วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคกระดูกพรุน

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคกระดูกพรุน (Osteo- porosis) กําลังเป็นโรคที่วงการแพทย์และบุคคล ทั่วไปให้ความสนใจมาก เพราะเป็น โรคที่พบในผู้สูงอายุ สตรี วัยหมดระดู รวมทั้ง สตรีที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ยังพบร่วมในโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบต่อมไร้ท่อบางชนิด โรคเบาหวาน โรครูมา- ตอยด์ หรืออาจเกิดจากการทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์


โรคกระดูกพรุน เป็น โรคที่ ซ่อนเร้น และเกิดขึ้น อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป จากการที่ม่ี มวลของกระดูกต่ำปริมาณเนื้อกระดูกลดลง เป็นผลให้กระดูก เปราะบางและมีโอกาสหักง่ายแม้ได้ร้บอุบัติหตุเพียงเล็กน้อย

โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ จากการศึกษาพบว่า โรคกระดูกพรุน เป็นสาเหตสำคัญในการทําให้เกิดกระดูกหัก บริเวณกระดูกหลัง แขน และสะโพก ความหนาแน่นกระดูก (B.M.D.=Bone Mineral Density) จะเป็นตัวสําคัญในการบ่งชี้ถึง ความแข็งแรงของกระดูก และความเสี่ยงของกระดูกหัก

เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูก จึงเป็น เครื่องมือสําคัญที่ใช้ในการประเมินผลว่าผู้มารับบริการ มีความเสี่ยงต่อ โรคกระดูกพรุน มากน้อยเพียงไร และยังช่วยในการ ตัดสินด้านการป้องกันรักษา และติดตามผลการรักษาได้ด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคกระดูกพรุน

1. อายุ อายุมากมีอัตราเสี่ยงสูง
2. เพศหญิงมีอัตราความเสี่ยงในการเกิิดมากกว่าผู้ชาย
3. รูปร่าง คนร่างเล็ก จะกระดกู บางกว่า คนร่างใหญ่
4. ประวัติ ครอบครัว มีคนที่เป็นโรคนี้
5. สตรีที่หมดระดู โดยเฉพาะผู้ที่ระดูหมดเร็ว หรือ ได้รับการตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
6. ขาดการออกกําลังกาย พบว่านักกีฬามีความหนาแนน่ ของกระดูกสูงกว่าปกติ
7. รับประทานวิตามินดี หรือ แคลเซียมน้อย
8. สูบบุหรี่
9. ดื่มเหล้าจัด


การเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของกระดูก

กระดูกทุกส่วนมีการสูญเสียและการสร้าง เสริมอยู่ตลอดเวลา ขบวนการนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทําให้ความหนาแน่นของกระดูกมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดชีวิตในระหวา่ งที่มีการเจริญเติบโตของร่างกาย จะมีการสร้างเสรมิ กระดูก มากกว่า ทําให้ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่ม โดยสูงสุด ประมาณ 30-40 ปีในหญิง และประมาณ 20 ปีในชาย หลังจากนั้นเริ่มมีการสูญเสียกระดูก มากกวา่ จนอายุ 85-90 ปี บริเวณที่มีผลมากได้แก่บริเวณกระดูกหลังและกระดูกส้นเท้า ซึ่งเป็นส่วน ที่มี trabecularbone มาก ปกติในกระบวนการ ของการเสื่อมของกระดูก จะพบการเปลี่ยนแปลงในส่วนกระดกู trabecular ของเนื้อเยื่อ กระดูก มากกว่า ในส่วน ของกระดูก cortical เนื่องจากเมตาบอลิซึม ของกระดกู trabecular เกิดเร็วกว่านั่นเอง

ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการตรวจวัดความหนาแน่นของ กระดูก

1. วินิจฉัย low bone mass ในสตรีที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น การได้รับการผ่าตัดทั้ง 2 ข้าง
มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน เช่น ระดหู มดเรว็ , มปี ระวตั ใิ นครอบครวั , เบาหวาน

2. กระดูกหักง่าย

3. วินิจฉัยหรือสงสัย Spinal Osteoporosis ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกระดูกสันหลัง

4. ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางอย่างเป็นประจำ เช่น

-Thyroid Hormone
-Corticosteroid

-Anticonvulsants

-Chemotherapy

5. ประเมิน ผลการรักษาในผู้ป่วยกระดูกพรุน


สรุป ภาวะของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ และสตรีวัยหมดระดู หากได้รับการตรวจวินิจฉัย จะสามารถลดโอกาสเสี่ยงและป้องกันการเกิดกระดูกหักได้ ในผู้สูงอายุเองอาจชลอหรือยับยั้งการ สูญเสียกระดูกได้ ด้วยการรับประทานแคลเซียม และออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ ตลอดจนการรักาาด้วยยาเมื่อเกิดโรคกระดูกพรุนแล้ว
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกควรพิจารณาตรวจในรายที่มีปัจจัยเสี่ยต่อโรคกระดูกพรุน เพราะเป็นเป้าหมายของการตรวจคือการวินิจฉัย แต่เนิ่น นอกจากนี้ การตรวจจะยังให้ประโยชน์ในการประเมินผลการรักษา โดยเปรียบเทียบความหนาแน่นของกระดกกระดูกก่อน และระหว่างการรักษา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของกระดูกจะเป็นไปอน่างช้าๆ ดังนั้น การตรวจซ้ําเพื่อประเมินผลการรักษา ควรจะ กระทํา 1ปีภายหลัง ให้การรักษา หรืออย่างน้อย 6 เดือน หลังให้การรักษา




ที่มาข้อมูล : นิตยสารวิชัยยุทธจุลสาร

แพทย์หญิงจันทร์เต็ม เก่งสกุล

- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- Thai Board of Radiology
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น