วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลไกการทรงตัว

การทรงตัวนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบไปด้วยการรักษาสมดุล (Balance) และการควบคุมท่าทาง (Postural control) การฝึกการทรงตัวทำได้โดยการฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพยุงตัวให้มีความแข็งแรง ทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ




การฝึกยืนทรงตัวบนไม้กระดานที่พลิกไปมาได้จะช่วยให้ร่างกายมีการปรับตัวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ป้องกันและตอบสนองได้ดีเมื่อเกิดการสูญเสียการทรงตัว ซึ่งการฝึกดังกล่าวทำให้ร่างกายเกิดกลไกของการ Feedback และ Feed forward ตอบสนองต่อการล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า การฝึกบนกระดานฝึกการทรงตัวจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของระบบประสาทภายในข้อต่อ อันเป็นผลให้การทรงตัวของร่างกายดีขึ้น ทำให้เกิดการพลิกของข้อเท้าซ้ำลดลง และทำให้ความแข็งแรงและความมั่นคงของข้อเท้าเพิ่มมากขึ้นในการประเมินระดับความสามารถของการทรงตัวนั้น สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือช่วยในการวัด หรือใช้แบบสอบถามในการวัดการทรงตัว ซึ่งตัวแปรที่ใช้วัดระดับ การทรงตัวมีหลากหลายตัวแปร ทั้งเวลาที่สามารถทรงตัวได้ ความเร็วในการแกว่งตัวขณะวัด ฯลฯ



สำหรับวิธีฝึกทรงตัวบนกระดานฝึกการทรงตัวนั้นสามารถทำได้โดยการฝึกทรงตัว 30 วินาทีต่อเนื่องกัน ใช้เวลารวมในการฝึกประมาณ 15 นาที ฝึก 30 วินาที พัก 1 นาทีโดยไม่ใช้แขนหรือลำตัวส่วนบนช่วยในการทรงตัว ค่อยๆเพิ่มระดับความยาก โดยการใช้ขาข้างเดียว และหลับตาในขณะฝึก (งานกายภาพบำบัดฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย , 2543) การฝึกการทรงตัว มิได้เหมาะสำหรับในผู้ที่เกิดการบาดเจ็บเท่านั้น แต่ในบุคคลทั่วไปการฝึกการทรงตัวจะช่วยให้โอกาสเกิดการบาดเจ็บลดน้อยลง ทั้งในขณะที่ดำรงชีวิตประจำวัน และในขณะออกกำลังกายได้อย่างดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น