วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สเตรทเช็ต (Straight Set)

สเตรทเช็ต (Straight Set) คืออะไร รูปแบบการฝึกทั่วๆไป โดยกำหนดครั้งต่อเชต แล้วเล่นเสร็จ 1 เชตก็พัก ประมาณ 1-2 นาที จากนั้นจึงฝึกเชตต่อๆไปด้วยท่าเดิม ดีอย่างไร


ด้วยเวลาพักระหว่างเชต บวกกับการฝึกที่เน้นกล้ามเนื้อหลักกลุ่มเดียวกันจึงช่วยเพิ่มมัดกล้ามและ ความแข็งแกร่งได้โดยเฉพาะถ้าคุณพักนานพอระหว่างพักเชต กล้ามเนื้อกลุ่มของมัดกล้ามจะยิ่งทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตั้งแต่ 2-5 เท่าภายในหนึ่งเวริกเอาต์เลยทีเดียว
ฝึกอย่างไร ช่วงเริ่มต้นของการเวิร์ตเอาต์แต่ละครั้ง เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฝึกแบบสเตรทเชต ไม่ว่า

ประการณ์ในการเล่นของคุณจะอยู่ขั้นไหนก็ตาม เพราะในช่วงเริ่มต้นสมาธิและพลังงานของคุณจะยังเต็มเปี่ยมจำเหมาะอย่างยิ่ง ที่จะฝึกท่ายากก่อน เช่น Squat Deadlift Bench Press ให้ฝึกแบบสเตรทเชต 3 เชตๆ 10 ครั้ง โดยเพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละนิดในแต่ละเชต

ซูเปอร์เชต (Superset)
คืออะไร เป็นการฝึกที่ประกอบด้วยท่าฝึกสองท่า เน้นกล้ามเนื้อมัดที่ตรงข้ามกัน เช่น ไบเซ็ปส์กับไทรเซ็ปส์ หรือไม่เกี่ยวเนื่องกันเลย เช่น อก และ ไบเซ็ปส์ เป็นต้น โดยฝึกทั้งสองท่าต่อเนื่องกันโดยไม่หยุดพักระหว่างเชต
ดีอย่างไร การเล่นแบบซูเปอร์เชตช่วยประหยัดเวลาในการเล่นและทำให้อัตราการเผาผลาญไขมัน ของคุณเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถฝึกกล้ามเนื้อได้หลายส่วน เช่น ฝึก กล้ามเนื้ออก คู่กับ กล้ามเนื้อหน้าแขนในชูเปอร์เชตหนึ่ง หรือ ฝึก กล้ามเนื้อหลัง คู่กับ กล้ามเนื้อหลังแขนในซูเปอร์เชตหนึ่ง เป็นต้น การยกน้ำหนักมากๆในระยะเวลาอันสั้น ไม่เพียงช่วงเร่งอัตราการย่อยสลายและสร้างโปรตีนของร่างกาย แต่ยังรวมไปถึงการเผาผลาญพลังงานและไขมันให้ทำงานอย่างต่อเนื่องไปอีกหลาย ชั่วโมงแม้คุณจะเล่นเวตเสร็จแล้วก็ตาม
ฝึกอย่างไร คุณสามารถแทรกการเล่นแบบซูเปอร์เซตเจ้าไปตอนไหนก็ได้ของการเวิร์ตเอาต์ และเพื่อให้กล้ามเนื้อหลายส่วนได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำให้เลือกท่าที่ต้องใช้แรงจากมัดกล้ามและข้อต่อหลายจุดพร้อมกัน ในกลุ่ม Press และ Row เช่น กล้ามเนื้อหน้าอก และ กล้ามเนื้อหลัง หรือ กล้ามเนื้อหัวไหล่ และ กล้ามเนื้อหลัง นอกจากนี้ถ้าคุณอยากจะประหยัดเวลามากขึ้นไปอีกให้เลือกท่าฝึกกล้ามเนื้อที่ ไม่เกี่ยวข้องกันเลยเช่น ท่าที่ต้องใช้แรงจากมือ คู่กับ ท่าที่ต้องใช้แรงด้วยขา หรือฝึกท่า Bench Press และ Squat เป็นต้น การจับคู่ท่าเล่นลักษณะนี้ทำให้กล้ามเนื้อกลุ่มแรกได้พักอัตโนมัติ ระหว่างคุณฝึกท่าที่สอง

ไทรเชต (Triset)
คืออะไร รูปแบบการฝึกที่ประกอบด้วยท่าฝึก 3 ท่า ฝึกต่อเนื่องกันไปโดยไม่พักระหว่างเชต
ดีอย่างไร ไทรเชตช่วยประหยัดเวลาและเร่งกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย การเล่นไทรเชตเพียงชุดเดียวสามปรับให้เป็นการฝึกกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่าง กายโดยขึ้นอยู่กับท่าที่คุณเลือกเล่น
ฝึกอย่างไร ไทรเชตเป็นเทคนิคที่ดีสำหรับการฝึกด้วยตัวเองที่บ้าน (หรือในฟิตเนตที่มีคนไม่มากนัก) เพราะคุณจำเป็นต้องใช้หลายอุปกรณ์ในการฝึกเพื่อให้ทั้งสามท่าต่อเนื่องกัน เลือกท่าฝึกพื้นฐานที่เน้นกล้ามเนื้อหลายส่วนในเวลาเดียวกัน เช่น Squat Chin-up Bench Press โดยเริ่มจากไทรเชตวอร์มอัพที่ใช้น้ำหนัก 50% ของน้ำหนักปกติที่คุณเล่นในแต่ละท่า หลังจากนั้นให้เล่นอีก 2-3 ไทรเชตโดยเพิ่มน้ำหนักกที่คุณยกได้ 8 ครั้งต่อเชตฝึกต่อเนื่องกันไปทั้งสามท่าโดยไม่หยุดพักระหว่างเชตย่อยเมื่อ เล่นคบทั้งสามท่าแล้วจึงค่อยพักประมาณ 1-2 นาที แล้วจำเริ่มไทรเชตใหม่

ดรอปเชต (Drop Set)
คืออะไร เทคนิคการฝึกท่าๆหนึ่ง โดยลดน้ำหนักลงเรื่อยๆในแต่ละเชต ฝึกให้ได้ 3-4เซตโดยไม่ต้องพักระหว่างเชต
ดีอย่างไร ดรอปเชตเป็นเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการเวิร์กเอาต์อย่างเร่งด่วน เพราะทำให้กล้ามเนื้อของคุณเกิดการล้าในระยะเวลาอันสั้น ในที่นี้หมายถึงการล้าจากการฝึก ทำให้กล้ามเนื้อเร่งฟื้นฟูซ่อมแซมตัวให้บึ้นบั้นขึ้น  และช่วยเร่งอัตราการเต้นของหัวใจได้ดีนอกจากนี้ดรอปเชตยังให้ความรู้สึกถึง มัดกล้ามที่ตึงหลังจากการเวิร์ตเอาต์ เพราะกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆมีเลือกสูบฉีดเต็มที่
ฝึกอย่างไร ดรอปเชตอาจะไม่เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเล่น เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังจะเข้าแข่งขัน หรือผู้ที่มีมัดกล้ามแข็งแรงระดับนึงแล้ว เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้มีเวลาไม่มากนัก แต่แนะนำให้ไม่ควรเล่นดรอปเชตมากกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์ เพราะอาจจะทำให้กล้ามเนื้อคุณล้าเกินไปจนเล่นอย่างอื่นไม่ไหว วิธีเล่น เช่นคุณเล่น Bench 3 เชต ให้ดรอปในเชตที่สามโดยการลดน้ำหนักลงเรื่อยๆ ผมของยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เชตที่1คุณเล่น 90 kg เซตที่2 95 kg เชตที่3 100 kg พอคุณเล่นเซตที่สามเสร็จอย่าเพิ่งหยุดพักให้ลดน้ำหนักลง40% นั้นคือ 60 kg และเมื่อเล่นเสร็จให้คุณลดน้ำหนักลงอีก10-20% นั้นก้อคือ 48-54 kg เล่นต่อเนื่องกันไปแล้วจึงค่อยพักระหว่างเซต ลักษณะนี้เรียกว่าดรอปเซต

เซอร์กิตเซต(Circuit set )
คืออะไร การรวมท่าฝึก หรือการฝึกแบบ (Total-Body Workout) โดยสามารถแทรกการคาดิโอเข้าไปได้เช่น การกระโดดเชือก การกระโดดข้าม Bench
ดีอย่างไร ถ้าคุณเล่นแบบใส่น้ำหนัก เชอร์กิตจะเป็นการฝึกที่เข้มข้มมากๆ แต่ประโยชน์สูงสุดของเทคนิคนี้อยู่ที่การปรับใช้โดยไม่ต้องเพิ่มน้ำหนัก เพื่อเป็นการวรอม์อัพระบบประสาท ข้อต่อและ กล้ามเนื้อ เนื้อจากการเล่นแบบเซอร์กิตนี้สามารถบริหารได้ทั้งร่างกายจึงเหมาะอย่างยิ่ง ที่จะใช้วอร์มอัพก่อนการ Workout และกว่าการวอร์มอัพบนลู่วิ่งซึ่งได้ใช้แต่กล้ามเนื้อขาเท่านั้น
ฝึกอย่างไร คุณจะกลายเป็นตัวป่วนประจำยิมโดยไม่รู้ตัว ถ้าใช้การฝึกแบบเต็มรูปแบบ เพราะการฝึกแบบเซอร์กิตต้องใช้อุปกรณ์หลายชิ้นต่อเนื่องกัน เทคนิคนี้อาจะประยุกต์ใช้เป็นการวอร์มอัพก่อนการ Work outที่ดี คือคุณเล่นอะไรก็ได้ให้ต่อเนื่องกัน 6-8 ท่าฝึกแล้วค่อยพักระหว่างเชต

ขอบคุณข้อมูลจาก  thaihunk.net

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรคเบาหวาน รักษาด้วย มะระขี้นก

โรคเบาหวาน รักษาด้วย มะระขี้นก

มะระขี้นก รักษา เบาหวาน
ถ้าจะกล่าวถึงโรคที่คนในยุคปัจจุบันเป็นกันมากก็คง ไม่พ้นโรคหัวใจ  เบาหวาน ไขมันหรือคลอเลสเตอรอลสูง  ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะการดำเนินชีวิต  การรับประทานอาหาร ตลอดจนขาดการออกกำลังกาย อันเป็นสาเหตุของความเสื่อมถอยของเซลล์ในร่างกายนั่นเอง 
                เบาหวานเป็นภาวะความผิดปกติของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงกว่าปกติ ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน(ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด  และฮอร์โมนชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน)  หรือเซลล์ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงหรืออาจมาจากทั้งสองปัจจัยร่วม กัน  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเบาหวานเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบเมตา บอลิซึมที่ต้องการรักษาจำเป็นต้องอาศัยการปรับวิถีการดำเนินชีวิต
อาการของผู้เป็นเบาหวานได้แก่ มีน้ำตาลในปัสสาวะ  ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น  หิวน้ำบ่อย  ปัสสาวะบ่อย  หิวบ่อย  น้ำหนักลด ไม่มีแรง  สูญเสียอิเล็คโทรไลต์  ผิวแห้ง คัน มีผื่นแดง มือเท้าชา  ผนังเส้นเลือดแดงหนาตัว  ตาพร่ามัว  นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคไต  ภาวะคีโตซิส(คีโตนคั่ง)  ภาวะร่างกายเป็นกรด  ตลอดจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
สาเหตุของเบาหวาน ได้แก่
  • อาหาร : การรับประทานอาหารประเภทแป้งขัดสี น้ำตาลและอาหารไม่มีกากใย  การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป
  • ตับอ่อนเสื่อม เนื่องจาก การรับประทานอาหารที่ไม่มีกากใย กาแฟ การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียด
  • การติดเชื้อไวรัส
  • โรคอ้วน
  • กรรมพันธุ์
เมื่อเรารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งเข้าไป ร่างกายจะเปลี่ยนอาหารเหล่านี้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือที่เรียกว่า กลูโคส ซึ่งเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตหลักที่อยู่ในกระแสเลือด  สำหรับคาร์โบไฮเดรตบางประเภทเช่น น้ำตาลที่อยู่ในผลไม้ ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำตาลฟรุคโตสซึ่งเซลล์สามารถใช้เป็นพลังงานได้โดยไม่ต้อง เปลี่ยนเป็นกลูโคส และขบวนการนำ ฟรุคโตสไปใช้ก็มิได้เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลินหรือขบวนการเมตาบอลิซึมของ กลูโคสแต่อย่างใด  นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตประเภทเซลลูโลสหรือกากใยในพืชผัก(ซึ่งเป็นกลูโคส ประเภทที่มีโมเลกุลของกลูโคสที่เรียงตัวกันซับซ้อน)นั้นร่างกายมนุษย์นั้น ไม่สามารถย่อยได้ดังนั้นจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลินเช่นกัน
ฮอร์โมนอินซูลินผลิตจากเบตาเซลล์ในตับอ่อน ซึ่งตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เพิ่มขึ้น เช่น หลังกินอาหาร   อินซูลินจะกระตุ้นให้เซลล์ของร่างกายดูดซึมกลูโคสจากกระแสเลือดเพื่อนำไปใช้ เป็นพลังงงานหรือเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนเพื่อเก็บไว้เป็นพลลังงานสำรองในตับและ กล้ามเนื้อ  ดังนั้นถ้าระดับอินซูลินลดลงก็จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
เบาหวานนั้นจำแนกได้เป็นเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
Ø    เบาหวานชนิดที่1 เกิดขึ้นเนื่องจากมีปริมาณอินซูลินที่ผลิตจากเบตาเซลล์ของตับอ่อนลดลง ซึ่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก แต่ทั้งนี้ก็สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย  ซึ่งสาเหตุนั้นมาจากเบตาเซลล์ถูกทำลายซึ่งมักเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันเกิด ความผิดปกติทำลายเซลล์ของตัวเอง
Ø    เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดขึ้นได้จากปัจจัย 2 อย่างด้วยกันได้แก่ปริมาณอินซูลินลดลงและเซลล์ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินช้าลง  ซึ่ง เบาหวานชนิดนี้มักพบในผู้ใหญ่ และกว่า 90%ของผู้ป่วยเบาหวานป่วยเป็นเบาหวานชนิดนี้  ซึ่งการรักษาเบาหวานชนิดนี้ต้องปรับพฤติกรรม ต้องออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร พยายามลดน้ำหนักเพื่อทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินเร็วขึ้น
Ø    เบาหวานชนิดที่3 เป็นความผิดปกติทั้งในเรื่องของ ปริมาณอินซูลินที่ลดลงและการตอบสนองของเซลล์ต่อฮอร์โมนอินซูลินลดลง ซึ่งคล้ายกับเบาหวานชนิดที่2 แต่เบาหวานชนิดนี้จะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และ ภาวะเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นหรือหายไปหลังจากคลอด  ถึงแม้ว่าภาวะเหล่านี้จะเป็นเพียงชั่วคราว แต่ก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์และแม่ได้  และพบว่าประมาณ 40% ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้มีแนวโน้มที่เปลี่ยนเป็นเบาหวานชนิดที่2 ได้

ทั้งนี้ความน่ากลัวของเบาหวานไม่ใช่อยู่ที่ระดับน้ำตาลเพียงเท่านั้น แต่สิ่งที่ตามมาคือภาวะแทรกซ้อน อันได้แก่

1.    ภาวะตาพร่ามัว ประสาทตาหรือจอตาเสื่อมทำให้การมองเห็นแย่ลง
2.    ปลายประสาทอักเสบ  มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือ ปลายเท้า
3.    ไตเสื่อม อาจถึงขั้นไตวาย
4.    ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว ทำให้ความดันเลือดสูง และถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณมือและเท้าตีบ จะทำให้เท้าเย็น เกิดเป็นตะคริวได้ง่าย และเมื่อเกิดแผลบริเวณดังกล่าวจะกลายเป็นแผลที่หายยาก
5.    เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ
6.    เกิดภาวะคีโตซิสซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณคีโตนมากเกิน ทั้งนี้มักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำเอาน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นรางกายจึงเผาผลาญไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน ซึ่งการเผาผลาญไขมันจะเกิดคีโตนซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งจะทำให้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น กระวนกระวาย กระหายน้ำอย่างมาก และผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ
การรักษาเบาหวานด้วยแพทย์แผนปัจจุบันนั้นสำหรับเบาหวานชนิดที่1 จะใช้การฉีดอินซูลิน  ส่วนเบาหวานชนิดที่2 จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล  ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ายาส่วนใหญ่จะถูกขับทิ้งที่ตับและไต ดังนั้นการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการสร้างภาระให้กับ อวัยวะทั้งสองเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นด้วย จากที่เคยกินยาลดน้ำตาลวันละ 1 เม็ด ก็เพิ่มจำนวนเป็น 2 เม็ด
สำหรับวิธีธรรมชาติบำบัดแล้ว พืชชนิดหนึ่งซึ่งมีการใช้มานานในทางอายุรเวชของประเทศแถบอินเดียคือ มะระขี้นก (มะระ ขนาดเล็กสีเขียวเข้ม มีผิวขรุขระ มีรสขม) ซึ่งคนไทยเราก็รู้จักกันดีเพราะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นผักจิ้ม น้ำพริก  และพืชชนิดนี้สามารถใช้ลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี  ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของใบ ผล หรือเมล็ด
มะระขี้นกสามารถใช้ลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมะระขี้นกจะกระตุ้นการเปลี่ยนกลูโคสในกระแสเลือดให้เป็นไกลโคเจนที่ตับและยังกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากเบตาเซลล์ของตับอ่อน  อีกทั้งยังกระตุ้นการสร้างเบตาเซลล์อีกด้วย  ซึ่งการใช้มะระขี้นกก็สามารถใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการคั้นน้ำ  รับประทานสด หรือการดื่มในรูปของชามะระขี้นก  แต่จากงานวิจัยของB.A. Leatherdale ของ มหาวิทยาลัยแอสตัน พบว่าการคั้นน้ำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด  ส่วนวิธีที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดคือการกินมะระขี้นกที่นำไปแตกแห้ง
นอกจากนี้ยังพบว่าในเมล็ดของมะระขี้นกมีสารชนิดหนึ่งซึ่งมีโมเลกุลคล้าย อินซูลิน และสารชนิดนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้างกรดไขมันในร่าง กาย ตลอดจนออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องการสลายไขมันอีกด้วย
การใช้มะระขี้นกเพื่อลดน้ำตาลในกระแสเลือดนั้นสามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ชนิด  แต่ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้พวกแตงเมลอน แคนตาลูป    สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ป่วยโรคตับแล้วการใช้มะระขี้นกจำเป็นต้องอยู่ภาย ใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์
มะระขี้นกสามารถออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลได้ภายใน 30-60 นาทีหลังกิน(ซึ่งใกล้เคียงกับการออกฤทธิ์ของZinc crystalline insulin) และจะออกฤทธิ์สูงสุดหลังจากกินไปแล้ว4-12 ชั่วโมง (ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์สูงสุดภายใน 2-3ชั่วโมง)   นอกจากมะระขี้นกแล้วยังมีสมุนไพรชนิดอื่นที่สามารถลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้  อาทิเช่น อบเชย  ว่านหางจระเข้  แต่มะระขี้นกจะออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลได้เร็วกว่าและนานกว่า
นอกจากนี้มะระขี้นกยังช่วยป้องการตีบและหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง    ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไลด์ในตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ (มะระขี้นกสามารถแก้ไขภาวะคลอเลสเตอรอล  ฟอสโฟไลปิดและไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลข้างเคียงจากการรับ ประทานยาลดน้ำตาลติดต่อกันเป็นระยะเวลานานให้เข้าสู่ระดับปกติได้ เมื่อรับประทานมะระขี้นกติดต่อกัน 10 สัปดาห์)
พบว่าการดื่มน้ำคั้นมะระขี้นก (ใช้มะระขี้นก 1-2 ผลคั้นร่วมกับผักผลไม้ชนิดอื่น เพื่อลดความขม  แต่ทั้งควรเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลไม่มากนัก เช่น แอปเปิ้ลเขียวจะดีกว่าแอปเปิ้ลแดง  วันละ 1 แก้วในตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร  และถ้าเป็นไปได้อีก 1 แก้วในช่วงเย็น) ร่วมกับการดื่มชามะระขี้นกหลังมื้ออาหารทุกมื้อ (หรืออาจใช้เป็นน้ำต้มใบชะพลูแทนชามะระขี้นก) สามารถลดระดับน้ำตาลได้ดี  แต่ทั้งนี้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมด้วย
หมายเหตุ มะระขี้นกจะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ดังนั้นการใช้มะระขี้นกอาจทำให้ถ่ายท้องได้  ซึ่งถ้ามีอาการถ่ายท้องมากเกินไป ให้ปรับลดปริมาณของมะระขี้นกที่ใช้ให้น้อยลงได้
ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแป้งขัดสี น้ำตาล แต่ควรรับประทานข้าวกล้อง หรืออาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีกากปริมาณมากเนื่องจากจะใช้เวลาในการย่อย นานกว่าแป้งที่ผ่านการขัดสี ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดค่อยๆเพิ่มอย่างช้าๆ  สำหรับอาหารประเภทโปรตีนนั้นควรลดปริมาณโปรตีนที่มาจากสัตว์ แต่ควรรับประทานโปรตีนที่มาจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เนื่องจากในถั่วนั้นมีสารเลซิตินและโคลีนปริมาณมากซึ่งช่วยป้องกันภาวะแทรก ซ้อนที่เกี่ยวกับเส้นประสาทอันเนื่องจากเบาหวานได้   สำหรับผลไม้แล้วควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวานนัก และควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานมากตลอดจนผลไม้แห้ง   และอาหารส่วนใหญ่กว่า 75%ของอาหารในแต่ละมื้อ ควรจะเป็นอาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก    ทั้งนี้ปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อไม่ควรมากนัก แต่สามารถรับประทานได้บ่อยขึ้นถึงวันละ 6 มื้อ
นอกจากอาหารที่ดีแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง   ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที เช่น การเดินเร็วซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ค่อนข้างปลอดภัย   สุดท้ายภาวะจิตใจที่ดีและการพักผ่อนที่เพียงพอนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน


ข้อมูลจาก  http://blog.siamherbal.com