วัดการหดตัวสูงสุดแบบ ไอโซเมตริค ในท่านั่ง สะโพกและเข่า อยู่ในท่างอทำมุม  120  และ  60 องศา ตามลำดับ ทดสอบความทนทานโดยวัดเวลานานที่สุดที่สามารถออกแรงดึงได้เต็มที่ กลุ่มทดลองทำการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่นาน  6 วินาที 1 ครั้ง/วัน  5  วัน/สัปดาห์  เป็นเวลา   4  สัปดาห์  วัดความแข็งแรง  ความอดทน และพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขา  แล้วแบ่งกลุ่มทดลองเป็น  2  กลุ่มย่อยกลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกเหมือนเดิม คือ  1  ครั้ง/วัน ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 ฝึก  10  ครั้ง/วัน (พักระหว่างครั้งนาน  20  วินาที) ทดสอบความแข็งแรง  ความอดทน และพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขา  ภายหลังการฝึก  4  สัปดาห์และ  8  สัปดาห์  ผลการทดลองพบว่า  การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริคสูงสุดสามารถเพิ่มความแข็งแรง  และความอดทนของกล้ามเนื้อได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกแบบเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ครั้งเดียวกับกลุ่มที่ได้รับการฝึกชนิดเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ซ้ำๆกัน    10  ครั้ง (ที่ระดับ  .01) 
            นอกจากนี้ยังพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายหลังสิ้นสุดการฝึกสัปดาห์ที่  4  ในกลุ่มทดลองที่ 1  และกลุ่มทดลองที่ 2   (เพิ่มขึ้น  58.32  และ  57.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) และไม่พบการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขา (ที่ระดับ  .05)  ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการเพิ่มความแข็งแรง  และความอดทนของกล้ามเนื้อในการศึกษาครั้งนี้     ไม่น่าจะเกิดจากการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ    ซึ่งจากการวิจัยของออลเวย์ส (Always, Dale, & Macdougall, 1990)  ได้รายงานผลการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงการหดตัวของกล้ามเนื้อ  triceps  จากความหนักที่แตกต่างกัน  ในการฝึกกล้ามเนื้อแบบ ไอโซเมตริค พบว่า  การฝึกกล้ามเนื้อแบบ ไอโซเมตริค ที่มีความหนัก ค่อนข้างน้อย  มีผลต่อการพัฒนาขนาดของกล้ามเนื้อได้ดี   จากงานวิจัยดังกล่าว  แสดงให้เห็นว่า  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค อาจไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดของกล้ามเนื้อ      
           นอกจากนี้  วิชัย   อึงพินิจพงศ์  (2533  อ้างอิงจาก  Loberson  , 1979)  ได้รายงานว่าการเกร็งกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริค 5 10  ครั้ง/วัน  5  วัน/สัปดาห์  ดีกว่าการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียวในเรื่องของทำให้เกิดแรงจูงใจในการฝึก   พบว่าการฝึกแบบนี้สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เฉพาะมุมที่ได้รับการฝึก  หรือช่วงมุมการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงกับมุมที่ได้รับการฝึก  โดยเฉลี่ยประมาณบวกลบ  10  องศา  ดังนั้นถ้าต้องการให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตลอดช่วงการเคลื่อนไหวข้อทั้งหมดจำเป็นต้องฝึกหลายๆช่วงของมุมการเคลื่อนไหว  และควรฝึกในมุมที่ห่างกันไม่เกิน  20  องศา



   
 
 

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ

ช่วยแพทย์พบจุดตีบตัน  รักษาได้ทันก่อนถึงแก่ชีวิตหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ  ซึ่งทำหน้าที่ไปเลี้ยงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย  โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน  ( coronary  artery  disease, CAD ) เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดทำไมต้องตรวจหลอดเลือดหัวใจ           
         หลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่ไขมันมาเกาะบนเยื่อบุผิวภายในผนังหลอดเลือด  ทำให้รูหลอดเลือดค่อยๆตีบแคบลง  ในระยะแรกอาจไม่มีอาการ  จนกระทั่งตีบแคบลงเกินร้อยละ  50  ของเส้นผ่าศูนย์กลาง  หลอดเลือดจึงจะแสดงอาการ  ถ้าบริเวณที่ตีบแคบนี้ถูกลิ่มเลือดไปอุดตันอย่างทันทีทันใด  กล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดภาวะขาดเลือดทันที  ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจวาย  และผู้ป่วยจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิต  ดังนั้นการตรวจหลอดเลือดหัวใจ  นับเป็นการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้สัญญาณเตือนภัย           
         สัญญาณที่บ่งบอกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ได้แก่  อาการเจ็บแน่นหน้าอก  จุกเสียด  แน่นตรงกลางหน้าอก  อึดอัด  หายใจไม่สะดวก  เหมือนมีอะไรมากดทับหรือบีบรัดหน้าอก  อาจมีอาการปวดร้าวไปที่ต้นคอ  แขนซ้ายหรือกราม  ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้  เหงื่อออก  อาการเหล่านี้มักเกิดขณะออกกำลังกาย  และดีขึ้นเมื่อหยุดพักหรืออมยาใต้ลิ้น  หากหลอดเลือดหัวใจตีบมาก  อาการเหล่านี้จะรุนแรง  เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน  ทำให้หัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้การวินิจฉันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ           
         เมื่อแพทย์สงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย  เอกซเรย์ปอด  เจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง  ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน  โดยผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจเพียงบางอย่าง  หรือทุกอย่างซึ่งแพทย์จะเป็นพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ  คืออะไร           
         เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ  โดยการสอดสายสวนขนาดเล็กประมาณ  2  มิลลิลิตร  ผ่านผิวหนังบริเวณขาหนีบหรือข้อมือ  เข้าไปในหลอดเลือดแดงถึงหลอดเลือดหัวใจ  ฉีดสารที่เป็นของเหลวทึบรังสีเข้าไป  เพื่อดูการไหลเวียนของเลือดและตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ( สารทึบรังสีนี้เป็นสารไอโอดีน  ซึ่งมีมากในอาหารทะเล  ปริมาณที่ใช้ฉีดจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย  ยกเว้นผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้อาหารทะเล  และผู้ที่มีความผิดปกติของการทำงานของไต  ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาลดปริมาณสารทับรังสี  หรือพิจารณาการตรวจพิเศษอื่นๆแทน )            การตรวจโดยวิธีสวนหลอดเลือดหัวใจ  เป็นการตรวจที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด  แพทย์สามารถมองเห็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้โดยตรงว่ามีการอุดตันมากน้อยเพียงใด  อุดตันกี่แห่ง  สภาพหลอดเลือดที่อุดตันสามารถทำการรักษาด้วยวิธีถ่างขยายหลอดเลือดที่อุดตันด้วยบอลลูนหรือไม่       ระยะเวลาในการตรวจสวนเลือดหัวใจเฉลี่ยประมาณ  ½ - 1  ชั่วโมง  กรตรวจสวนหัวใจมีความเสี่ยงเพียง 0.01 % หรือ 1 คนต่อ 1,000  ซึ่งถือว่าน้อยมาก  จึงนับว่าเป็นมาตรฐานที่แม่นยำ  และเป็นข้อสรุปของการตรวจหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจสวนหัวใจ  ต้องเตรียมตัวอย่างไร           
         แพทย์จะเจาะเส้นเลือดแดงที่ขาหนีบด้านขวาเพื่อสอดสายสวน  ดังนั้นผู้ป่วยควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย  โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบและต้นขาทั้งสองข้าง  ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย  4 6 ชั่วโมงก่อนการสวนหัวใจ  อาจดื่มน้ำได้บ้างเมื่อต้องรบประทานยา  หากกระหายน้ำมากอาจใช้วิธีอมกลั้วคอแล้วบ้วนออกได้  ควรหยุดยาการต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด (Warfarin) อย่างน้อย 3 วันก่อนสวนหัวใจ            เจ้าหน้าที่จะโกนขนบริเวณขาหนีบเพื่อทำความสะอาดและเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค  พยาบาลจะเปิดเส้นเพื่อให้น้ำเกลือที่ข้อมือหรือหลังมือของผู้ป่วย  ผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนรับการตรวจ            หลังการสวนหัวใจผู้ป่วยสามารถสามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้  ควรดื่มน้ำมากๆเพื่อไล่สารทึบรังสีให้ออกจากร่างกาย  ผู้ป่วยต้องนอนราบบนเตียงประมาณ 4 6 ชั่วโมง  สามารถพลิกตัวได้โดยไม่ต้องงอขาหนีบ  หรืองอได้เกิน  30  องศา (โดยการปรับเตียง) แต่ยังไม่ควรยืน  นั่ง  หรือเดินเข้าห้องน้ำเอง            ในวันรุ่งขึ้นหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน  แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้  ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติงานตามปกติในวันรุ่งขึ้นแต่ในระยะ 1 2 วันแรก ไ ม่ควรเดินบ่อย  และไม่ควรเปิดแผลหรือให้แผลภูน้ำประมาณ 3 5 วัน  และควรมาตรวจตามที่แพทย์นัด  หากมีอาการเจ็บแน่นห้าอกหรืออาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์     



วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ออกกำลังกายยาขนานเอก...สุขภาพ

             คุณเคยได้ยินคำกล่าวเหล่านี้มาบ้างไหม  เช่น วิ่งแล้วรู้สึกสบายตัว  อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  เวลาไม่สบายใจให้ไปออกกำลังกาย  สมองจะได้ปลอดโปร่งหรือออกกำลังกายเป็นประจำจิตใจดีขึ้น  อารมณ์สดชื่นแจ่มใสคำกล่าวข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นผลการออกกำลังกายต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง  และเมื่ออ้างอิงถึงข้อมูลทางวิชาการแพทย์  การค้นพบว่าการออกกำลังกายให้ผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน  ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมและถูกต้อง  ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอควร  ข้อมูลที่สนับสนุนได้แก่ 
              -           อิทธิพลของฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน ( Endorphine ) ที่หลั่งออกมาในขณะที่ออกกำลังกาย  ฮอร์โมนตัวนี้จะออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ( Morphine) ทำให้จิตใจสบาย คลายความเจ็บปวด  และทำให้ยึดติดในการออกกำลังกายได้
              -           อิทธิพลของสารสื่อประสาทนอร์ปิเนฟฟริน (Norepinephine)  ทำให้มีความสุขลดความวิตกกังวล  และความเครียด  ตลอดจนทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย  และนอนหลับได้สนิท 
              -           ผลจากการที่หลอดเลือดหัวใจมีการแตกแขนงย่อยมากขึ้น  (Collateral circulation) ซึ่งระบบแขนงย่อยเหล่านี้มีประโยชน์มาก  เพราะจะช่วยเหลือกัน  ถ้าจุดใดการหล่อเลี้ยงบกพร่อง  ก็จะมีแขนงอื่นๆมาช่วยได้
              -           ทำให้การใช้ออกซิเจนดีขึ้น  กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อลายใช้ออกซิเจนดีขึ้น
              -           ทำให้ความดันโลหิตลดลง  ควบคุมน้ำหนักตัวได้ดีขึ้น   จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นผลดีของการออกกำลังกายชัดเจน  แต่อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายจะให้ประโยชน์สูงสุด  และไม่ต้องเสี่ยงกับผลเสียที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บต่อร่างกาย  ควรจะเป็นการออกกำลังกายที่มีการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกายเป็นอย่างดี  มีเสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม  มีระยะเวลาที่พอเหมาะและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง 
              ตลอดจนควรได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายให้แน่ชัดก่อนออกกำลังกายถ้าเป็นไปได้วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับสุขภาพหัวใจควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ( Aerobic -Exercise ) มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ต่อเนื่องอย่างเหมาะสม  มีการกระตุ้นระบบการเคลื่อนไหว  ระบบการหายใจ  รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิตต่อเนื่อง  โดยใช้เวลาของการออกกำลังกายประมาณ  30 45 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์  เช่น  วิ่งช้าๆปั่นจักรยาน  เดินบนสายพาน  ว่ายน้ำ  เหล่านี้เป็นต้น   
 
 
 

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis)

    
                 คนเมืองร้อนอย่างบ้านเรา  เมื่อลมหนาวมาเยือนทีไร  พากันดีอกดีใจกันยกใหญ่  (ที่ชอบอากาศเย็นสบายพากันจัดเวลาท่องเมืองเหนือหรือไปทัวร์ต่างประเทศสัมผัสความหนาวกันให้ถึงใจ แต่ก็มักมีปัญหากวนใจที่มาพร้อมกับอากาศแห้งที่มาพร้อมกับฤดูหนาวเช่นนี้  นั่นก็คือโรคผิวหนัง  และที่พบบ่อยคือโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน หรือ Seborrheic  dermatitisโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมันมีอาการอย่างไร ?      
                 โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนอดนี้  จะมีลักษณะเป็นผื่นแดง  มีสะเก็ดเล็กๆเป็นขุยลอกเป็นมันมีขอบเขตชัดเจน  มักพบในบริเวณที่ต่อมไขมันมีขอบเขตชัดเจน  มักพบในบริเวณที่ต่อมไขมัน เช่น ตามบริเวณระหว่างคิ้ว,ซอกจมูก,รูหู,หลังใบหู,ศีรษะ,ไรผม,คอ,หน้าอกช่วงบน,หลังช่วงบน,รักแร้  บริเวณขาหนีบก็พบได้ โดยผื่นเหล่านี้มักจะเป็นๆหายๆ  และมักพบว่าเป็นมากในบางช่วง  เช่น  ในช่วงที่อากาศหนาว  หรือช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ เช่น เครียด วิตกกังวล  นอนไม่หลับ หรือช่วงที่เจ็บป่วย     
                  โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน ( Seborrheic  dermatitis ) หากเกิดที่ผิวหนังจะต่างจากรังแค (Dandruff)  ตรงที่รังแคเป็นสะเก็ด  เป็นขุยสีขาวหรือเทา  และมีอากรคันหนังศีรษะ  หากว่าเป็นรังแคจะไม่มีอาการอักเสบบวมแดงที่หนังศีรษะเลย  ส่วนโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณต่อมไขมัน  จะมีอาการอักเสบของหนังศีรษะร่วมด้วย  ถ้าเผลอไปแกะหรือเกาอาจมีน้ำเหลืองเยิ้ม  หรือถ้าทิ้งไว้นานๆไม่รักษา  สะเก็ดจะหนามากขึ้นเรื่อยๆ  อาจเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้      โรคนี้มักพบในช่วงหนุ่ม สาว ผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่  18 20 ปี ในทารกระยะ 6 เดือนแรก  หรือในผู้สูงอายุก็พบได้เช่นกัน โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับเชื้อ Pityrosporum ovale  หรือ  Pityrosporum  orbiculare  เป็นเชื้อยีสต์ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขน  กินไขมันและโปรตีนของผิวหนังเป็นอาหาร  ซึ่งในคนที่เป็นโรคนี้จะพบเชื้อ  Pityrosporum ovale  มากขึ้นผิดปกติ  ก่อให้เกิดการกระตุ้นการลอกตัวของผิวหนัง  ปรากฏว่าเป็นขุยเล็กๆเนื่องจากเชื้อยีสต์นี้  เป็นเชื้อที่มีอยู่ปกติ (Normal Flora) จึงมีโอกาสเป็นใหม่ได้อีกเสมอ     
                 นอกจากนี้เชื้อ  Pityrosporum ovale  สามารถเปลี่ยนไขมันธรรมดาให้เป็นกรดไขมันได้  และพบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีผนังรูขุมขนไม่แข็งแรง  เซลล์หนังกำพร้าบริเวณนั้นๆ จะหลุดลอกง่ายเนื่องจากขาดไขมันชนิด  Linoleic acid  ทำให้เซลล์เหล่านี้หลุดลอกง่ายขึ้น  เมื่อมีกรดไขมันมารบกวนทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังเป็นๆหายๆ  แสงแดด  ความร้อน  ความหนาวเย็น  อากาศแห้ง ความเป็นด่างของสบู่  และเครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์  สามารถกระตุ้นให้เกิดผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้      การดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน
                 1.  การดูแลรักษา      โรคนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันและลดข้อแทรกซ้อนจากยาที่ใช้ในการรักษา  เช่น  ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์  และยาทาลดเชื้อยีสต์สำหรับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์  ถ้าใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ  จะทำให้เป็นสิว  ผิวบางเส้น  เลือดขยาย  และติดสเตียรอยด์ได้
                 2.  กรดูแลผิว     
                      -  การล้างหน้า  ควรใช้สบู่ที่ไม่ระคายเคืองต่อผิว  หรืออาจใช้น้ำเปล่าล้างหน้า  ล้างหน้าด้วยความนุ่มนวล   ไม่ควรล้างหน้าบ่อยจนเกินไป     
                      -  เลือกใช้ครีมชุ่มชื้นที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองได้ง่าย  และเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพผิว     
                      -  ควรเลือกใช้เครื่องสำอางชนิดที่เหมาะกับผิวแพ้ง่าย  และไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมแอลกอฮลล์  ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้     
                      -  ควรทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันผิวหน้าจากการรบกวนในรังสีในแสงแดด
โรคนี้มักจะเป็นๆ หายๆ และไม่หายขาด  แต่การดูแลสุขภาพร่างกายและดูแลผิวอย่างถูกต้อง  ก็ช่วยทำให้อาหารต่างๆของโรคเป็นน้อยลง  และหายเร็วขึ้น


วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Polysomnography ตรวจการนอนหลับ...เพื่อหลับนี้มีคุณภาพ

Polysomnography

              ตรวจการนอนหลับ...เพื่อหลับนี้มีคุณภาพนอนหลับทั้งทีต้องนอนให้มีคุณภาพ  ถึงจะดีต่อสุขภาพร่างกาย  ฟังดูแล้วการนอนหลับไม่น่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนอะไร  แต่ทราบหรือไม่ว่าแม้แต่การนอนกรนที่หลายคนไม่เคยคิดเลยว่าเป็นเรื่องผิดปกติ  กลับกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพ  เพราะขณะนอนกรนอาจมีภาวะยุดหายใจชั่วขณะร่วมด้วย  ส่งผลถึงออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและหัวใจโดยตรง  อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้โดยไม่ทันตั้งตัว
             Polysomnography   ตรวจการนอนหลับ      เป็นการตรวจนอนหลับด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย  ในช่วงเวลากลางคืนประมาณ 6 8 ชั่วโมง  เพื่อดูลักษณะการนอนว่าหลับสนิทหรือไม่ การตรวจนี้ประกอบด้วย
-  ตรวจวัดคลื่นสมอง        วัดระดับความลึกของการนอนหลับ  และประสิทธิภาพขณะนอนหลับ
-  ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ      มีการเต้นผิดจังหวะที่มีอันตรายหรือไม่มากน้อยเพียงใด
-  ตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือด      ที่ส่งไปเลี้ยงสมองและหัวใจในขณะหลับ
-  ตรวจวัดลมหายใจ      ที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก
-  ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ      ได้แก่  กล้ามเนื้อทรวงอก  และกล้ามเนื้อหน้าท้อง-  ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ      เพื่อดูความตึงของกล้ามเนื้อและกระตุกขณะนอนหลับ
-  ตรวจเสียงกรน      ดังหรือเบาแค่ไหน  กรนตลอดเวลาหรือไม่  กรนขณะนอนท่าไหน
-  ตรวจท่านนอน      แต่ละท่านนอนหายใจผิดปกติแตกต่างกันอย่างไร  และนอนท่าใดทำให้กรนทั้งหมดนี้ใช้เวลาในการตรวจวัดช่วงกลางคืน  อย่างน้อยประมาณ 6 8 ชั่วโมง  ซึ่งเป็นเวลาปกติของการหลับของคนทั่วไป  และเป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อบันทึกรายละเอียดต่างๆขณะนอนหลับ  วิธีการคล้ายกับการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่จะมีการติดอุปกรณ์มากกว่า  โดยแบ่งการตรวจเป็น 2 แบบคือ
            -  การตรวจชนิดจำกัด  ( Limited channel PSG )      อุปกรณ์จะมีไม่มาก  สามารถไปตรวจที่บ้ายผู้ป่วยได้  แต่ผลการตรวจอาจไม่ละเอียด  เพราะจะตรวจเกี่ยวกับการหายใจเป็นหลัก  ไม่มารตรวจการทำงานของสมองได้
            -  การตรวจการนอนหลับชนิดมาตรฐาน  (Standard   PSG)      ต้องทำในห้องปฏิบัติการนอนหลับ (Sleep  laboratory  การตรวจค่อนข้างซับซ้อน  ติดอุปกรณ์ตามร่างกายหลายอย่าง  เป็นการตรวจคุณภาพการนอนของคืนนั้นๆ  และบันทึกด้วยเครื่อง PSG   อาจจะให้ผู้ป่วยมารับการตรวจในห้องปฏิบัติการเป็นเวลา 2 คืน  เนื่องจากคืนแรกผู้ป่วยยังไม่คุ้นเคยกับสถานที่  ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานผู้ป่วยลดลง  คืนที่ 2 ผู้ป่วยเริ่มคุ้นเคยการนอนหลับจะใกล้เคียงการนอนหลับที่บ้านมากขึ้น  ถ้าพบภาวะหยุดหายใจบ่อยอาจลองใส่เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) แล้วทำการปรับความดันที่เหมาะสมที่ใช้รักษาการหยุดหายใจ 
            การตรวจการนอนหลับทั้งสองแบบนี้เป็นวิธีตรวจที่ดีที่สุด  (Gold  standard) ในการนิจฉัยโรคของการนอน  ปกติการตรวจจะใช้เวลาอย่างน้อย 6 8 ชั่วโมง  ถ้านอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง  จะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร  ต้องมีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการอ่านคลื่นสมอง  ตรวจเช็คผลซ้ำอีกครั้งจึงจะเชื่อถือได้แพทย์วินิจฉัยโรคจากอะไรบ้าง
-   ประสิทธิภาพการนอน
-   ลักษณะของการนอน  เปอร์เซ็นต์ของการหลับลึก  การหลับฝัน  ถ้ามีน้อยมักพบร่วมกับอาการสะดุ้งตื่น  ส่งผลให้รู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน
-   ลักษณะของการหยุดหายใจ  จากสาเหตุทางสมองหรือสาเหตุจากทางเดินหายจุดตัน ( Respiratory  Disturbance  Index หรือ  RDI ) ซึ่งถ้ามากกว่า 5 ครั้ง/ชั่วโมง  ถือว่าผิดปกติ  โดยแบ่งระดับความรุนแรงขนาดนี้1.  RDI  5 15 ครั้ง/ชั่วโมง  ความรุนแรงขั้นน้อย2.  RDI  15 30 ครั้ง/ชั่วโมง  ความรุนแรงขั้นปานกลาง3.  RDI  มากกว่า 30 ครั้ง/ชั่วโมง  ความรุนแรงขั้นมากต้องรับการรักษา      แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว  เช่น  ความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจขาดเลือด  หรือโรคหลอดเลือดสมอง แม้เพียงมากว่า 5 ครั้ง/ต่อโมง ก็ถือว่ารุนแรงมาก ต้องรับการรักษาทันที 
-           ระดับออกซิเจนในเลือดขณะหยุดหายใจถ้าน้อยกว่า 95 ถือว่าผิดปกติ  ถ้าน้อยกว่า 60  ถือว่ารุนแรงขั้นมาก  ต้องรับการรักษา  เพราะมีอันตรายมากโดยเฉพาะหัวใจ-           การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ  ในช่วงที่หยุดหายใจต่อการเต้นของหัวใจ
-           การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ  ในช่วงที่หยุดหายใจและเกิดภาวะออกซิเจน  ถือว่ารุนแรงขั้นมาก  ต้องรับการรักษาทันที
-           การหยุดหายใจในท่านอนต่างๆ และการหยุดหายใจในระยะหลับฝันการป้องกันและการดูแลรักษาการนอนหลับที่ผิดปกติ
-  งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  งดยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หลีกเลี่ยงน้ำชา  กาแฟ
-  ควบคุมน้ำหนักโดยการจำกัดปริมาณและชนิดอาหาร-  ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง  กล้ามเนื้อตื่นตัว
-  นอนท่าตะแคงหลีกเลี่ยงท่านอนหงาย  และนอนศีรษะสูงเล็กน้อย
-  รีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับ      กรณีที่ผู้ป่วยอาการรุนแรงมาก  ควรใส่เครื่อง  Nasal CPAP ( Nasal Continuous Positive  Airway Pressure ) เพื่อปล่อยแรงดันบวก  ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น  เพื่อให้หายใจได้สะดวกและหลับสบายขึ้น  ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้  ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด        สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติชัดเจน  เช่น  ต่อมทอลซิลโตมาก  เพดานอ่อนยาวมากผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาในการใช้เครื่อง  Nasal CPAP แพทย์อาจทำการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติดังกล่าวได้